วันที่ 26 ม.ค.65 รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ระบุข้อความว่า... ทีมญี่ปุ่นศึกษาพบว่าหลังติดเชื้อโรคโควิด-19 ไปแล้วจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับเซลล์ ส่งผลให้เกิดกระบวนการอักเสบเรื้อรังต่อเนื่อง ซึ่งอาจเป็นหนึ่งในเหตุผลที่อธิบายเรื่องอาการคงค้าง หรือ Long COVID ระยะยาว ทีมจาก FHCRC อเมริกา วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิด Long COVID หลายปัจจัย ได้แก่ การมีโรคประจำตัว (เช่น เบาหวาน), ปริมาณไวรัสในเลือด, การเกิดภูมิต่อต้านตนเอง (Autoantibodies), รวมถึงการกระตุ้นไวรัสที่แฝงอยู่ในร่างกาย (EBV) งานวิจัยมากขึ้นเรื่อยๆ ชี้ให้เห็นว่า โควิด-19 ไม่กระจอก ไม่ใช่หวัดธรรมดา ติดเชื้อแล้วมีโอกาสส่งผลกระทบระยะยาวเรื้อรัง การป้องกันตัวสม่ำเสมอ เคร่งครัด เป็นกิจวัตร มีความสำคัญมาก ไม่ติดเชื้อย่อมปลอดภัยกว่า