การประชุมเผยแพร่ผลการศึกษาการใช้คู่มือการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกระดับประเทศ ฉบับเพิ่มเติมปี ค.ศ. 2019 refinement ภายใต้โครงการวิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำข้อเสนอแนะเชิงวิชาการจากรายงานฉบับพิเศษของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากา สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) โดยกองประสานการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (กปอ.) จัดการประชุมเผยแพร่ผลการศึกษาการใช้คู่มือการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกระดับประเทศ ฉบับเพิ่มเติมปี ค.ศ. 2019 refinement ภายใต้โครงการวิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำข้อเสนอแนะเชิงวิชาการจากรายงานฉบับพิเศษของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เมื่อวันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม 2564 เวลา 09.30 น. ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Application Zoom) โดย ดร.ณัฏฐนิช อัศวภูษิตกุล ผู้อำนวยการกองประสานการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุม ต่อจากนั้น เป็นการนำเสนอผลการศึกษาข้อมูลกิจกรรมของคู่มือการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกระดับประเทศฉบับเพิ่มเติมปี ค.ศ. 2019 และคู่มือการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกระดับประเทศปี ค.ศ. 2006 รวมถึงข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปรับปรุงการใช้คู่มือการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกระดับประเทศฉบับเพิ่มเติมปี ค.ศ. 2019 ของประเทศ การประชุมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมการประชุม ประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ สถาบันการศึกษา และเจ้าหน้าที่ สผ. รวมทั้งสิ้น 140 คน ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาที่ท้าทายและส่งผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมในระดับโลก ซึ่งมีสาเหตุสำคัญมาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของมนุษย์ที่สูงขึ้นมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม อาทิเช่น การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล กระบวนการอุตสาหกรรมบางประเภท การตัดไม้ทำลายป่า การเลี้ยงสัตว์ การใส่ปุ๋ยในพื้นที่เพาะปลูก และการทิ้งขยะมูลฝอยและน้ำเสีย ทำให้ก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศที่มีคุณสมบัติในการดูดซับและปลดปล่อยรังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์ มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนและปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังเช่นในเดือนที่ผ่านมาเราได้เห็นน้ำท่วมใหญ่ทั้งในประเทศจีน สหภาพยุโรป และฟิลิปปินส์ ประเทศไทยในฐานะรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ได้ ขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมาอย่างต่อเนื่อง และมีพันธกรณีที่จะต้องรายงานบัญชีก๊าซเรือนกระจกตามคู่มือของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสำหรับการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกในระดับประเทศ (IPCC Guidelines of National Greenhouse Gas Inventories) ซึ่งการรายงานข้อมูลบัญชีก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยในปัจจุบัน สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้จัดทำและเสนอรายงานความก้าวหน้ารายสองปี ฉบับที่ 3 (Third Biennial Update Report: TBUR) ต่อสำนักเลขาธิการของ UNFCCC ซึ่งเป็นรายงานการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกฉบับล่าสุด โดยใช้การคำนวณตามคู่มือการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกระดับประเทศฉบับปี ค.ศ. 2006 ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2559 นับจากคู่มือการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกระดับประเทศฉบับปี ค.ศ. 2006 ที่ได้รับการปรับปรุงจากคู่มือการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกระดับประเทศฉบับปรับปรุงปี ค.ศ. 1996 เพื่อการรายงานปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากแหล่งกำเนิดและการกักเก็บจากแหล่งดูดซับของแต่ละประเทศ สำหรับนำไปวิเคราะห์และหาแนวทางให้ทุกประเทศร่วมมือกันลดปริมาณการสะสมของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศโลก และแก้ไขปัญหาด้านผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ที่ประชุมคณะกรรมการ IPCC สมัยที่ 44 ณ กรุงเทพฯ ประเทศไทย ได้มีมติให้ปรับปรุงวิธีการคำนวณในคู่มือฉบับปี ค.ศ. 2006 ให้สมบูรณ์และเป็นปัจจุบันบนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น บทสรุปจึงออกมาเป็นคู่มือฉบับปี ค.ศ. 2019 ซึ่งต่อมามติของการประชุมคณะกรรมการ IPCC สมัยที่ 49 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ได้เห็นชอบต่อคู่มือฉบับปี ค.ศ. 2019 นี้ ร่วมกับคู่มือฉบับปี ค.ศ. 2006 (2019 Refinement to the 2006 IPCC Guidelines for National Greenhouse Gas Inventories) โดย IPCC มีการเผยแพร่เมื่อ ปี ค.ศ. 2019 กรอบเวลาการพัฒนาคู่มือการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกระดับประเทศของ IPCC สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) จึงดำเนินการตามพันธกรณีกรอบอนุสัญญาฯ UNFCCC โดยศึกษาและวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างคู่มือการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกระดับประเทศทั้งสองฉบับในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ หมวดหมู่การรายงาน วิธีการคำนวณ ข้อมูลกิจกรรม และค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงการวิเคราะห์ช่องว่างของข้อมูล และนำมาหารือร่วมกับหน่วยงานของประเทศซึ่งมาจากกระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องตามกรอบการดำเนินงานที่มีอยู่เดิมภายใต้โครงสร้างเชิงสถาบันในการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย และหน่วยงานใหม่ที่จำเป็นต้องจัดเก็บข้อมูลเพิ่มเติม ก่อนจะนำผลลัพธ์ที่ได้มาสรุปผลเพื่อเผยแพร่ผลการศึกษาการใช้คู่มือการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกระดับประเทศฉบับเพิ่มเติมปี ค.ศ. 2019 (IPCC 2019 refinement) ผลการศึกษาการใช้คู่มือการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกระดับประเทศฉบับเพิ่มเติมปี ค.ศ. 2019 จากการวิเคราะห์คู่มือฉบับปี ค.ศ. 2019 และฉบับปี ค.ศ. 2006 ซึ่งประกอบด้วย 5 ภาคส่วน คือ ภาคพลังงาน ภาคกระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ ภาคเกษตร ภาคของเสีย และภาคการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและ ภาคป่าไม้ พบว่ามีความแตกต่างที่น่าสนใจ กล่าวคือ มีหมวดหมู่เพิ่มเติมขึ้นมาในภาคพลังงาน เช่นเดียวกับภาคกระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อให้คู่มือมีการรายงานที่ครอบคลุม ทันสมัยและมีความเป็นสากลยิ่งขึ้น ภาคพลังงาน ภาคพลังงาน หมวดหมู่ที่เพิ่มขึ้น 8 หมวดหมู่ ได้แก่ (1) การสำรวจถ่านหิน (2) การผลิตถ่านและถ่านชีวภาพ (3) การผลิตถ่านโค้ก (4) การผลิตเชื้อเพลิงแข็งด้วยเชื้อเพลิงแข็ง (5) การแปรสภาพเป็นแก๊ส (6) บ่อน้ำมันทิ้งร้าง (7) การปล่อยจาก Post-Meter และ (8) บ่อก๊าซทิ้งร้าง ภาคกระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ ภาคกระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ มีหมวดหมู่ที่เพิ่มขึ้น 4 หมวดหมู่ ได้แก่ (1) การผลิตไฮโดรเจน (2) การผลิตแร่แรร์เอิร์ธ (3) ระบบไฟฟ้าเครื่องกลจุลภาค และ (4) การใช้ SF6 และ PFC ในผลิตภัณฑ์อื่น ในภาคนี้ส่วนใหญ่ไม่ต้องรายงานการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกเพิ่มเติม เนื่องจากในบ้านเรายังไม่มีกระบวนการผลิตที่ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิตต้นน้ำ ในขณะที่ ภาคเกษตร ภาคการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและภาคป่าไม้และภาคของเสีย ไม่มีการปรับเปลี่ยนหมวดหมู่เพิ่มเติม แต่มีการปรับปรุงวิธีการคำนวณและข้อมูลกิจกรรมที่ต้องจัดเก็บเพิ่มเติม ของหมวดหมู่ในแต่ละภาค ภาคเกษตร ภาคเกษตร ได้แก่ (1) การหมักในระบบย่อยอาหารสัตว์ (2) การจัดการมูลสัตว์(3) การเผาชีวมวลในพื้นที่เพาะปลูก (4) การปล่อยก๊าซไนตรัสออกไซด์ทางตรงจากดินที่มีการจัดการ (5) การปล่อยก๊าซไนตรัสออกไซด์ทางอ้อมจากดินที่มีการจัดการ (6) การปล่อยก๊าซไนตรัสออกไซด์ทางอ้อมจากการจัดการมูลสัตว์และ (7) การปลูกข้าว ภาคการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและภาคป่าไม้ ภาคการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและภาคป่าไม้ ได้แก่ (1) พื้นที่ป่าไม้ยังคงเป็นพื้นที่ป่าไม้ (2) พื้นที่ดินเปลี่ยนเป็นพื้นที่ป่าไม้(3) พื้นที่เพาะปลูกยังคงเป็นพื้นที่เพาะปลูก (4) พื้นที่ดิน เปลี่ยนเป็นพื้นที่เพาะปลูก (5) พื้นที่ทุ่งหญ้ายังคงเป็นพื้นที่ทุ่งหญ้า (6) พื้นที่ดินเปลี่ยนเป็นพื้นที่ทุ่งหญ้า (7) พื้นที่น้ำท่วมขังยังคงเป็นพื้นที่น้ำท่วมขัง (8) พื้นที่ดินเปลี่ยนเป็นพื้นที่น้ำท่วมขัง และ (9) ผลิตภัณฑ์ไม ภาคของเสีย ภาคของเสีย ได้แก่ (1) พื้นที่กำจัดขยะมูลฝอยที่มีการจัดการดี (2) พื้นที่กำจัดขยะมูลฝอยที่มีการจัดการไม่ดี(3) พื้นที่กำจัดขยะมูลฝอยที่ไม่สามารถระบุวิธีการจัดการได้(4) การเผาในเตาเผา (5) การเผากลางแจ้ง (6) การบำบัดน้ำเสียชุมชนและการระบายทิ้ง และ (7) การบำบัดน้ำเสียอุตสาหกรรมและการระบายทิ้ง นอกเหนือจากผลการวิเคราะห์ความแตกต่างในบริบทของการดำเนินงานของประเทศแล้ว สผ. ก็ยังพบข้อจำกัดในบางประการ อาทิเช่น ความสมบูรณ์ของข้อมูล ข้อมูลที่จำเป็นบางอย่างยังไม่อยู่ในขอบเขตตามภารกิจของหน่วยงาน อาจเป็นไปได้ว่ายังมีข้อจำกัดด้านกฎระเบียบหรือกฎหมายบังคับในการรายงานข้อมูลกิจกรรม การเก็บข้อมูลกิจกรรมให้หน้า 4 สมบูรณ์ตามคู่มือ IPCC เป็นภารกิจที่ท้าทายอย่างมาก ซึ่งจำเป็นต้องบูรณาการความร่วมมือกันจากทุกฝ่ายในการหาทางออกร่วมกันเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการรายงานและรวบรวมข้อมูลกิจกรรมเพื่อจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกระดับประเทศตามคู่มือ IPCC 2019 refinement ได้ เราจึงมีแนวทางและข้อเสนอแนะเพื่อให้การเก็บข้อมูลสัมฤทธิ์ผลตามคู่มือ IPCC 2019 refinement ทั้ง 5 ภาคส่วน ดังนี้ ภาคพลังงาน หมวดหมู่การผลิตเชื้อเพลิงแข็งด้วยเชื้อเพลิงแข็ง ยังไม่มีค่าสัมประสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสม จึงขอเสนอแนะให้จัดตั้งคณะทำงานที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญเพื่อจัดทำค่า สัมประสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของหมวดหมู่นี้ โดยอาจทบทวนวรรณกรรมจากงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินวัฏจักรชีวิตของการผลิตเชื้อเพลิงชีวมวล และนำมาศึกษาและทดลองถึงค่าสัมประสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ภาคกระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ ในปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานทำหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลการผลิตไฮโดรเจน เนื่องจากไม่มีกฎหมายบังคับการรายงานข้อมูลจากโรงงานอุตสาหกรรม จึงเสนอแนะให้คณะทำงานการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกควรแต่งตั้งหน่วยงานสำหรับทำหน้าที่รวบรวมข้อมูล หรือเพิ่มเติมแบบฟอร์มการรายงานข้อมูลกิจกรรมจากโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อจัดเก็บข้อมูลสำหรับจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกระดับประเทศตามคู่มือ IPCC 2019 refinemen ภาคเกษตร มีการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมากในการประเมินกิจกรรมด้านปศุสัตว์สามารถกำหนดรูปแบบผลิตภาพจากข้อมูลและการเลี้ยงปศุสัตว์ที่มีข้อมูลอยู่ในปัจจุบันได้ผ่านข้อตกลง ร่วมกัน ตามค่าอ้างอิงแนะนำของคู่มือ IPCC โดยเฉพาะกรมปศุสัตว์ อีกทั้งกรมปศุสัตว์มีแผนดำเนินการเพื่อปรับปรุงข้อมูลประกอบในการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคปศุสัตว์ จึงอาจเพิ่มเติมข้อมูลที่ต้องการร่วมในการปรับปรุงนี้ด้วย ภาคการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและภาคป่าไม้การประเมินปริมาณคาร์บอนในแหล่งสะสมคาร์บอนในดิน ซึ่งมีข้อแนะนำที่เพิ่มเติมรายละเอียดและข้อแนะนำใหม่ในกลุ่มการใช้ประโยชน์ที่ดินต่าง ๆ สำหรับประเทศไทยยังไม่เคยมีการรายงาน หากต้องการเตรียมความพร้อมในการรายงานควรเริ่มในพื้นที่เพาะปลูกก่อนพื้นที่ประเภทอื่น เนื่องจากพื้นที่ประเภทอื่นมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างช้า ภาคของเสีย การบำบัดน้ำเสียชุมชนและการระบายทิ้ง มีการปรับเปลี่ยนและเพิ่มเติมวิธีการคำนวณค่อนข้างมาก โดยมีการพิจารณาสารอินทรีย์ที่อยู่ในรูปกากตะกอนซึ่งจำเป็นต้องทราบข้อมูลปริมาณ กากตะกอนจากการบำบัดน้ำเสียแบบใช้อากาศ ดังนั้น ควรมีการวางแผนจัดเก็บข้อมูลกิจกรรมและประสานงานกับหน่วยงานจัดเก็บข้อมูลเพื่อให้รับทราบถึงวัตถุประสงค์ของการรายงานข้อมูลที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีศักยภาพเพียงพอในการปรับปรุงการจัดเก็บข้อมูล และอาจมีบางหน่วยงานที่ต้องจัดเก็บข้อมูลกิจกรรมเพิ่มเติม ซึ่งภาครัฐอาจต้องหารือระหว่างหน่วยงานถึงความเป็นไปได้ในการจัดเก็บข้อมูลกิจกรรม เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลและนำมาซึ่งโอกาสสำคัญที่จะนำไปต่อเติมให้เห็นภาพการพัฒนาและการปรับปรุงการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกที่ชัดเจนยิ่งขึ้นในอนาคต