วันที่ 10 สิงหาคม 2564 นางฐนิวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย ในนามตัวแทนผู้ประกอบการร้านอาหารได้ ได้ส่งจดหมายถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการศบค. เพื่อขอความชัดเจนและมาตรการพยุงร้านอาหาร ใน 2 หัวข้อหลักได้แก่ 1.ขอความชัดเจนในการคืนการค้าขายแบบปกติแก่ร้านอาหาร 2.ขอเสนอ โครงการ “ร้านอาหารรวมใจ สู้ภัยโควิด Home Isolation” ระบุว่า ด้วยสถานการณ์ปัจจุบัน ตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิดรายใหม่ พบมากขึ้นทุกวัน แตะ 20,000 คนนับถึงวันที่ 8 สิงหาคม 2564 ด้วยความห่วงใยทั้งสถานการณ์การติดเชื้อที่ทราบว่า รัฐบาลดำเนินการเพื่อคัดกรองผู้ติดเชื้อมากขึ้น ย่อมต้องพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นๆ ซึ่งเมื่อทราบว่า ขณะนี้รัฐบาลไทยสามารถเร่งดำเนินการฉีดวัคซีนได้ 20 ล้านคนแล้วในปัจจุบันทางสมาคมภัตตาคารไทยได้รับการร้องเรียนจากผู้ประกอบการร้านอาหารจำนวนมากที่ยังคงเชื่อมั่นว่า เศรษฐกิจจะต้องเดินคู่ไปกับระบบการสาธารณสุข มิใช่ว่า เมื่อปราบโควิดจบ แต่เศรษฐกิจพังพินาศ ร้านอาหารล้วนต้องเลิกกิจการไปนับแสนราย ท่านนายกฯในฐานะผอศบค.เองก็ได้ให้ความสำคัญกับร้านอาหารที่เป็นระบบเศรษฐกิจที่มีจำนวนห่วงโซ่เกาะเกี่ยวกันจนถึงรากหญ้า หากร้านอาหารดำรงอยู่ไม่ได้แล้ว จะมีผู้เกี่ยวข้องอีกล้านคนต้องสิ้นเนื้อประดาตัว ไม่มีแม้แต่อาหาร 3 มื้อเลี้ยงชีวิต ในสถานการณ์นี้ สมาคมภัตตาคารไทยใคร่ขอเรียนท่านนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการศบค.ว่า ผู้ประกอบการร้านอาหารและพนักงานได้รับความเดือดร้อนแสนสาหัสและไม่สามารถจะมองเห็นทิศทางว่า จะสามารถวางแผนการรับมือกับธุรกิจอย่างไร รัฐบาลมีแผนจะยกระดับถึงขั้นไหน ร้านอาหารใดควรจะปิดชั่วคราว -ถาวร การดูแลพนักงานและพลิกฟื้นกิจการในอนาคต ควรจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์โควิด ระดับไหน เพื่อที่จะได้วางแนวทางปฎิบัติ ลดความเดือดร้อนลงได้ การยื่นข้อเสนอขอรับการสนับสนุนจากรัฐบาล ได้การตอบรับเป็นรูปธรรมจากกระทรวงแรงงาน ในด้านเงินเยียวยานายจ้างและลูกจ้าง และการสนับสนุนข้าวกล่องจำนวน 7 แสนกล่อง สมาคมฯ ใคร่ขอเรียนติดตามดังนี้ 1. มาตการพักชำระเงินต้น และดอกเบี้ย ซึ่งทั้งได้เคยเสนอด้วยตนเองและร่วมกับสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ในฐานะที่เป็นรองประธานสมาพันธ์ด้วย 2. สินเชื่อฟื้นฟู ผ่อนปรน มีธนาคารออมสิน 2000 ล้านบาทและวันที่ 11 สิงหาคม นี้ธพว.จะใช้เงินกองทุน 3. สสว.1200 ล้านบาทเป็นวงเงินที่ใช้ ร่วมกับโรงแรม-ที่พัก ซึ่งวงเงินสำหรับร้านอาหารทั้งระบบเคยได้นำเรียน รมว.คลังและเลขาธิการสภาพัฒน์ คือ 35,000 ล้านบาท จากสินเชื่อฟื้นของธปท. ที่พวกเรายังเข้าไม่ถึง 4. การใช้ โครงการคนละครึ่ง ในแพลตฟอร์ม food dilivery นั้นควรจะเร่งรัดให้ใช้ได้โดยเร็วที่สุด ไม่ใช่เดือนตุลาคมตามที่ สศค.แถลงข่าว ในขณะที่ ศบค.และแพทย์ต้องการให้ประชาชนอยู่บ้าน จึงควรจะอำนวยความสะดวกให้เร็วที่สุด กับประชาชนที่ได้เข้าร่วมโครงการนี้โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลถึง 21 ล้านคน 5. สมาคมฯใคร่ขอการสนับสนุนโครงการ “ร้านอาหารรวมใจ สู้ภัยโควิด Home Isolation”โดยขอท่านได้กรุณาพิจารณารายละเอียดที่ทางสมาคมฯ ได้บูรณาการทุกอย่างรวมไว้ เช่น พิจารณาจัดสรรการฉีดวัคซีนทั้งแรงงานไทยและต่างด้าวในร้านอาหารโดยไม่มีเงื่อนไขรวมถึงเตรียมความชัดเจน กำหนดการกลับมาพิจารณาให้เปิดร้านนั่งกิน อาหารได้ ในไตรมาสสุดท้ายโดยพิจารณาร้านอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ฉีดวัคซีนครบแล้ว ผู้มาใช้บริการ ผ่านการฉีดวัคซีนแล้วเช่นกัน