ด้วยรายงาน Changing Traveller Report 2021 จาก SiteMinder (ไซต์มายเดอร์) ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากกว่า 850 คน ของนักท่องเที่ยวในประเทศไทย พบว่า กว่า 60% วางแผนที่จะเดินทางท่องเที่ยวในช่วงปีที่จะถึงนี้ ซึ่งจากสถิติดังกล่าว ทำให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของนักท่องเที่ยวชาวไทย ไม่ว่าจะเป็น ความต้องการที่มากขึ้น รวมไปถึงความคาดหวังต่อสถานที่ที่จะเลือกเข้าพักที่เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ปลอดภัย และเข้าถึงได้ง่าย ซึ่ง นายแบรดลีย์ ไฮนส์ รองประธานฝ่ายภูมิภาค เอเชียแปซิฟิค ของ SiteMinder กล่าวว่า ผลสำรวจในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงช่วงเวลาที่สำคัญสำหรับผู้ประกอบการโรงแรม ในการพัฒนาข้อเสนอต่างๆ ให้ตรงกับความความต้องการของนักท่องเที่ยว และพัฒนาการทำงานเพื่อให้ตอบสนองต่อมาตรฐานที่สูงขึ้นสำหรับผู้เข้าพักในอนาคต อีกทั้งยังช่วยสร้างความมั่นใจให้กับทางโรงแรมที่ได้รับรู้ถึงระดับความต้องการท่องเที่ยวที่ยังมีอยู่ของนักเดินทางภายในประเทศด้วย ขณะที่ เรื่องสุขภาพและความปลอดภัยของที่พัก ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทยในการตัดสินใจเลือกสถานที่เข้าพัก ตามมาด้วยปัจจัยด้านความสามารถในการปรับตัวของที่พักให้มีการสัมผัสน้อยที่สุด ทั้งนี้เมื่อทำการเลือกจองที่พัก 53% ของนักท่องเที่ยวชาวไทย วางแผนที่จะจองที่พักโดยตรงกับสถานที่นั้นๆ โดยกว่า 40% จะเลือกจองโดยตรงผ่านระบบออนไลน์ของที่พัก และอีก 12% จะเลือกจองโดยตรงผ่านการโทรศัพท์หรืออีเมล์ และอีก 24% ตัดสินใจจองที่พักผ่านตัวแทนบริษัทท่องเที่ยว มีโปรโมชั่นดึงดูดให้เข้าพัก โดย นายแบรดลีย์ กล่าวว่า จากฐานข้อมูลดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า กลุ่มผู้เข้าพัก กำลังมองหาช่องทางที่จะสามารถติดต่อสื่อสารกับสถานที่พักได้ใกล้ชิดมากขึ้น ซึ่งเว็บไซด์ของทางโรงแรมควรมีข้อมูลที่เพียงพอ และตรงกับปัจจุบัน รวมไปถึงมีโปรโมชั่นที่ดึงดูดใจ หรือราคาพิเศษสำหรับการจองโดยตรงกับที่พัก และทางโรงแรมควรแน่ใจได้ว่า แขกผู้เข้าพักนั้น จะสามารถทำการจองได้อย่างง่าย ปลอดภัย อีกทั้งสะดวกต่อการใช้งานบนโทรศัพท์มือถือ เพื่อยกระดับประสบการณ์ของแขกผู้เข้าพัก ให้มีความประทับใจมากยิ่งขึ้น อีกหนึ่งประเด็นที่มีความน่าสนใจ คือ กว่าครึ่งของนักท่องเที่ยวชาวไทย วางแผนจะทำงานไปด้วยระหว่างการเดินทางท่องเที่ยวพักผ่อน โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มที่มีความตั้งใจแน่นอนประมาณ 19.74% และ กลุ่มที่มีแนวโน้มที่จะทำ ประมาณ 31.26% ดังนั้น ทางผู้ประกอบการโรงแรมจึงควรเตรียมพร้อม เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้เช่นกัน เลือกไปเที่ยวในสถานที่ใหม่ ด้านข้อมูลจาก อโกด้า ยังระบุ ว่า คนไทยเลือกไปท่องเที่ยวสถานที่ใหม่ ๆ ในประเทศมากขึ้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โดยจังหวัดกาญจนบุรี เลื่อนขึ้นมาอยู่ใน 10 ลำดับแรก เขาหลัก กระโดดขึ้นมาถึง 23 อันดับ สู่อันดับที่ 22 ซึ่งจากข้อมูลการจองห้องพักในประเทศของคนไทยในช่วงสองปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ เดือนมิถุนายน 2562 – เดือนมิถุนายน 2563 เทียบกับเดือนมิถุนายน 2563 – เดือนมิถุนายน 2564 กรุงเทพฯ มาเป็นอันดับ 1 พัทยา อันดับ 2 และเชียงใหม่ อันดับ 3 ยังเป็นจุดหมายปลายทางที่มีคนจองห้องพักมากที่สุด 3 อันดับแรก แต่คนไทยก็เลือกไปท่องเที่ยวจุดหมายปลายทางอื่นที่ยังไม่ค่อยเป็นที่นิยมด้วยเช่นกัน ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ทำให้คนไทยหันมาท่องเที่ยวในประเทศ และมองหาจุดหมายปลายทางที่ยังไม่ค่อยมีคนรู้จักมากขึ้น โดย อโกด้าเปรียบเทียบข้อมูลการจองห้องพักเพื่อหาเทรนด์ของจุดหมายปลายทาง พบว่า เขาหลัก จากที่อยู่อันดับ22 นครนายก อันดับ 46 และสุโขทัย อันดับ 30 ต่างขยับขึ้นมาสูงถึง 23, 15 และ 14 อันดับตามลำดับ จุดหมายปลายทางเหล่านี้อาจจะ(ยัง)ไม่อยู่ใน 10 ลำดับจุดหมายปลายทางในประเทศยอดนิยมที่มีคนจองห้องพักมากที่สุด แต่ก็สังเกตได้ว่าคนไทยมีความต้องการค้นหาประสบการณ์ในประเทศใหม่ ๆ นอกจากนี้นครศรีธรรมราช จากอันดับ 20 เลื่อนขึ้นมาเป็นอันดับ 12 และเกาะช้าง จากอันดับ 23 มาเป็นอันดับ 18 ยังเลื่อนขึ้นมาอยู่ใน 20 อันดับแรก รวมทั้งยังมีข้อมูลที่เป็นจุดหมายใหม่ที่คนไทยสนใจ โดยในช่วงปีที่ผ่านมา เมื่อการท่องเที่ยวในประเทศได้รับความนิยมมากขึ้น นักท่องเที่ยวชาวไทยก็ออกเดินทางกันมากตามไปด้วย และเห็นได้ว่าจุดหมายปลายทางอย่างเกาะกูด มาอยู่ในอันดับ 44 นครนายก อันดับ 46) ลพบุรี อันดับ 49 และเลย อันดับ 50 ขณะที่ข้อมูลจากอโกด้า ยังระบุถึง 10 ลำดับจุดหมายปลายทางในประเทศยอดนิยมปี 2564 ระหว่างเดือนมิถุนายน 2563 ถึงเดือนมิถุนายน 2564 ภูเก็ต และชลบุรีตกลงไปหนึ่งอันดับ ในขณะเดียวกันจุดหมายปลายทางที่แปลกใหม่ อย่างกาญจนบุรี ก็ขึ้นมาทำให้เชียงรายต้องหลุดจาก 10 ลำดับแรกในปี 2564 โดยรวมแล้ว 10 จุดหมายปลายทางยอดนิยมยังประกอบไปด้วยเมืองท่องเที่ยว รวมถึงจุดหมายปลายทางประเภทชายหาด และชายฝั่งที่มีชื่อเสียง ในทางกลับกัน จุดหมายปลายทางที่ได้รับความนิยมน้อยลงมาก ได้แก่เกาะพีพี เกาะพะงัน เกาะเต่า เกาะลันตา และปาย โดยแต่ละแห่งตกลงไปมากกว่า 10 อันดับในการจัดลำดับ