ศจย. ร่วมกับ แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาพันธ์เครือข่าย- แห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ และ สสส. เป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมบุหรี่หรือสุขภาพเอเชีย แปซิฟิก ครั้งที่ 13 หวังสร้างความตระหนักถึงพิษภัยยาสูบร้ายแรงกว่าโควิด 19 ระบุคนตายจากบุหรี่ ต่อปีมากกว่าโควิด 3-4 เท่า พร้อมออกปฏิญญาทั้งระดับปฏิบัติงานและกลุ่มเยาวชน เพื่อเสริมความ แข็งแกร่งของการควบคุมยาสูบระดับนานาชาติ ด้านนักวิชาการไทยและต่างประเทศตบเท้าเข้าร่วม กว่า 2,700 คน พร้อมงานวิจัยเกี่ยวกับยาสูบและสุขภาพอัพเดตล่าสุด กว่า 300 ผลงาน ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการวามรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) คณะ แพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ในฐานะ ประธานจัดงานประชุม 13th APACT 2021 Bangkok กล่าวถึงที่มา และความน่าสนใจของงานประชุมด้านยาสูบระดับนานาชาติในครั้งนี้ว่า งานประชุมบุหรี่หรือสุขภาพเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 13 หรือ 13th Asia Pacific Conference on Tobacco or Health (13th APACT 2021 Bangkok) ในปีนี้เป็นความร่วมมือ ระหว่าง ศจย. แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทย ปลอดบุหรี่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และอีก 12 องค์กรพันธมิตร ตกลงจัดงานประชุม ในลักษณะลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมแบบ Live Stream ระหว่างวันที่ 3-4 กันยายน 2564 เนื่องจากสถานการณ์โควิด 19 หวังสร้างสร้างความตระหนักถึงพิษภัยของยาสูบที่ร้ายแรงกว่าโรคระบาดอุบัติใหม่อย่างโควิด 19 เพราะจำนวนผู้ที่เสียชีวิต ทั่วโลกจากยาสูบต่อปีมากกว่าโควิด 19 ถึง 3-4 เท่า และบุหรี่ยังเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของโลก ในประเทศไทยเองบุหรี่เป็นสาเหตุอันดับหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาสุด้านขภาพ ศ.นพ.รณชัย  คงสกนธ์  ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการวามรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ในฐานะ ประธานจัดงานประชุม 13th APACT 2021 Bangkok ศ.นพ.รณชัย กล่าวต่ออีกว่า ภายในงาน 13th APACT 2021 Bangkok ยังมีงานประชุมวิชาการที่น่าสนใจอีก 2 งาน คือ การประชุมวิชาการ 100 ปี แพทยสมาคม หรือ Medical Association of Thailand 1921 – 2021 โดย แพทยสมาคม-แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ การประชุมวิชาการบุหรี่กับสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 19 หรือ TRC INTERNATIONAL CONFERENCE 2021 “Empowering Policy Implementation on Tobacco Control” โดย ศจย. ที่จะดำเนินไปพร้อมกัน โดยประชาชนทั่วไปที่สนใจ สามารถรับทราบข่าวสารงานประชุมได้ที่เว็บไซต์ www.apact2021.com “ขณะนี้มีผู้เชี่ยวชาญทั้งในประเทศไทยและระดับนานาชาติ ในฐานะภาคีเครือข่ายควบคุมการบริโภคยาสูบจาก ภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก ราว 2,700 คน จาก 40 ประเทศ ตอบรับเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อนให้สังคมปลอดบุหรี่ โดยเป็นคนไทยประมาณ 2,200 คน ต่างชาติ 500 กว่าคน มากที่สุดตั้งแต่จัด APACT มา ซึ่งในจำนวนนี้เป็นนักวิชาการ ด้านยาสูบโดยเฉพาะกว่า 120 คน นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยและผลงานวิชาการเกี่ยวกับความก้าวหน้าในการควบคุมยาสูบ และสุขภาพด้านต่างๆ อีก 300 กว่าชิ้น จาก 36 ประเทศ ที่จะมาอัพเดตให้ผู้ที่สนใจได้รับทราบ ไม่ว่าจะเป็นบุหรี่ และบุหรี่ไฟฟ้ากับโควิด 19 ที่มีงานวิจัยออกมาชัดเจนว่ามีความเกี่ยวข้องกัน นโยบายเพื่อหยุดการใช้ยาสูบ ผลกระทบการเก็บ ภาษีผลิตภัณฑ์ยาสูบและนิโคติน อนาคตการควบคุมยาสูบ รวมถึงกรณีเยาวชนในเอเชีย – แปซิฟิกจับมือออกปฏิญญา รณรงค์ต้านยาสูบ ซึ่งนับเป็น ปรากฏการณ์ใหม่ที่คนวัยใสหันมาสนใจเรื่องยาสูบและสุขภาพมากขึ้น” ประธานจัดงานประชุม 13th APACT 2021 Bangkok กล่าว ศ.ดร.นพ.ประกิตพันธุ์ ทมทิตชงค์ เลขาธิการแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในฐานะ เลขาธิการการประชุม APACT 2021 ศ.ดร.นพ.ประกิตพันธุ์ ทมทิตชงค์ เลขาธิการแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในฐานะ เลขาธิการการประชุม APACT 2021 กล่าวว่า งานประชุม 13th APACT 2021 Bangkok ได้ให้ความสำคัญกับกลุ่มเยาวชน ที่กำลังกลายเป็นเป้าหมายใหม่ของอุตสาหกรรมยาสูบ โดยจะมีการประชุมกลุ่ม Youth ในวันที่ 2 กันยายน 2564 ซึ่งวงประชุมที่จัดแยกออกมานี้ ก็เพื่อให้กลุ่มเยาวชนประกอบด้วยเยาวชนไทย 100 คน และเยาวชนจากเอเชีย-แปซิฟิก 73 คน ได้นำแผนงานรณรงค์ต้านยาสูบของตนมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเพื่อนเยาวชน และกลั่นออกมาเป็นข้อสรุปเพื่อใช้ออก ปฏิญญาต้านยาสูบสำหรับเยาวชนเอเชีย-แปซิฟิคโดยเฉพาะ เนื่องจากยาวชนในเอเชีย โดยเฉพาะเยาวชนไทยเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ เพราะยังมีความ เข้าใจผิดอยู่มากว่าบุหรี่ไฟฟ้าเป็นเรื่องปกติ ทั้งที่อันตรายและเสพติดได้ง่ายแต่เลิกยาก เราจึงต้องการสร้างความตระหนักรู้ ในตรงนี้ให้เข้มข้น เพราะจากงานวิจัยที่ทำอยู่ในเมืองไทยพบว่าระบบการควบคุมยาสูบสำหรับเยาวชนในประเทศ ยังไม่มี ประสิทธิภาพเพียงพอกับปัญหาที่เกิดขึ้น “ตอนนี้มีงานวิจัยออกมามากขึ้นพบว่า เยาวชนสหรัฐฯ มีอาการปอดอักเสบแบบป๊อบคอร์น หรือ EVALI ในช่วงปีครึ่ง ที่ผ่านมาเข้าโรงพยาบาลแล้วกว่า 2,700 คน เสียชีวิต 68 ราย และมีกรณีที่สูบแล้วระเบิดตัดหลอดลมเสียชีวิต ซึ่งถ้ารวมยอดผู้บาดเจ็บและพิการจากการระเบิดของบุหรี่ไฟฟ้าด้วย เท่ากับในสหรัฐฯ มีเยาวชนเสียชีวิตและพิการจากบุหรี่ ไฟฟ้าแล้วเกือบ 100 คน โดยอายุที่เริ่มสูบคือมัธยมศึกษาตอนต้น หรือประมาณ ม.2 ขณะที่เด็กไทยก็เกิดภาวะนี้ตามมา โดยเริ่มมีการแอดมิดจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้า เป็นภาวะปอดอักเสบ EVALI” เลขาธิการการประชุม APACT 2021 ให้ข้อมูลเพิ่มเติม ศ.ดร.นพ.ประกิตพันธุ์ กล่าวอีกว่า จะมีการติดตามปฏิญญาหลังประชุมเสร็จด้วยว่ามีความคืบหน้าหรือผลสำเร็จ อย่างไรในอีก 6 เดือนข้างหน้า โดยปฏิญญาเยาวชน ซึ่งเมื่อผนวกรวมกับปฏิญญาเครือข่ายทำงานสร้างเสริมสุขภาพของ สสส. และปฏิญญาของกลุ่มผู้ทำงานด้านยาสูบระดับชาติกว่า 900 องค์กรที่ทำงานร่วมกัน จะกลายเป็นปฏิญญา APACT 2021 ที่ช่วยเสริมความแข็งแกร่งของการควบคุมยาสูบระดับนานาชาติได้อย่างแท้จริง เพราะเป็นการทำงานจากรากหญ้าแล้วเห็น ปัญหา และออกมาสู่ระดับชาติที่ผลักดันไปสู่ระดับนานาชาติ ซึ่งเราคาดหวังว่าเยาวชนกลุ่มนี้จะกลายเป็นผู้นำกลุ่มเยาวชน อื่นๆ ในประเทศไทย ในอาเซียน และในระดับโลกในด้านการรณรงค์ต้านยาสูบต่อไป ผศ.ดร.นพ.วิชช์ เกษมทรัพย์ รองเลขาธิการเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพในเครือข่ายมหาวิทยาลัย อาเซียน และอาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ขณะที่ ผศ.ดร.นพ.วิชช์ เกษมทรัพย์ รองเลขาธิการเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพในเครือข่ายมหาวิทยาลัย อาเซียน และอาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ความร่วมมือระดับอาเซียนในการรณรงค์ต้านยาสูบที่จะเกิดขึ้นในการประชุม 13th APACT 2021 Bangkok ในส่วนของสถาบันอุดมศึกษา คือการจับมือของมหาวิทยาลัยชั้นนำในกลุ่มประเทศอาเซียนกว่า 30 สถาบัน ซึ่งเป็นเครือข่าย ASEAN University Network – Health Promotion Network ที่สร้างกรอบในการพัฒนามหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพ และยกประเด็นบุหรี่เป็นเรื่องสำคัญในลักษณะ Zero Tolerance คือไม่ให้มีบุหรี่ทั้งการสูบ การขาย ในเขตพื้นที่มหาวิทยาลัย ทั้งหมดในทุกระดับ ทั้งผู้บริหาร คณาจารย์ พนักงาน มหาวิทยาลัย และนิสิตนักศึกษา ซึ่งที่ผ่านมาสามารถขยายผลการ ดำเนินงานดังกล่าวสู่นโยบายระดับชาติ เช่น พื้นที่ปลอดบุหรี่ของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหดิล ได้ขยายผลไปสู่ทุกภาคส่วนในมหาวิทยาลัย และไปสู่พื้นที่สาธารณทั่วประเทศ นอกจากนี้จะมีการจัดเรตติงของมหาวิทยาลัย หรือ Healthy University Rating System (HURS) ว่าพร้อมเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพหรือไม่ โดยมีบุหรี่เป็นปัจจัย ในการจัดอันดับด้วย พร้อมกับทำข้อตกลงไม่รับทุนวิจัยเพื่อสร้างเสริมสุขภาพจากบริษัทผู้ผลิตยาสูบ หรือบริษัทที่แฝงมากับ บริษัทยาสูบในทุกกรณี ด้าน นพ.วันชาติ ศุภจัตุรัส อดีตนายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า ที่ แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ หน่วยงานแพทย์เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย เข้ามาร่วมเป็นหนึ่งในเจ้าภาพจัดงานประชุม 13th APACT 2021 Bangkok เพราะมีความเกี่ยวเนื่องกัน เนื่องจากแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ได้ดำเนินงานด้านยาสูบมาตลอด โดยเป็นผู้แต่งตั้งเครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ จนได้รับรางวัลจาก สมาพันธ์เครือข่ายวิชาชีพสุขภาพแห่งโลก (WHPA) เมื่อปี 2558 และยังเป็นผู้ผลักดันกฎหมายต้านบุหรี่ฉบับแรก พ.ศ. 2517 จนถึงกฎหมายต้านบุหรี่ ฉบับปัจจุบัน นับรวมเป็นระยะเวลา 40-50 ปี ที่สำคัญคือในปีนี้เป็นการครบรอบ 100 ปี แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ จึงมีแนวคิด จัดงานประชุมวิชาการร่วมกับ APACT นพ.วันชาติ ศุภจัตุรัส อดีตนายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ “สิ่งที่เราคาดหวังจากการเข้าร่วม APACT 2021 ในครั้งนี้ คือการสร้างเครือข่ายแพทยสมาคมที่มีอยู่ในแต่ละประเทศเอเชีย-แปซิฟิกให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น และร่วมดำเนินงานขยายเครือข่ายสมาชิกแพทยสมาคมในแต่ละประเทศ ให้กลายเป็นกำลังช่วยขับเลื่อนการกระตุ้นให้ประชาชน ลด งด และเลิกสูบบุหรี่ โดยมีแพทยสมาคมของประเทศนั้นๆ เป็นโหนดนำและส่งไม้ต่องานต้านบุหรี่ให้กลุ่มเยาวชนที่จะเป็นอนาคตของเรื่องนี้ต่อไป รวมถึงการนำองค์ความรู้ถึงพิษภัยบุหรี่ที่ได้ แลกเปลี่ยนกันภายในงานประชุมไปปฏิบัติในประเทศของตนเอง โดยเฉพาะองค์ความรู้ใหม่จากงานวิจัยของหลายๆ ประเทศ ที่ว่าด้วยผลร้ายของนิโคตินในบุหรี่ และบุหรี่ไฟฟ้า สามารถทำลายเนื้อเยื่อปอด ซึ่งเกี่ยวพันกับเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด 19 ที่จะทำให้อาการป่วยทวีความรุนแรงมากขึ้นได้ โดยเฉพาะในบุหรี่ไฟฟ้าที่สามารถเพิ่มปริมาณและความเข้มข้นของนิโคติน ได้ไม่จำกัด”อดีตนายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ระบุ