วันที่ 12 ม.ค.65 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจากประชาชนว่า ที่วัดหัวตะพาน หมู่ 2 ตำบลหัวตะพาน อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่สมัยปลายอยุธยา มีอุโบสถและพระพุทธรูปต่างๆ ที่อยู่ในวัด ต่างหันหน้าไปทางทิศตะวันตก ซึ่งเป็นวัดเดียวของจังหวัดอ่างทอง แตกต่างจากวัดทั่วไปที่มีพระอุโบสถหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ผู้สื่อข่าวจึงเดินทางไปพิสูจน์ว่า เป็นความจริงอย่างที่ประชาชนได้กล่าวไว้หรือไม่ เมื่อเดินทางไปถึงยังวัดหัวตะพาน พบว่าอุโบสถ์ของวัดก่อด้วยอิฐถือปูนขนาดความกว้าง 9 เมตรยาว 15 เมตร ร่วมถึงพระประธานในโบสถ์ (หลวงพ่อเพ็ชร) ซึ่งเป็นพระประธานปูนปั้นที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีหน้าตักกว่าถึง 200 กว่านิ้ว ได้หันหน้าโบสถ์ไปทางทิศตะวันตกจริง ด้านพระสมุห์เกษม สุภาจาโร เจ้าอาวาสวัดหัวตะพาน ได้กล่าวถึงความเป็นมาของวัดหัวตะพานว่า สร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย ที่โบสถ์หัวหน้าไปทางทิศตะวันตกนั้นเนื่องจากผู้ริเริ่มสร้างเป็นชาวมอญ จึงหันหน้าโบสถ์ไปทางเมืองมอญซึ่งบ้านเกิดเมืองนอน แล้วพระเจดีย์ที่อยู่หลังโบสถ์ไม่ทราบความเป็นมา ส่วนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัดก็มี หลวงพ่อเพ็ชร ซึ่งเป็นพระประธานภายในโบสถ์เป็นพระปูนปั้นที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีหน้าตักกว่าถึง 200 กว่านิ้ว สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหมดในวัดจะหน้าไปทางทิศตะวันตก ไม่ว่าจะเป็นพระนอน หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สร้างมาที่หลังก็ตาม ซึ่งเป็นวัดเดียวของจังหวัดอ่างทองก็ว่าได้