ที่โรงแรมรามาการ์เดนส์ เมื่อเวลา 13.40 น. วันที่ 18 ธ.ค. 60 พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา เสด็จพระพระดำเนิน ไปทรงเปิดงานสัมมนาทางวิชาการ หัวข้อ “การลงโทษทางอาญากับหลักสิทธิมนุษยชน” จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศส ประจำประเทศ ไทย กระทรวงยุติธรรม สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย และมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชน ในการนี้ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ทรงมีพระราชดำรัสว่า ข้าพระเจ้ามีความรู้สึกยินดี ที่ได้มาในพิธิเปิดการสัมมนาทางวิชาการ หัวข้อ การลงโทษทางอาญากับหลักสิทธิมนุษยชน ที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทยและกลุ่มสิทธิมนุษยชนและกลุ่มการพัฒนาได้ร่วมกันจัดขึ้น เพื่อผลักดันข้อเสนอแนะมาตราการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมตลอดทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฏหมาย กฏระเบียบ หรือคำสั่งใดฯเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการลงโทษทางอาญากับหลักสิทธิมนุษยชนและเพื่อส่งเสริมควรมรู้ความเข้าใจด้านสิทธิมนุษยชนให้หน่วยงานที่บังคับใช้กฏหมายตระหนักถึงความสำคัญของหลักสิทธิมนุษยชน ตามที่ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้กล่าวรายงาน ในโอกาสนี้ ขอให้คณะผู้ร่วมจัดงาน เจ้าหน้าที่ผู้ร่วมปฏิบัติงานและผู้ที่อยู่ในที่นี้ ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานที่ปฏิบัติร่วมกันและมีความเจริญก้าวหน้าในส่วนตัวทุกท่าน ขอให้การสัมมนาประสบความสำเร็จบรรลุตามวัดถุประสงค์ ที่ตั้งใจไว้ ทุกประการ ด้านศาสตาจารย์พิเศษ กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ อดีตปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวปาฐกถา ตอนหนึ่ง ว่า เรื่องสิทธิเป็นเรื่องทางร่างกาย ดังนั้นการใช้กฏหมายอาญา ต้องคำนึงถึงผลกระทบในสิทธิขั้นพื้นฐานและเจตนา เป็นสำคัญ ซึ่งการลงโทษที่รุนแรง และเด็ดขาด จึงไม่ใช้การแก้ไขปัญหาที่แท้จริง แต่จะเกิดปัญหา และผลกระทบอีกมากมาย โดยผลการใช้โทษที่รุนแรงเห็นได้ชัด คือการประกาศสงครามยาเสพติดและพบว่าไทยมีผู้ต้องขังกว่า 3.1แสนคน มากเป็นลำดับที่ 6 ของโลกและเป็นอันดับ 1 ของเอเชียดังนั้นการประกาศใช้โทษรุนแรง อาจไม่ใช่คำตอบ แต่กลับเป็นปัญหาต่อเนื่องเรื้อรังและแก้ไม่ได้