วันที่ 25 พ.ย. 64 ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราช พยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวในงานแถลงข่าว อัปเดทสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในประเด็น สถานการณ์การแพร่ระบาด โควิด-19 ระลอกใหม่ใน ยุโรป โดยระบุว่า ข้อมูล ณ วันที่ 22 พ.ย. 64 การแพร่ระบาดใหญ่เกิดขึ้นในทวีปอเมริกาเหนือ โดยเฉพาะในสหรัฐฯ ส่วนยุโรปชัดเจนว่า ช่วงปลาย ส.ค.- กย. 64 เป็นต้นมา แนวโน้มสูงขึ้นไม่หยุด อัตราการระบาดในประเทศในยุโรปที่เพิ่มขึ้นมาก ขณะที่ ออสเตรีย เนเธอแลน สหราชอาณาจักร เยอรมนี อิตาลี ก็ไต่ขึ้น โดย ต.ค. เป็นจุดเปลี่ยน สิ่งที่น่าห่วง คือ ยุโรปเข้าหน้านาว อากาศเย็นลงเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยง ขณะที่ สถานการณ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดี แต่ในปีที่ผ่านมาการระบาดลดลงในลักษณะนี้และกลับขึ้นมา อย่างเช่นทวีปยุโรปเวลานี้ได้กลับมาแพร่ระบาดอีกครั้ง กลายเป็นศูนย์กลางการแพร่ระบาดของเชื้อโควิดรอบใหม่ หลายประเทศเปิดประเทศ มีการเดินทางมากขึ้น ดังนั้นจึงขอให้ระวัง เพราะเดือนหน้าเป็นเดือนช่วงเวลาของการเสี่ยงการติดเชื้อ ซึ่งจากข้อมูล องค์การอนามัยโลก มีความกังวลในการแพร่ระบาดโควิด-19 ทวีปยุโรป เพราะขณะนี้สิ่งที่เกิดขึ้นหลายประเทศในยุโรป กลับระบาด มีการคาดการณ์ว่า หากไม่มีการจัดการอะไรเลย ในเดือน มี.ค. 2565 อาจจะมีผู้เสียชีวิต มากกว่า 5 แสนราย หากวิเคราะห์เหตุปัจจัย ตั้งแต่ปี 2563-2564 จะพบว่าเมื่อมีการแพร่ระบาดในทวีปใดทวีปหนึ่ง ไม่นานจะกระจายไปทวีปอื่นตามมา ทั้งนี้ โดย ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวต่อว่า จากสถานการณ์ยุโรปพบว่า แม้ฉีดวัคซีนเข็ม 1 และครบโดสเกิน 70% แล้วก็ยังติดเชื้อ เมื่อถอดบทเรียนปัจจัยการแพร่ระบาด พบว่า มาจากวัฒนธรรมและความเชื่อ ความเป็นอิสระ การไม่ยอมรับการใส่หน้ากาก การเว้นระยะห่าง ความไม่ไว้วางใจในความปลอดภัยหรือประสิทธิภาพของวัคซีน ฯลฯ การผ่อนคลายสภาวะที่ถูกควบคุม สันทนาการ การเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มใหญ่ ที่ขาดมาตรการป้องกันการติดเชื้อ/การแพร่เชื้อ รวมถึง การบริหารจัดการ ผู้นำบางประเทศประกาศให้ผ่อนคลายมาตรการการป้องกัน (ยกเลิกการใส่หน้ากาก ไม่จำเป็นต้องเว้นระยะห่าง ฯลฯ) อาจเพราะมั่นใจว่าประชาชนได้รับการฉีดวัคซีนมากพอแล้ว และ ในเรื่องของเศรษฐกิจ ทั้งในระดับประเทศ ระดับครอบครัว และระดับบุคคล อีกทั้งในเรื่องของ ภูมิอากาศ ประเทศทางตะวันตกเข้าสู่ช่วงเวลาอากาศหนาว อุณหภูมิที่ลดลง ภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโควิด-19 ที่ลดลงเมื่อเวลาผ่านไป งภายหลังการติดเชื้อและการได้รับวัคซีน ขณะที่การกลายพันธุ์ของไวรัส ยังอยู่ในระหว่างการเฝ้าติดตาม เช่น สายพันธุ์ Delta Plus (AY.4.2) และ สายพันธุ์ใหม่ B 1.1.529 โดยสายพันธุ์ใหม่นี้ พบ 10 คนที่มีการตรวจ แต่ที่ไม่ตรวจยังไม่รู้ โดย 10 คนเจอครั้งแรก ที่บอสวานา 3 ราย ที่แอฟริกาใต้ 6 ราย และฮ่องกง 1 ราย ซึ่งสายพันธุ์นี้มีการกลายพันธุ์ 32 จุดที่เกี่ยวข้องกับสไปร์ทโปรตีน โดยจะมีการติดตามเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งนำมาเตือนเพื่อให้เห็นว่า ยังต้องสวมหน้ากากอนามัย แต่ไม่ต้องตื่นตระหนก เพราะอย่างไรไวรัสก็จะมีการกลายพันธุ์อยู่ตลอด โดยทางองค์การอนามัยโลก ยังระบุว่าขณะนี้ อัลฟ่า เดลต้า เบต้า และแกมม่า ยังคงเป็น 4 สายพันธุ์ที่ยังก่อให้เกิดเรื่อง ส่วนสายพันธุ์ที่เฝ้าติดตาม ยังเป็น แลมดา และมิว โดย ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า ปัจจุบันมีบางประเทศที่เปิดเมืองแล้ว แต่ยังไม่เกิดการแพร่กระจายเชื้อ อย่างเช่น ญี่ปุ่น อิสราเอล ซึ่งสิ่งสำคัญ คือ การมีวินัยและความร่วมมือกันของทุกฝ่าย ประชากรได้รับวัคซีนครบในอัตราสูงกว่า 70% การตัดสินใจที่รวดเร็ว ภายใต้ข้อมูลที่ดี เมื่อเกิดสถานการณ์ที่ผิดจากที่คาดหมายการคงมาตรการเข้มงวดในการป้องกันการติดเชื้อ/การแพร่เชื้อ ใส่หน้ากากอย่างถูกวิธี รักษาระยะห่างระหว่างบุดคล หมั่นทำความสะอาดมือ และการรายงานตัวเข้ารับการตรวจหากสงสัยว่าติดเชื้อ ทั้งนี้คาดว่าในเดือนธันวาคมเป็นช่วงที่เสี่ยง ซึ่งทุกประเทศเฝ้าระวัง และหลายประเทศกำหนดและดำเนินมาตรการป้องกันออกมาแล้ว ดังนั้นในเดือนธันวาคมนี้ จึงควรหลีกเลี่ยงประเด็นสำคัญๆ 3 เสี่ยง คือ บุคคลเสี่ยง กิจกรรมเสี่ยง สถานที่เสี่ยง ซึ่ง ด้วยเดือนนี้อากาศเย็นลง โดยทางด้านผู้ประกอบการ วิธีที่จะทำให้สถานที่ของท่านไม่เป็นสถานที่เสี่ยง คือ ดำเนินการตามมาตรการต่างๆ รักษาระยะห่างของผู้เข้ารับบริการ หลีกเลี่ยงกิจกรรมเสี่ยง หากช่วยกันปีใหม่อาจจะมีโอกาสเปิดประเทศและมีความสุขเหมือนหลายปีที่ไม่มีโควิด