หลายคนคงมีคำถามว่า ค่าใช้จ่ายที่มาพร้อมความ “โสด” มีอะไรบ้าง และระหว่าง “หญิงโสด” กับ “ชายโสด” ใครควรมีเงินเก็บมากกว่ากัน มาดูกันก่อนว่าอะไรบ้างที่เป็นค่าใช้จ่ายของคนโสด ซึ่งจากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติปี 2561 พบว่าคนโสดมีรายจ่ายเพื่อการบริโภคต่อหัว หรือรายจ่ายเพื่อการกิน เที่ยว สังสรรค์ และช้อปปิ้งมากกว่าคนมีครอบครัวถึง 11% โดยระหว่างหญิงกับชายจะมีรายจ่ายที่แตกต่างกันดังนี้ ·ค่าใช้จ่ายในการรักษาโรค ข้อมูลของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า ผู้ชายไทยมีอายุเฉลี่ย 72.2 ปี ในขณะที่ผู้หญิงมีอายุเฉลี่ย 78.9 ปี เพราะผู้ชายมีปัจจัยเสี่ยงทางด้านสุขภาพที่เกิดจากพฤติกรรมมากกว่า เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ หรือการทำงานหนัก และเสี่ยงอันตรายมากกว่าผู้หญิง แต่อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงกับผู้ชายต่างมีความเสี่ยงในการเผชิญกับโรคร้ายแรงได้ไม่ต่างกัน ·ค่าดูแลยามเจ็บป่วย เมื่อเราสูงอายุ การมีอายุขัยเฉลี่ยที่ยืนยาวของผู้หญิง นำมาซึ่งค่าใช้จ่ายที่จำเป็นอีกอย่างหนึ่ง คือ ค่าใช้จ่ายในการดูแลยามเป็นผู้สูงอายุ ซึ่งหากเลือกจะเป็นโสด จำเป็นต้องเตรียมค่าใช้จ่ายตรงนี้เอาไว้ เช่น เมื่อมีอายุครบ 70 ปี เท่ากับว่าผู้หญิงจะมีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้มากกว่าผู้ชาย โดยสามารถคำนวณได้ดังนี้ อายุขัยเฉลี่ย - 70 ปี = ระยะเวลาที่เราต้องการผู้ดูแล ระยะเวลาที่เราต้องการผู้ดูแล (เดือน) x ค่าดูแลผู้สูงอายุต่อเดือน (บาท) = ค่าใช้จ่ายที่เราต้องเตรียมไว้ *ข้อมูลค่าดูแลผู้สูงอายุต่อเดือน จาก set.or.th ยกตัวอย่างเช่น หากผู้หญิงอายุ 78.9 ปี – 70 ปี = 8.9 ปี 105 x 27,100 = 2,845,500 บาท ฉะนั้น ผู้หญิงที่มีค่าใช้จ่ายในการดูแลยามเป็นผู้สูงอายุ เป็นเงิน 2,845,500 บาท จากข้อมูลข้างต้น สิ่งที่ยกมาเปรียบเทียบเป็นเพียงตัวอย่างที่ช่วยให้เห็นภาพเท่านั้น ในชีวิตจริงยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เป็นตัวประกอบสำคัญ นอกจากการเตรียมค่าดูแลยามเจ็บป่วยอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ทั้งหญิงโสด และชายโสด ก็ต้องมีการวางแผนชีวิตไม่ต่างจากคนมีครอบครัว ครอบคลุมถึงเรื่องการเงินด้วยเช่นกัน เพื่อให้เราสามารถใช้จ่ายได้แบบสบาย ๆ เตรียมตัวให้พร้อมที่จะใช้ชีวิตโสดอย่างมีคุณภาพ มีชีวิตการเงินที่ยั่งยืน มีเงินเก็บพร้อมใช้จ่ายสบาย ๆ ยามเกษียณ ดังนั้น fintips by ttb ขอแนะนำเคล็ดลับการเงิน ที่เหมาะกับหญิงโสด และ ชายโสด โดยมี 5 ข้อที่ควรทำเพื่อวางแผนการเงิน ให้มีเงินเหลือใช้หลังเกษียณ ดังนี้ 1. เตรียมเงินเผื่อใช้ฉุกเฉิน ควรจัดสรรเงินออมไว้ให้เป็นสัดส่วน โดยทำบัญชีรายรับรายจ่าย และจัดการหนี้สินที่ไม่จำเป็น เพื่อลดความเสี่ยงในการเสียเงินก้อนใหญ่ในอนาคต 2.ซื้อประกันคุ้มครองอุ่นใจ ทั้งประกันชีวิตและประกันสุขภาพ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายจากโรคภัย และอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ เพราะประกันชีวิตจะเป็นส่วนช่วยจัดการวางแผนการเงินที่รัดกุมให้กับทุกคนได้ 3.หาช่องทางลงทุนเพิ่ม นอกจากรายได้เงินเดือนที่ได้รับเป็นประจำแล้วควรมองหาช่องทางการลงทุนเพิ่มเติม เช่น ลงทุนในกองทุนต่าง ๆ การซื้อสลากออมทรัพย์ หรือแม้แต่การลงทุนในตลาดหุ้น ทั้งการลงทุนแบบถัวเฉลี่ย (Dollar Cost Averaging หรือ DCA) หรือการลงทุนในหุ้นปัจจัยพื้นฐาน (VI) ซึ่งเป็นช่องทางที่ช่วยสร้างโอกาสให้เงินเก็บของเรางอกเงย ไว้ใช้สบาย ๆ หลังเกษียณ 4.เก็บเงินใช้หลังเกษียณ วางแผนชีวิตอย่างรอบคอบ โดยวิธีคำนวณเงินเก็บใช้หลังเกษียณ คือค่าใช้จ่ายรวมต่อเดือน x 12 x จำนวนปีที่อยู่หลังเกษียณ x 2 เท่า (เพื่อป้องกันเงินเฟ้อ) 5.มีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองมองหาที่อยู่อาศัยที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของเราในช่วงที่เรายังมีรายได้จากการทำงาน และวางแผนผ่อนชำระให้หมดก่อนวัยเกษียณ เพื่อให้เราสามารถใช้ชีวิตหลังเกษียณได้แบบสบาย ๆ และมั่นคงมากขึ้น “โสดอย่างสตรอง และแฮปปี้” ไม่ว่าหญิงหรือชาย ต้องไม่ลืมวางแผนชีวิตและการเงิน คำนวณค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เตรียมพร้อม หาตัวช่วยที่จะทำให้ใช้ชีวิตได้อย่างมั่นคง อุ่นใจ หากเตรียมพร้อมครบทุกอย่าง ก็มั่นใจได้เลยว่านับจากนี้ไปจะเป็นชีวิตที่ไร้กังวลอย่างแน่นอน สามารถหาข้อมูลความรู้และเคล็ดลับทางการเงินดี ๆ เพิ่มเติมได้ เพื่อกำหนดเป้าหมายและสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นได้ ทั้งวันนี้และอนาคต ได้ที่ “fintips by ttb” เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ หรืออ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ https://www.ttbbank.com/th/fintips-singles-00