วันที่ 21 ต.ค.64 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้ก่อตั้งพรรครวมพลังประชาชาติไทย อดีตแกนนำกปปส. จัดรายการ "คุยกับลุง EP2" เล่าเรื่องการเมืองในอดีต ระบุว่า "แตกต่างกันมาก ปัจจุบันใครมีสื่อออนไลน์มากจะได้เปรียบ กังวล เฟคนิวส์ ที่ตรงข้ามความจริง ห่วงคนดูข่าว พร้อมเร่งเดินหน้า สร้างนักการเมืองรุ่นใหม่ที่มีอุดมการณ์ มีความมุ่งมั่น ทำเพื่อชาติ ในตอนหนึ่ง นายสุเทพ ระบุว่า “ เมื่อก่อนการเมืองมันดีนะ มาเดี๋ยวนี้สถานการณ์มันไม่เป็นอย่างนี้ วันนี้เอาเป็นเอาตายกันแล้ว ใช้กำลังกันแล้วทำลายล้างกันโดยไม่มีคุณธรรมทางการเมืองแสวงหาประโยชน์ อันนี้น่ากลัว เราเลยแยกยากว่าไหนคือนักการเมืองที่ดี ที่มีอุดมการณ์เพื่อชาติ เพื่อประชาชน หรือไหนคือคนที่อาศัยการเมืองมา เพื่อให้การเมือง เป็นเหมือนบันไดไต่เต้า ยกระดับตัวเองในสังคม ตำแหน่งหน้าที่ทางการเมืองแสวงหาประโยชน์ตัวเอง เราดูยากเหลือเกิน ผมคิดว่าน่ากังวลใจสำหรับเรื่องนี้ สิ่งที่เราต้องช่วยกันคือต้องทำการเมืองให้เป็นการเมืองของประชาชนเพื่อประชาชนจริงๆ อันนี้เป็นเรื่องที่จะต้องช่วยกันคิด ปล่อยให้สภาพบ้านเมืองเป็นแบบนี้ต่อไปเป็นเรื่องที่น่ากังวลใจ ผมเป็นผู้แทนราษฎร ที่มาจากการเลือกตั้งทั่วไปรวมทั้งหมด 12 สมัย โดยในจำนวนนี้ 10 สมัย เป็นการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรแบบเขตเลือกตั้ง ส่วนอีก 2สมัยเป็นผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ เป็นผู้แทน ติดต่อกันมาตั้งแต่ปี 2522 จนกระทั่งมาลาออกเมื่อปี 2556 ตอนที่มาเดินขบวนร่วมกับพี่น้อง กปปส. ผมเป็นผู้แทนราษฎรจังหวัดสุราษฏร์ธานี เดิมผมลงสมัครครั้งแรกปี 2522 จ.สุราษฏร์ธานีมี เขตเลือกตั้ง เพียง 2 เขตสมัยนั้นแบ่งเป็น เขตละ3 คน ผมก็ลงสมัครในเขตที่ 2 แล้วต่อมาเขาก็เปลี่ยนเขตเลือกตั้งมา กลายเป็น5-6เขต ผมก็หมุนเวียนลงสมัครที่ จ.สุราษฎร์ เรียกว่าเป็นผู้แทนฯมาครบทุกพื้นที่ใน จ.สุราษฎร์ฯ ทุกเขตเลือกตั้ง เดี๋ยวนี้มีพรรคการเมืองมากขึ้น สมัยนั้นก็มีหลายสิบพรรคการเมือง แต่ว่าพรรคการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นจำนวนที่มีความหมายทางการเมืองมีไม่กี่พรรค ปีที่ผมเข้ามาเป็นส.ส.ปีแรก 2522 ก็ไม่มีพรรคการเมืองพรรคไหน ที่ได้เสียงข้างมากเด็ดขาด ที่จะตั้งรัฐบาลโดยอาศัยพรรคการเมืองพรรคเดียวได้ ตอนนั้นคนที่มาเป็นนายกรัฐมนตรี ในยุคที่ไม่มีพรรคการเมืองไหนที่จะ มีเสียงเด็ดขาด ที่มีหัวหน้าพรรคการเมือง จะเป็นนายกรัฐมนตรีได้ ที่ได้ก็คือ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ท่านไม่มีพรรคการเมืองของท่านแต่พรรคการเมืองต่างๆก็ช่วยกัน พรรคที่ประกาศตัวสนับสนุน พล.อ.เปรม ก่อนเพื่อน ตอนแรกคือพรรคกิจสังคม พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคชาติไทย มีพรรคสหประชาไทยด้วย ก็ร่วมกันเป็นรัฐบาลดี เวลาออกไปเลือกตั้งก็แข่งกัน ก็ไปสู้กันในสนาม แต่ว่าเวลามาทำงานให้ชาติบ้านเมืองก็มาทำงานร่วมกันด้วยดีอย่างนี้เป็นต้น แต่หากมาเปรียบเทียบเดี๋ยวนี้ การแบ่งฝักแบ่งฝ่ายในทางการเมืองค่อนข้างจะรุนแรงขึ้น แต่ละฝ่ายอาจจะยึดมั่นถือมั่นในเรื่องความคิดของตัวเองค่อนข้างแรง แล้วก็ทำให้มี2ฝ่าย เป็นเรื่องที่ต้องกังวล จริงๆการแสดงความคิด ความเห็นทางการเมือง เราต้องถือเป็นหลักสำคัญของระบอบประชาธิปไตย เป็นสิทธิ เป็นเสรีภาพของประชาชน คนที่อยู่ในสังคมประชาธิปไตยก็ต้องฟังคนอื่นว่า เขาคิดอย่างไร เราจะเห็นด้วยหรือไม่ ไม่ต้องโกรธหรือเกลียดกัน ไม่ต้องเป็นศัตรูกัน ถ้าอย่างนั้นเป็นสังคมประชาธิปไตยที่ราบรื่น นี่เป็นที่ต้องระมัดระวัง เพราะเดี๋ยวมีคนยุงยงปลุกปั่นให้เยาวชนของเราเห็นเรื่องการใช้ความรุนแรงทางการเมืองเป็นเรื่องสนุกสนานเป็นของที่ทำได้ไปอันนี้เป็นบาปสำหรับคนที่แนะนำยุยงเด็ก แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าเขาออกมาแสดงความคิดเห็นทางการเมืองด้วยวิธีการที่สงบ ไม่รุนแรง ไม่มีอาวุธ ก็ต้องเปิดโอกาสให้เขาแสดงได้ ที่สำคัญคือทั้งหมดทั้งหลายเหล่านี้ มันอยู่ที่นักการเมือง มันอยู่ที่พรรคการเมือง ถ้านักการเมืองทำตัวเป็นที่พึ่งของที่ประชาชนพรรคการเมืองเป็นพรรคการเมืองที่ประชาชนพึ่งได้ ปัญหาของประชาชนเรื่องราวของประชาชนนี่ก็ฝากผู้แทนเขาไปถ้ากรณีที่เกิดเหตุอย่างนี้ 1.ต้องมองว่าพรรคการเมืองมีคุณภาพน้อยลง นักการเมืองไม่เอาใจใส่ปัญหาของประชาชนเท่าที่ควรประชาชนต้องออกมาแสดงเองอันนี้ก็มองได้ประการหนึ่ง 2. คนไม่ไว้ใจแล้วว่านักการเมืองจะใช้ได้ หรือพรรคการเมืองจะใช้ได้ จะทำหน้าที่แทนตัวเองก็เลยออกมาเอง หรือ 3.นักการเมืองคิดว่าเรื่องอย่างนี้ไม่ต้องแสดงเอง เอานอมินีมาแสดง แล้วมายุให้คนมาชุมนุมทางการเมืองแล้วตัวเองอยู่ข้างหลัง อย่างที่เขาเรียกคุณเตี้ยอะไรอย่างนี้เป็นต้น ก็มีเราก็เห็นๆอยู่ สถานการณ์อย่างนี้ต้องถือว่าเป็นการเมืองนอกระบบ ถ้าเราต้องการเห็นบ้านเมืองสงบเรียบร้อยก็ต้องพยายามเดินกันในระบบ จนกระทั่งมันไม่ไหวจริงๆมันเสียหายจริงๆอันนั้นถึงต้องพึ่งพลังประชาชน แต่ว่าถ้าปัญหายังพอพูดกันได้ ยังพอเข้าใจกันได้ คนที่เป็นนักการเมืองเป็นผู้แทน เป็นนักการเมืองเป็นพรรคการเมืองควรจะไปทำหน้าที่เรื่องเหล่านี้ การสื่อสารทางการเมืองในช่วง10 กว่าปีมานี้ เขาไปทางออนไลน์กันมาก คนที่มีความสันทัดจัดเจนในการใช้สื่อออนไลน์เพื่อประโยชน์ทางการเมืองจะเป็นฝ่ายที่ได้เปรียบ จะเห็นว่าในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาคนที่ใช้สื่อออนไลน์ก็สามารถสร้างกระแสได้ดี และได้รับการเลือกตั้งเข้ามา เป็นจำนวนค่อนข้างมาก ที่เรียกว่ามีนัยยะสำคัญ เพราะฉะนั้นคนรุ่นผมล้าสมัยแล้ว ผมถึงบอกที่จะไปตั้งวงปราศรัย หรือเดินเคาะประตูบ้านทุกบ้านคงไม่ทันแล้ว สู้คนที่ยิงไปทางอากาศไม่ได้ออนไลน์ อันนี้ต้องเปลี่ยน ผมไม่ค่อยสันทัดกับวิธีการแบบออนไลน์ แต่ว่าก็ต้องพยายามเรียนรู้ไปด้วยกัน ผมก็ต้องมาศึกษาเรื่องเหล่านี้ ทำให้คุ้นเคยตามเขาไปด้วย ก็ต้องใช้ประโยชน์ สำคัญที่น่ากังวลใจก็คือว่า มันมีเรื่องของการสื่อข้อความที่ไม่ถูกต้อง บางอันก็เป็นเฟคนิวส์ เป็นความเท็จล้วนๆ บางอันคิด วาทะกรรมดีๆ 2 บรรทัด 3 บรรทัดซึ่งมันโน้มนำคนฟังได้ ซึ่งมันตรงกันข้ามกับข้อเท็จจริงหรือความเป็นไปที่แท้จริง อันนี้ก็เป็นอันตราย แต่คิดว่าพี่น้องประชาชนอีกสักพักจะมีความคุ้นเคยกับการที่จะบริโภคข่าวทางออนไลน์ ซึ่งจะต้องมีการชั่งใจกันมาก เหมือนกันในยุคก่อนหนังสือพิมพ์มีอิทธิพลในประเทศมาก ถ้าในคอลัมน์ในหน้าหนังสือพิมพ์ พูดถึงใครกล่าวถึงใครนักการเมืองคนนั้น ก็ได้ประโยชน์ในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ วันนี้หนังสือพิมพ์ลดความสำคัญลง ออนไลน์มีความสำคัญมากขึ้น วิธีการมันแตกแต่งกันมากการปราศรัยการไปพบปะกันตัวต่อตัวดีตรงที่ว่าได้สื่อกันด้วยจิตด้วยสายตา ฟังคำพูดจากปากชัดเจน เข้าใจกันได้ แต่การส่งแบบออนไลน์ ก็ไม่แน่ อาจผ่านการตบแต่งมาเรียบร้อย อย่ารูปถ่ายที่ถ่ายด้วยมือถืออาจมีการแต่งรูปได้ ตรงนี้ก็เป็นอันตรายของการสื่อสารออนไลน์ทางการเมืองในปัจจุบัน ผมมีความคิดของตัวเองตลอดเวลาว่า ชีวิตนี้จะทำการเมืองทั้งชีวิตตั้งใจจะเป็นนักการเมืองอาชีพ เรียกว่าตายคาผ้าเหลือง เป็นกันไปตลอด แต่ว่าเมื่อปี 2556 ต้องตัดสินใจ ลาออกจากการสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแล้วมาร่วมเดินขบวนชุมนุมต่อต้านระบอบทักษิณ ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น ต่อต้านการออกกฎหมายนิรโทษกรรมเพื่อช่วยเหลือพรรคพวกตัวเองซึ่งผิดหลักนิติรัฐนิติธรรมการลาออกจากส.ส.คราวนั้นตั้งใจไม่กลับสภาฯอีกแล้ว แต่พอเวลาผ่านไปมีความรู้สึกว่าตอนนั้นอุตส่าห์ออกมานอนกลางดินกินกลางถนน แล้วมันมีปรากฏการณ์ทางการเมืองที่เรารู้สึกเวลาจะมีข่าวอภิปรายไม่ไว้ว่าวางใจ อย่างนี้อันตรายอย่างนี้เป็นการเมืองที่ไม่ดี คนไทยทั้งหลายบ้านเมืองก็เป็นของเรา เราถึงไม่ต้องการกลับไปมีตำแหน่งทางการเมืองเป็นส.ส.เป็นรัฐมนตรี แต่เรายังมีตำแหน่งเป็นประชาชน ผมก็เลยคิดว่าวันนี้ต้องมาสร้างพรรคการเมืองของประชาชนที่แท้จริงขึ้นมาพรรคหนึ่ง ก็ลองทำคิดแล้วก็ลองทำถ้าคิดแล้วไม่ทำก็นอนไม่หลับ ผมจะไม่ลงไปสมัครรับเลือกตั้งไม่ลงส.ส. ไม่ทำงานในรัฐบาล แต่จะทำหน้าที่ประชาชน และพยายามทำตัวให้เป็นประโยชน์กับคนอื่น ใครมาพูดคุยด้วยใครมาปรึกษามาให้เล่าเรื่องความหลังอย่างนี้ก็เล่าให้ฟัง บางทีก็เป็นประโยชน์ต่อนักการเมืองรุ่นหลัง ใจผม ผมอยากจะสร้างนักการเมืองรุ่นใหม่ๆที่มีอุดมการณ์มีที่ความมุ่งมั่น ที่จะทำงานเพื่อชาติ เพื่อประชาชนและเห็นว่าเป็นเกียรติยศไม่คิดหวังทรัพย์สินเงินทอง ผมยังคิดหวังที่จะเห็นเยาวชนรุ่นใหม่ รวมทั้งพี่น้องประชาชนทั้งหลาย ได้มีความตระหนักรู้ว่าจะปล่อยให้บ้านเมืองอยู่ในมือนักการเมืองฝ่ายเดียวไม่ได้ ประชาชนต้องควบคุมนักการเมือง ต้องควบคุมพรรคการเมือง และถ้าเป็นไปได้ต้องทำการเมืองให้เป็นการเมืองภาคประชาชนอย่างแท้จริง อย่างนี้บ้านเมืองเราก็จะไปรอด”