ทั้งฝนดาวตก และหลายดาวดังมาเคียงกัน NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก ระบุปรากฏการณ์ดาราศาสตร์น่าสนใจเดือนตุลาคม 2564 ดังนี้ 10 ตุลาคม 2564 ฝนดาวตกทอริดส์ใต้ (อัตราการตก 5 ดวงต่อชั่วโมง) ไม่มีแสงจันทร์รบกวน สังเกตได้ทางทิศตะวันตก เวลาประมาณ 19.30 น.จนถึงรุ่งเช้า 14 ตุลาคม 2564 ดาวเสาร์เคียงดวงจันทร์ ช่วงหัวค่ำ สังเกตได้ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เวลาประมาณ 18.00-00.30 น. 15 ตุลาคม 2564 ดาวพฤหัสบดีเคียงดวงจันทร์ ช่วงหัวค่ำ สังเกตได้ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เวลาประมาณ 17.50 น.จนถึงรุ่งเช้า 16 ตุลาคม 2564 ดาวศุกร์เคียงดาวแอนทาเรส ช่วงหัวค่ำ สังเกตได้ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ เวลาประมาณ 18.05-20.20 น. 21 ตุลาคม 2564 ฝนดาวตกโอไรออนิดส์ (อัตราการตก 20 ดวงต่อชั่วโมง มีแสงจันทร์รบกวน) สังเกตได้ทางทิศตะวันออก เวลาประมาณ 22.30 น.จนถึงรุ่งเช้า 26 ตุลาคม 2564 ดาวพุธอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไปทางทิศตะวันตกมากที่สุด เป็นโอกาสดีที่จะสังเกตเห็นดาวพุธก่อนรุ่งเช้า สังเกตได้ทางทิศตะวันออก เวลาประมาณ 04.43 น.มีเวลาสังเกตประมาณ 45 นาทีจนถึงรุ่งเช้า 27 ตุลาคม 2564 ดาวพอลลักซ์เคียงดวงจันทร์ ช่วงหัวค่ำ สังเกตได้ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เวลาประมาณ 23.00 น.จนถึงรุ่งเช้า 30 ตุลาคม 2564 ดาวศุกร์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไปทางทิศตะวันออกมากที่สุด เป็นโอกาสดีที่จะสังเกตเห็นดาวศุกร์ช่วงหัวค่ำ สังเกตได้ทางทิศตะวันตก เวลาประมาณ 17.35 น. มีเวลาสังเกตประมาณ 2 ชม.40 นาที