นายวิรไท สันติประภพ อดีตผู้ว่ากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยในงานประชุมประจำปี 2564 สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในหัวข้อเสวนา "13 หมุดหมาย พลิกโฉมประเทศไทย" ว่า แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 นั้น ก่อนที่จะพูดถึงโครงสร้างหรือปัญหา จะต้องมองบริในการเปลี่ยนแปลงของโลกด้วย ซึ่งหากมองเฉพาะสถานการณ์ที่เกิดขึ้นคนอาจจะมองว่าไม่เป็นปัญหา ซึ่งหากมองบริบทของการเปลี่ยนแปลงที่จะต้องเผชิญจะทำให้เห็นความแตกต่างชัดเจนขึ้น โดยระยะเวลาในแผนฉบับที่ 13 จะเห็นบริบทการเปลี่ยนของโลกที่สำคัญ ที่เรียกว่า "VUCA" ทั้งความผันผวน ความไม่แน่นอน ความซับซ้อน และความคลุมเครือสูง "เศรษฐกิจภาคสังคมที่เคยทำย้ายไปทำอุตสาหกรรมแบบใหม่ เช่น เรื่องคนที่เคยทำอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เคยรับนักท่องเที่ยว 40 ล้านคน อนาคตก็จะยากหากจะกลับไปจำนวนเท่าเดิม ซึ่งมีโอกาสยากมากขึ้น เพราะต้นทุนในการเดินทางจะสูงขึ้นเยอะ และมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นมาก และรูปแบบการท่องเที่ยวแบบเดิมก็สร้างปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ กำลังการผลิตในส่วนของท่องเที่ยวก็จะมีเหลือเยอะ เช่น โรงแรม ฉะนั้น ต้องคิดในเรื่องการปรับเปลี่ยน ให้ทรัพยากรไปใช้ในเรื่องใหม่ๆ ด้วย" ทั้งนี้มองว่าในโลกที่ผ่านมาก็เป็นVUCAมากขึ้น โดยเฉพาะวิกฤติโควิดที่ทำให้เกิดความไม่แน่นอนกระทบวงกว้างของโลก แต่ในระยะข้างหน้าจะยิ่งมีความเป็นVUCAมากขึ้น ในการตั้งรับและเตรียมพร้อม การเปลี่ยนแปลงจะมากรุนแรงกว่าเดิม และซับซ้อน ไม่แน่นอน เราต้องมีภูมิคุ้มกันที่ดี และต้องมีความคิดฉากทัศน์หลายๆฉากทัศน์ เพราะมีความคลุมเคลือมาก สำหรับแผนพัฒนาฯฉบับที่ 13 ไทยจะต้องเร่งแก้ไข 7 ข้อหลักให้ได้ เพื่อหลีกหนีจากจุดTipping Pointซึ่งถือเป็นจุดหักเห หรือ อันตราย และหากปล่อยไว้ให้สถานการณ์ไหลลงไปเรื่อง จะยากที่จะนำกลับมาเหมือนเดิม และผลกระทบก็จะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นและกระจายเป็นวงกว้าง โดย 7 ข้อที่ต้องเร่งแก้ คือ1.ขนาดของภาครัฐ ที่มีขนาดใหญ่มากขึ้น ซึ่งภาคราชการ มีจำนวนหน่วยงาน เจ้าหน้าที่ระดับสูงมากขึ้น ส่งผลให้งบประจำในงบประมาณ ซึ่งเป็นงบเงินเดือนอยู่ในระดับสูง ซึ่งถ้าปล่อยไว้ ก็จะทำให้เบียดบังงบอื่น และหากขนาดใหญ่โตการแก้ไขปัญหาจะยากมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดจุดTipping Pointได้ 2.แก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ การฟื้นตัว ที่ไม่เท่ากัน ที่จะได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวเศรษฐกิจเห็นเส้นแบ่งกันมากขึ้นในอนาคต ระหว่างคนรวยและคนจน เห็นเส้นแบ่งโอกาส เช่น ทางการศึกษาคนที่มีฐานะส่งไปนานาชาติ หรือ ตปท. แต่ก็ยังมีประชาชนที่ยังไม่มีโอกาสเข้าถึงการศึกษา ความสามารถในการแข่งขันเอสเอ็มอีทำได้อย่างเท่าทันส่งผลกระทบต่อรายได้เช่นกัน 3.ความสามารถในการแข่งขันของไทย ในหลายผลิตภัณฑ์ ที่ต้องระวังไม่ให้หลุดจากห่วงโซ่มูลค่า (Global Value Chain)เนื่องจากปัจจุบันไทยไม่ได้อยู่ในกรอบการค้าเสรีสำคัญของโลก โดยเฉพาะCPTPPที่กำลังเป็นที่สนใจของทั่ว โลก แม้ในช่วงก่อนหน้าจะมีหลายประเทศที่ยังไม่เข้าร่วมแต่ปัจจุบันมีท่าทีที่จะพิจารณาในเรื่องดังกล่าวยกเว้นไทยที่ยังไม่เห็นความชัดเจนในเรื่องนี้ ซึ่งจะทำให้เป็นปัญหาอย่างมาก เพราะในอนาคตหากประเทศไทยหลุดจากGlobal Value Chainจะทำให้ไทยไม่ได้รับการเป็นที่สนใจของนักลงทุนอีก 4.ความเห็นต่างของคนระหว่างรุ่น ซึ่งปัจจุบันพบว่า มีการขัดแย้งกันทางความคิด ดั่งนั้นจะทำ อย่างไรให้ความเห็นต่างของคนระหว่างรุ่น มีทางเบาบางลง ทำอย่างไรให้มองอนาคตประเทศร่วมกัน และมองเห็นจุดร่วมกันที่จะพัฒนาต่อยอด ของคนรุ่นใหม่และคนรุ่นเก่า ลดความขัดแย้งของคนในสังคม 5.คุณภาพของระบบการศึกษาไทย ที่จะต้องเร่งยกระดับให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 6.ความสามารถในการใช้ ประโยชน์จากเทคโน โลยีสมัยใหม่และ7.การแก้ปัญหาการคอรัปชั่น ซึ่งเป็นเรื่องที่มีการพูดถึงกันอย่างมาก แต่สถานการณ์คอร์รัปชั่นยังเป็นเรื่องที่มองว่ารุนแรงมากในประเทศไทย และมีหลายระดับมาก จะต้องไม่ทำให้คอร์รัปชั่นเป็นเรื่องปกติในสังคม ซึ่งจะส่งผลต่อคนเก่งไม่มีที่ยืน แข่งขันไม่ได้อย่างเป็นธรรม