จากกรณี จนท.อาวุโสฝ่ายรณรงค์เชิงนโยบาย แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย พร้อมพวก รวม 5 คน เข้าพบ พงส. รับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียก จากกิจกรรม ‘คืน-ยุติธรรม’ เพื่อรำลึกถึงผู้ถูกบังคับให้สูญหาย เนื่องในวาระครบ 1 ปี 1 เดือน การหายตัวไปของวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคมที่ผ่านมา ที่ สน.นางเลิ้ง ล่าสุดวันนี้ (4 ส.ค.)ภายหลังเข้าพบพนักงานสอบสวนตั้งแต่เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา โดยใช้เวลากว่า 3 ชั่วโมง นายสุทธิเกียรติ คชโส ทนายความ กล่าวว่า วันนี้มาเพื่อรับทราบข้อกล่าวหา โดยข้อกล่าวหาวัยนี้มีทั้งหมด 3 ข้อกล่าวหา คือ กระทำผิดตาม พ.ร.บ.รักษาความสะอาด ความผิดตาม พ.ร.บ.จราจร และความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องขยายเสียง ซึ่งทั้งหมดเป็นความผิดที่มีโทษปรับอย่างเดียว ผู้ต้องหาทั้งหมดก็ให้การรับสารภาพในทางกฎหมายแต่ยังยืนยันว่าจริง ๆ แล้วไม่ได้กระทำความผิด เพียงแต่รับสารภาพเพื่อให้คดีเสร็จสิ้นไปโดยเร็วและไม่ให้เป็นภาระในอนาคต ซึ่งเปรียบเทียบปรับไป 700 บาทใน 3 คดี ด้าน นางปิยะนุช โคตรสาร ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย กล่าวว่าวันนี้เดินทางมาที่ สน.นางเลิ้ง เพื่อมาให้กำลังใจและดำเนินการช่วยเพื่อนร่วมงานที่ถูกหมายเรียก จากกรณีที่ไปเป็นวิทยากรพูดเรื่องสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะเรื่องของการบังคับให้สูญหาย เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคมที่ผ่านมา เกี่ยวข้องกับนายวันเฉลิม และผู้สูญหายต่าง ๆ ผู้ที่โดนบังคับให้สูญหาย รวมถึงกรณีที่พูดเน้นเรื่องของกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งรู้สึกไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นว่ารัฐใช้กฎหมายที่จะปิดปากประชาชน เพียงแค่ประชาชนลุกขึ้นมาพูดในเรื่องของสิทธิมนุษยชน ซึ่งวันนี้นอกจากจะมาให้กำลังใจแล้วยังมาเพื่อส่งเสียงบอกว่า "กฎหมายคุณไม่สามารถปิดปากเราได้" ซึ่งแท้จริงแล้วจะมาเพื่อเจรจากับเจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่หากยังคงยืนยันจะปรับก็ได้เตรียมเหรียญมาเพื่อจ่ายค่าปรับ แต่ในความเป็นจริงไม่ควรจะโดนหมายเรียกตั้งแต่แรก ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ต้องเจรจากับเจ้าหน้าที่ โดยวันนี้มีการออกหมายเรียก รวม 5 คน ทางด้าน มิงยู ฮาห์ รองผู้อำนวยการสำนักงานภูมิภาคฝ่ายรณรงค์ แอมเนสตี้ อินเตอเนชั่นแนล กล่าวว่าวันนี้เดินทางมาที สน.นางเลิ้ง เพื่อมาเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับเจ้าหน้าที่ของแอมเนสตี้ฯ ที่ออกมาพูดเกี่ยวกับประเด็นสิทธิมนุษยชนและสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ โดยเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่รัฐยกเลิกข้อกล่าวหามั้งหมดของเจ้าหน้าที่แอมเนสตี้ฯ และอีก 4 คน สิ่งที่ทำเป็นการพยายามทำงานเพื่อปกป้องสิทธิให้กับคนไทย โดยในต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา มีการพูดคุยเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนและเรื่องกฎหมายสากล เรื่องของการละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งคดีที่โดนคือเป็นการละเมิด พ.ร.บ.ความสะอาดและ พ.ร.บ.เกี่ยวกับการโฆษณา ซึ่งวันนี้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจมี 2 ทางให้เลือกคือ ทางแรกยังคงยืนยันที่จะปรับและปิดปากผู้ที่ออกมาเสนอความคิดเห็นหรือแสดงออกโดยการใช้สิทธิมนุษยชนหรือออกมาปกป้องสิทธิมนุษยชนหรือเจ้าหน้าที่สามาถออหมาเรียกร้องและทำงานตามสิทธิมนุษยชนตามกฎหมายระหว่างประเทศได้ และสุดท้ายก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่ารัฐบาลจะมีการยกเลิกกฎหมายที่ยังปิดปากและละเมิดสิทธิมนุษยชนทั้ง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน, พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และกฎหมายทางอาญาต่าง ๆ ที่ยังมีการละเมิดและปิดปากประชาชนอยู่ โดยหลังจากเข้ารับทราบเสร็จแล้วทางด้านเจ้าหน้าที่แอมเนสตี้ ที่โดนหมายเรียกให้สัมภาษณ์ว่าจริง ๆ ด็ยืนยันกับเจ้าหย้าที่ตำรวจว่าไม่ได้กระทำความผิดทั้งในเชิงกฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ และกฎหมายในประเทศ แต่มองว่าการแจ้งข้อกล่าวหาลักษณะนี้เป็นการใช้กฎหมายเพื่อมาปิดปากนักปกป้องสิทธิมนุษยชนไม่ให้พูดในประเด็นที่่อนไหว หรือเป็นประเด็นที่รัฐไม่อยากให้คนทั่วไปให้ความสนใจอย่างการบังคับบุคคลให้สูญหาย และการตัดสินใจจ่ายค่าปรับเพื่อให้ยุติคดีในวันนี้ก็ได้มีการแจ้งไปแล้วว่าไม่ยอมรับในเนื้อหาเพียงแต่ขอยุติกระบวนการเพื่อจะเอาทรัพยากรรวมทั้งกำลังความสามารถไปทำงานสิทธิมนุษยชนอื่นเพื่อที่จะปกป้องคุ้มครองสิทธิของคนอื่นให้ดีที่สุด