"ศักดิ์สยาม" นั่งหัวโต๊ะ ประชุม  กบร. เตรียมความพร้อมนโยบายเปิดประเทศ120 วันของนายกรัฐมนตรี พร้อมมุ่งสู่การบริหารจัดการข่าวสารการบินตามมาตรฐานสากล และเร่งรัดการออกใบอนุญาตโดรน วันที่ 16 ก.ย.64 ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการการบินพลเรือน (กบร.) ครั้งที่ 9/2564 นําโดยนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานกรรมการการบินพลเรือน (กบร.)เปิดเผยว่า ที่ประชุม กบร. ได้พิจารณาการเตรียมความพร้อมตามนโยบายเปิดประเทศใน 120 วัน โดยประธาน กบร. ได้มอบนโยบายให้สํานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมการรองรับนโยบายการ เปิดประเทศใน 120 วันของรัฐบาล ซึ่งในเดือนตุลาคม 2564 ถือเป็นการเปิดครั้งใหญ่ที่สุดทั้งเฟส 2 และเฟส 3 รวม 26 จังหวัด ทั้งนี้ เพื่อเป็นการรองรับการท่องเที่ยวทั้งของคนไทยและต่างชาติกระจายไปยังทุกภูมิภาคของประเทศ ประกอบกับเข้าสู่ฤดูกาล ท่องเที่ยว (High Season) อีกด้วย โดยให้นําบทเรียนจากโครงการแซนด์บ็อกซ์ที่เปิดก่อนหน้ามาปรับปรุงแก้ไขและ เร่งดําเนินการตามนโยบายการบินวิถีใหม่ (New Norma) ที่จะมีการนําเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาใช้ในกิจการการบินให้ สามารถนํามาเริ่มใช้ได้โดยเร็ว ขณะเดียวกัน ประธาน กบร. ยังได้มอบนโยบายให้ CAAT เป็นศูนย์กลางดําเนินการร่วมกับกระทรวงคมนาคม ในการประสานงานและเตรียมการเพื่อให้บุคลากรทางการบินซึ่งปฏิบัติงานสัมผัสใกล้ชิดโดยตรงกับผู้โดยสาร ได้รับการ ฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 เพื่อให้มีความพร้อมสําหรับการปฏิบัติการบิน โดยเฉพาะในช่วงการเปิดประเทศในเดือนตุลาคมนี้ด้วย นอกจากนี้ ยังได้ประชุมติดตามผลการดําเนินงาน โดยเฉพาะประเด็นด้านการพัฒนาการบริหารข่าวสารการบินของประเทศไทยไปสู่มาตรฐานสากล และเร่งรัด CAAT พิจารณาอนุญาตโดรนขนาดใหญ่ให้บินได้อย่างถูกกฎหมาย โดยการติดตามความคืบหน้าการพัฒนางานด้านการบริหารข่าวสารการบินของประเทศไทยนั้น เพื่อให้ไปสู่ระบบมาตรฐานสากล โดยพัฒนาระบบบริการข่าวสารการบินไปสู่การบริหารข่าวสารการบินแบบดิจิทัล ทั้งนี้ เพื่อต่อยอดการพัฒนาสําหรับการเชื่อมต่อกับ SWIM หรือ System Wide Information Management ซึ่งเป็นโครงข่ายอินเทอร์เน็ตการบินของโลกที่มีการบริหารจัดการข่าวสารการบินทั้งระบบ ที่จะทําให้เกิด การแลกเปลี่ยนข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ สามารถรองรับการเติบโตของการขนส่งทางอากาศที่เพิ่มมากขึ้นได้ใน อนาคต และเชื่อมโยงระบบการบริหารข่าวสารการบินตามมาตรฐานสากลซึ่งสอดคล้องกับแผนการเดินอากาศ สากลของ ICAO และของภูมิภาค ประธาน กบร. ยังได้ติดตามความคืบหน้าการพัฒนางานด้านการบริหารข่าวสารการบินของประเทศไทย ให้ไปสู่ระบบมาตรฐานสากล โดยพัฒนาระบบบริการข่าวสารการบินไปสู่การบริหารข่าวสารการบินแบบดิจิทัล เพื่อต่อยอดการพัฒนาสําหรับการเชื่อมต่อกับ SWIM หรือ System Wide Information Management ซึ่งเป็นโครงข่ายอินเทอร์เน็ตการบินของโลกที่มีการบริหารจัดการข่าวสารการบินทั้งระบบ ที่จะทําให้เกิด การแลกเปลี่ยนข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ สามารถรองรับการเติบโตของการขนส่งทางอากาศที่เพิ่มมากขึ้นได้ใน อนาคต และเชื่อมโยงระบบการบริหารข่าวสารการบินตามมาตรฐานสากลซึ่งสอดคล้องกับแผนการเดินอากาศ สากลของ ICAO และของภูมิภาค สำหรับความคืบหน้าล่าสุด CAAT ได้จัดทําแผนดําเนินการพัฒนางานด้านการบริหารข่าวสารการบิน (Aeronautical Information Management: AIM) และเสนอต่อ กบร. ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุม เรียบร้อยแล้ว แต่ที่ประชุมเน้นย้ำให้ดําเนินการตามระเบียบ กฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี พร้อมทั้งศึกษาตัวอย่าง จากประเทศอื่นเป็นต้นแบบ เช่น สิงคโปร์ รวมถึงเร่งรัตกรอบการดําเนินการ โดย CAAT รับข้อสั่งการไป ดําเนินการตามแผนให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล มีหลักเกณฑ์ เงื่อนไขที่ครบถ้วน โดยการดำเนินการดังกล่าว เพื่อให้การบริการข่าวสาร การบินของประเทศดําเนินต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อเปิดให้มีนิติบุคคลทําหน้าที่เป็นผู้ให้บริการ ข่าวสารการบิน (AIS Provider) แทน CAAT โดยหลังจากนี้ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 ถึงเดือนมีนาคม 2565 CAAT จะดําเนินการตามแผนฯ รวมถึงตรวจสอบออกใบรับรองให้นิติบุคคลเป็น AIS Provider แทน คาดว่าในกลางปีหน้าประมาณเดือนมิถุนายน 2565 CAAT จะสามารถส่งมอบ/ถ่ายโอนงานให้นิติบุคคล ดําเนินงานได้ โดยตั้งเป้าหมายการพัฒนาต่อไปสู่การบริหารจัดการข่าวสารการบินทั้งระบบ (SWIM) ในปี 2567 ส่วนการพิจารณาอนุญาตโดรน กบร.ให้ CAAT เร่งรัดแก้ไขกฎระเบียบการอนุญาตโดรนขนาดใหญ่ (น้ําหนักเกิน 25 กิโลกรัมขึ้นไป) ที่มีวัตถุประสงค์การใช้งานเพื่อการเกษตร ซึ่งก่อนหน้านี้มีผู้ยื่นขออนุญาตเข้ามาเป็นจํานวนมาก ภายในเดือนนี้ CAAT จะทยอยขอความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้ผู้ยื่นขออนุญาตที่มี ความพร้อมสามารถใช้โดรนเพื่อการเกษตรได้อย่างถูกกฎหมายภายในเดือนตุลาคม 2564 ขณะที่ โดรนที่มีน้ําหนักไม่เกิน 25 กิโลกรัม ที่ประชุมได้รับรายงานว่า CAAT ปัจจุบันไม่มีคําขออนุญาต คงค้างเป็นจํานวนมากและใช้เวลาเกินกว่าที่กําหนดแล้วตามนโยบาย Set Zero โดยสามารถทยอยขึ้นทะเบียน ได้ตามขั้นตอนและกรอบเวลาที่กําหนดตามปกติ ประธาน กบร. ยังได้แสดงความห่วงใยต่อการอยู่รอดของสายการบินสัญชาติไทย ซึ่งประสบปัญหาวิกฤต มาอย่างต่อเนื่อง จึงให้ CAAT เร่งรัดดําเนินการเพื่อให้มีข้อมูลวิเคราะห์เชิงลึกถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจมหภาคและ การสูญเสียความสามารถด้านกิจการการบินของประเทศ โดยเฉพาะเมื่อสถานการณ์กลับมาเป็นปกติซึ่งคาดว่าจะอยู่ ในช่วงปี 2568 เป็นต้นไป เพื่อเสนอข้อมูลต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความช่วยเหลือสายการบินให้ได้รับเงินกู้ ดอกเบี้ยต่ำ(Soft Loan) โดยเร็ว ที่ประชุม กบร. ยังเน้นย้ำให้ CAAT เร่งรัดดําเนินการแก้ไขข้อบกพร่องที่ได้รับจากการตรวจประเมิน ตามโครงการยกระดับมาตรฐานการกํากับดูแลด้านความปลอดภัยตามการประเมินความปลอดภัยการบิน ระหว่างประเทศ (IASA: International Aviation Safety Assessment) ขององค์การบริหารการบิน แห่งสหรัฐอเมริกา (FAA) โดยมีเป้าหมายเดิมคือเพื่อยกระดับประเทศไทยกลับคืนสู่ Category 1 ภายในปี 2564 การกลับสู่ Category 1 จะทําให้ไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่ระบบการกํากับดูแลความปลอดภัย การบินพลเรือนเป็นไปตามมาตรฐานของ FAA IASA ซึ่งจะส่งผลดีให้สายการบินของไทยบินตรงไปยังสหรัฐฯ ได้ และทําการบินร่วมได้ตามปกติ (Code Sharing) รวมถึงยังจะส่งผลต่อการขอเพิ่มจํานวนเที่ยวบินจากไทย ไปยังประเทศอื่นที่ยึดถือผลประเมินของ FAA ด้วย เช่น เกาหลีใต้ เป็นต้น