เมื่อวันที่ 20 ก.ย.64 ที่่ผ่านมา ภาคีบุคลากรสาธารณสุข โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เพื่อแสดงจุดยืนคัดค้านการทำงานวิจัยการฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มในเด็กอายุ 3 ปีขึ้นไป ระบุว่า... “เด็กและเยาวชนไม่ใช่หนูทดลองวัคซีน” เครือข่ายบุคลากรทางการแพทย์ ขอแสดงจุดยืนคัดค้านการทำงานวิจัยการฉีดวัคซีน Sinopharm ในเด็กที่มีอายุ 3 ปีขึ้นไป เป็นที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่งเมื่อบริษัทที่ได้รับอนุญาตนำเข้าวัคซีน Sinopharm ยื่นขอขยายกลุ่มอายุผู้ใช้วัคซีนจาก 18 ปี เป็นตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป แต่สุดท้ายถูก อย. ปัดตก ประกอบกับในโลกออนไลน์มีการแชร์ภาพแบบฟอร์มยินยอมผู้ปกครองในการให้บุตรหลาน (อายุ 10-18 ปี) ในความดูแลเข้าร่วมโครงการวิจัยความปลอดภัยของวัคซีน Sinopharm คำถามที่ต้องถามกลับไปยังราชวิทยาลัยคือ งานวิจัยนี้ผ่านการขอจริยธรรมงานวิจัย (IRB) แล้วหรือไม่ และหากผ่านคณะกรรมการจริยธรรมแล้ว ใช้เกณฑ์อะไรในการรับรองความปลอดภัยของ Sinopharm ในเด็กที่มีอายุระหว่าง 10-18 ปี ทั้ง ๆที่เพิ่งมีผลการวิจัย Phase 2 ไปในกลุ่มเด็กที่มีอายุ 3-17 ปี จำนวน 720 คนเท่านั้น !!! หรือแท้ที่จริงแล้วเป็นเพียงละครฉากใหญ่เพื่อระบายวัคซีนคงค้างเพื่อเคลียร์ที่ว่างให้กับวัคซีน Moderna ที่เพิ่งเซ็นสัญญานำเข้า ? เมื่อย้อนรอยดูวาทกรรม “ด้อยค่าวัคซีน” ของคนบางกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Stakeholder ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับวัคซีน Sinopharm จะเห็นได้ว่า มีความพยายามอย่างยิ่งที่จะกล่อมประสาทประชาชนด้วยวาทกรรม “ประสิทธิภาพวัคซีนเป็นเรื่องไร้สาระ” รวมไปถึงความพยายามชี้ให้เห็นถึง Adverse effect ของวัคซีน mRNA อย่างน่าประหลาดใจ สวนทางกับคำแนะนำของ CDC ที่แนะนำให้เด็กที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปรับวัคซีน Pfizer ซึ่งข้อมูลล่าสุด (21 กันยายน 2564) ผลการวิจัย Phase 2/3 ของวัคซีน Pfizer ในเด็กอายุ 5 – 11 ปี จำนวน 2,268 คนพบว่ามีประสิทธิภาพดี และไม่มีรายงานกล้ามเนื้อเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้มีคุณธรรมสูงส่งที่เคลมตัวเองว่าเป็นหน่วยงานวิจัยระดับโลกจะมีสามัญสำนึกมากพอในการทำการวิจัยในเด็กผู้เป็นอนาคตของชาติ อย่าหากินอยู่บนความลำบากและความกลัวตายของประชาชน เพราะถ้ายังดื้อด้านฉีดวัคซีนเชื้อตายต่อไป #เมืองไทยพังแน่