พัฒนาชุมชนฉะเชิงเทรา จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวันคล้ายวันประสูติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา วันที่ 6 มกราคม 2565 เวลา 13.30 น.ที่บริเวณ ห้องโถงศาลากลางจังหวัดฉะเชิงเทรา ชั้น 1 นายวรนัฐ ติรประเสริฐ พัฒนาการจังหวัดฉะเชิงเทราเปิดเผิยว่าสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทราโดยตนเองพร้อมด้วย นายปัณณธร ล่ามแขก ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน นางอาภร โพธิ์เจริญ ผู้อำนวยการกลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน และนางอังคณา จิตรวิไลย ผู้อำนวยการกลุ่มงานประสานและสนับสนุนการบริหารงานพัฒนาชุมชน พัฒนาการอำเภอ นักวิชา การพัฒนาชุมชน และเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมเฉลิมพระ เกียรติเนื่องในวันคล้ายวันประสูติของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา โดยมีกิจกรรมลงนามถวายพระพรชัยมงคล และจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ รวมทั้งการประชาสัมพันธ์เชิญชวนแต่งกายด้วยผ้าไทยลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ไปยังทุกส่วนราชการ หน่วยงาน สถาบันการศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ประชาชน กลุ่มองค์กรและเครือข่ายฯ ตั้งแต่วันที่ 5-14 มกราคม 2565 ณ บริเวณห้องโถงศาลากลางจังหวัดฉะเชิงเทรา ชั้น 1 ทั้งนี้นางอาภร โพธิ์เจริญ กล่าวว่าเนื่องในโอกาส วันที่ 8 มกราคม 2565 เป็นวันคล้ายวันประสูติของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา สำนึกในพระกรุณาธิคุณสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ที่ทรงมีต่อปวงพสกนิกร ในการที่ทรงมุ่งมั่นสืบสานพระราชปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาหัตถกรรมไทย ให้ดำรงอยู่ยั่งยืนตลอดไป อีกทั้งทรงพระราชทานแบบลายผ้าชื่อลาย “ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” แก่พสกนิกรชาวไทย อันเป็นสิ่งที่ประจักษ์ชัดถึงพระปรีชาสามารถในด้านการออกแบบ เกิดความเชื่อมั่นว่าความงดงามของผ้าไทยจะคงอยู่คู่กับสังคมไทย และทรงพระราชทานลายผ้าบาติก 3 ลาย “ปาเต๊ะร่วมใจเทิดไท้เจ้าหญิง” “ท้องทะเลไทย” และ “ป่าแดนใต้” ที่พระองค์ได้แรงบันดาลพระทัยจากการเสด็จไปทอดพระเนตรงานศิลปหัตถกรรมจากภูมิปัญญาพื้นถิ่นในภาคใต้หลายครั้ง ทรงพบเห็นวิถีชีวิตและธรรม ชาติ ของภาคใต้ ที่มีเอก ลักษณ์ เพื่อพระราชทานให้กับช่างฝีมือบาติกเป็นของขวัญตอบแทนมิตรภาพและความจริงใจ ที่ประชาชนชาวภาคใต้มอบให้กับพระองค์ รวมทั้งยังเป็นการเพิ่มคุณ ค่า และมูลค่าของผลิต ภัณฑ์ด้วยเรื่องราวและความหมายชวนประทับใจเป็นการยกระดับผ้าไทยให้มีความร่วมสมัย สามารถก้าวสู่ระดับสากล เพื่อวิถีชุมชนที่ยั่งยืนเปรียบดังแสงสว่างแห่งวิถีความงดงามของอัตลักษณ์ไทย นำทางให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ และสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนเศรษฐกิจฐานราก อันเป็นพลังที่จะสืบสาน ความเป็นไทยให้คงอยู่สืบไป