รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อเร็วๆนี้บริษัทประกันชีวิตทั้งหมดในระบบได้นัดหารือกันถึงแนวปฏิบัติการให้ความคุ้มครอง ตามสัญญาประกันภัยสุขภาพ สำหรับผู้เอาประกันภัยที่ติดเชื้อโควิด-19 ของบริษัทประกันชีวิตใหม่จนได้ข้อสรุปร่วมกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยได้นัดหมายกันแล้วว่า ทุกบริษัทจะเริ่มใช้แนวปฏิบัตินี้พร้อมกันทั้งธุรกิจตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 เป็นต้นไป โดยเหตุและผลสืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคตืดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19) ที่ผ่านมา ภาคธุรกิจประกันชีวิตได้มีการขยายความคุ้มครองเพิ่มเติมจากสัญญาประกันภัยสุขภาพ ซึ่งบริษัทไม่ได้มีการคิดเบี้ยประกันภัยมาตั้งแต่ต้น เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ซึ่งหากมีการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนที่เกิดจากการขยายความคุ้มครอง นี้เป็นจำนวนที่สูงอย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลกระทบต่อฐานะทางการเงิน ของบริษัทประกันชีวิตในอนาคตได้ นอกจากนี้การให้ความคุ้มครองเพิ่มเติมดังกล่าว จะมีผลกระทบฐานะการเงินบริษัทประกันชีวิตในอนาคตได้ นอกจากนี้การให้ความคุ้มครองเพิ่มเติมดังกล่าว จะมีผลกระทบต่อบุคคลภายนอกด้วย เช่น บริษัทรับประกันภัยต่อ ในกรณีที่เป็นสัญญาประกันภัยสุขภาพที่บริษัทต้องส่งประกันภัยต่อ บริษัทรับประกันภัยต่อมาตั้งแต่ต้น รวมถึงเป็นเหตุให้ผู้เอาประกันภัยอื่นได้รับผลกระทบด้วย เช่น การคำนวณอัตราเบี้ยประกันภัยสำหรับผู้เอาประกันภัยอื่นที่ไม่ได้เป็นผู้ป่วยโควิด เนื่องจากการปรับเบี้ยประกันภัยจะคำนวณจากพอรต์โฟลิโอผPortfolio) ซึ่งการดำเนินธุรกิจประกันภัยควรดำเนินการตามมาตรฐานสากลที่เป็นที่ยอมรับ เนื่องจากธุรกิจประกันภัยควรทำสัญญาประกันภัยและการคำนวณ เบี้ยประกันภัย จะกำหนดในภาวะปกติ ที่ไม่มีเหตุแทรกแซง ใดๆ อันเป็นที่ยอมรับตามหลักการประกันภัย ดังนั้นหลักเกณฑ์วิธีการที่กำหนดเพื่อให้สอดคล้องกับลักษระของแบบประกันและเบี้ยประกันภัย จึงได้มีการกำหนดข้อยกเว้นที่ไม่คุ้มครองกรณีโรคระบาด เนื่องจากธุรกิจประกันภัยไม่สามารถประเมินความเสี่ยงภัย จากฦโรคระบาดที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ แต่ด้วยสถานการณ์ในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป การติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 มีระดับความรุนแรงน้อยลง โดยมีการคาดการณ์ทางการแพทย์ว่า ในระยะเวลาอันใกล้การติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 จะกลายสภาพเป็นเหมือน “โรคประจำถิ่น”เช่น โรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งกระบวนการดูแลรักษา จะเปลี่ยนแปลงไป ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาเป็น”ผู้ป่วยใน”อีกต่อไป และผู้เข้ารับการรักษาใน(Hospitel) ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวที่ไม่มีอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อย จึงไม่มีความจำเป็นทางการการแพทย์ที่ต้องนอนรักษาตัวเป็น”ผู้ป่วยใน” ในโรงพยาบาล ดังนั้นการรักษาในในHospitel เป็นเพียงการกักตัว (Quarantine) หรือการแยกกักตัว (Isolation)เท่านั้น ภาคธุรกิจประกันชีวิตจึงได้ออกแนวปฎิบัติการให้ความคุ้มครอง ตามสัญญาประกันภัยสุขภาพสำหรับผู้เอาประกันภัยที่ติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ของบริษัทประกันชีวิตให้สอดคล้องตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง แนวทางปฏิบัติสำหรบบุคลากรทางการแพทย์ในการให้คำแนะนำผู้ป่วยและการจัดบริการผู้ป่วยวิด19 แบบ Home Isolation ฉบับปรับปรุง เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2565 ซึ่งได้กำหนดแนวทางปฏิบัติให้ผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อย ให้กักตัวที่บ้าน (Home Isolation)และแนวทางปฏิบัติการส่งต่อหรือการเข้าเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาล เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ในการให้คำแนะนำผู้ป่วยและการจัดบริการผู้ป่วยโควิด-19 แบบ Home Isolation โดยกำหนดแนวปฏิบัติการรับผู้ป่วยโควิด-19ที่จะเข้าเป็น”ผู้ป่วยใน” ในโรงพยาบาล จะต้องมีความจำเป็นทางการแพทย์และมาตรฐานทางการแพทย์ ตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข “ข้อใดข้อหนึ่ง”ดังนี้ 1.เมื่อมีอาการไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส ระยะยาวนานกว่า 24 ชั่วโมง 2.หายใจเร็วกว่า 25 ครั้ง ต่อนาทีในผู้ใหญ่ 3.Oxygen Saturation น้อยกว่า 94% 4.โรคประจำตัวที่มีการเปลี่ยนแปลง หรือจำเป็นต้องติดตามอาการอย่างใกล้ชิด ตามดุลยพินิจของแพทย์ 5.สำหรับในเด็กหากมีอาการหายใจลำบาก ซึมลง ดื่มนมหรือ ทานอาหารน้อยลง ทั้งนี้ขอให้บริษัทสมาชิกได้เตรียมความพร้อมในการสื่อสารภายในบริษัทและโรงพยาบาล คู่สัญญา เพื่อใช้เป็นแนวทางปฎิบัติในการพิจารณาค่าสินไหม ทดแทน ค่ารักษาพยาบาล และค่าชดเชยรายได้จากการนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล สำหรับผู้เอาประกันภัยภัยที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามเงื่อนไขของสัญญาประกันภัยสุขภาพที่ให้ความคุ้มครอง การรักษาแบบ”ผู้ป่วยใน” การรักษาพยาบาลแบบ “ผู้ป่วยนอก” และสัญญาเพิ่มเติม ค่าชดเชยรายได้จากการนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล(ถ้ามี) ให้สอดคล้อง ตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุขดังกล่าว