วันที่ 25 มิ.ย.65 กรุงเทพโพลล์ โดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สํารวจความเห็นประชาชนเรื่อง “ความเดือดร้อนของ ประชาชน ต่อการใช้บริการรถเมล์ไทย” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนในกรุงเทพและปริมณฑลที่ใช้บริการ รถเมล์จํานวน 1,151 คน เมื่อวันที่ 17-21 มิถุนายน ที่ผ่านมาพบว่า

ปัญหาที่ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 89.2 พบจากการใช้บริการรถเมล์ในปัจจุบันคือ รถขาดระยะ ต้องรอรถนาน รองลงมาร้อยละ 44.4 คือ รถแน่น/ขึ้นไม่ทัน โดยเฉพาะชั่วโมงเร่งด่วน และร้อยละ 35.5 คือ รถ เก่า/ชํารุด/รถสกปรก

ทั้งนี้ผลกระทบที่ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 75.4 ได้รับจากปัญหา รถเมล์ขาดระยะ ลดเที่ยววิ่ง และยกเลิกสายรถเมล์บางเส้นทาง คือ ไปเรียน/ทํางานสาย/ถึงที่หมายช้ากว่ากําหนด รองลงมาร้อยละ 61.4 คือ ต้องใช้บริการขนส่งทางอื่น ทําให้เพิ่มภาระค่าใช้จ่าย และร้อยละ 37.3 คือ ต้องต่อรถเมล์หลายสาย จาก เดิมที่นั่งสายเดียวถึง

เมื่อถามว่า “มั่นใจหรือไม่ว่า ขสมก. จะสามารถแก้ปัญหาการให้บริการรถเมล์ที่เกิดขึ้นภายใน 15 วัน ได้” ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 77.3ระบุว่าไม่ค่อยมั่นใจถึงไม่มั่นใจเลย ขณะที่ร้อยละ 22.7 ระบุว่า ค่อนข้างมั่นใจถึงมั่นใจ

ส่วนสิ่งที่อยากฝากถามผู้บริหาร ขสมก. และส่วนงานที่เกี่ยวข้อง มากที่สุดในการให้บริการรถเมล์ แก่ประชาชนมากที่สุดร้อยละ 56.9 คือ มีรถเมล์ให้บริการครอบคลุมทุกเส้นทางได้หรือไม่เพื่อคํานึงถึงผู้มีรายได้น้อย รองลงมาร้อยละ 53.2 คือ ทําไมรถเมล์ถึงมีให้บริการน้อย และร้อยละ 51.0 คือ ประชาชนจะได้รับ ผลกระทบจากปัญหารถเมล์ขาดระยะ ลดเที่ยววิ่ง และยกเลิกสายรถเมล์บางเส้นทางนานแค่ไหน