เมื่อเวลา 14.30 น. วันที่ 27 กันยายน ที่ห้องประชุมลำตะคอง โรงแรมแคนทารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ที่ปรึกษา สบ.9 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พร้อมพล.ต.ท.ภาณุรัตน์ หลักบุญ ผบช.ภาค 3 นครราชสีมา นายกอบชัย บุญอรณะ ผวจ.นครราชสีมา ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ตามโครงการบูรณาการความร่วมมือระหว่างองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) นครราชสีมากับกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา โดยนางยลดา หวังศุภกิจโกศล นายก อบจ.นครราชสีมา และพล.ต.ต พรชัย นลวชัย ผบก.ภ.จ.นครราชสีมา เพื่อกำหนดพื้นที่ปลอดภัย Safety Zone ใน จ.นครราชสีมา ให้เป็นไปตามนโยบายรัฐบาลเรื่องกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ติดตั้งในพื้นที่สาธารณะ และสอดคล้องกับนโยบายจังหวัดนคราชสีมา เมืองอัจฉริยะ (Smart City) พื้นที่ปลอดภัย (Save Zone) นโยบายผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 ต้องการใช้เทคโนโลยีจากกล้องวงจรปิด CCTV เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินสามารถใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้เป็นการติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด CCTV ในพื้นที่เสี่ยงพร้อมอุปกรณ์ในพื้นที่ 32 อำเภอ ของ จ.จังหวัดนครราชสีมา นำร่อง 10 อำเภอ ติดตั้งสัญญาณใยแก้วนำแสงเชื่อมสัญญาณกล้องโทรทัศน์วงจรปิดชนิดเครือข่ายกับอุปกรณ์บันทึกภาพและอุปกรณ์ติดตั้งห้องควบคุมสั่งการ เพื่อแสดงผลและควบคุมพร้อมเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายและอุปกรณ์สำหรับจัดเก็บข้อมูลแบบภายนอก (External Storage) พร้อมทั้งพัฒนาระบบ Webservice และ Application และชุดโปรแกรมระบบปฏิบัติการสำหรับระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์แม่ข่าย เชื่อมต่อสัญญาณภาพจากกล้องโทรทัศน์วงจรปิดชนิดเครือข่ายแบบมุมมองคงที่สำหรับติดตั้งภายนอกสำนักงานและปี 2565 ติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิดชนิดเครือข่าย แบบมุมมองคงที่สำหรับติดตั้งภายนอกสำนักงานในพื้นที่ 32 อำเภอ ติดตั้งสัญญาณใยแก้วนำแสงเชื่อมสัญญาณกล้องโทรทัศน์วงจรปิดชนิดเครือข่ายกับอุปกรณ์บันทึกภาพและอุปกรณ์เชื่อมต่อสัญญาณภาพจากกล้องโทรทัศน์วงจรปิด CCTV ชนิดเครือข่ายแบบมุมมองคงที่สำหรับติดตั้งภายนอกสำนักงานและติดตั้งพัฒนาระบบบริหารจัดการ ค้นหา สืบค้น ฐานข้อมูล โดย MOU ฉบับนี้มีกำหนดระยะเวลา 4 ปี นับแต่วันที่มีการลงนาม ด้านนางยลดา นายก อบจ.นครราชสีมา กล่าวว่า แนวทางการป้องกันความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินถือเป็นภารกิจหนึ่งที่ต้องบูรณาการร่วมกัน อบจ.นครราชสีมา ได้เล็งเห็นความสำคัญจึงได้จัดสรรงบประมาณดำเนินการ ปี 2564 จำนวน 10 ล้านบาท ครอบคลุม 10 อำเภอนำร่อง ได้แก่ อ.ปากช่อง อ.ด่านขุนทด อ.สีคิ้ว อ.สูงเนิน อ.เมือง อ.โนนสูง อ.คง อ.โนนแดง อ.สีดา อ.บัวลาย และปี 2565-66 ปีละ 40 ล้านบาท ครอบคลุมพื้นที่ 32 อำเภอ รวมเป็นเงิน 90 ล้านบาท