วันที่ 4 ส.ค.2564ที่สำนักงานอัยการสูงสุด ด้วยสำนักงานอัยการสูงสุด ได้มอบหมายสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานคุ้มครองสิทธิและ ช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน รับดำเนินการให้ความช่วยเหลือด้านอรรถคดีแก่ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนสารสาสน์วิเทศราชพฤกษ์ กรณีการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่งจากการที่นักเรียนถูกครูและครูพี่เลี้ยงกระทำทารุณกรรม ภายหลังจากที่ได้ให้ความช่วยเหลือโดยจัดให้มีการไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทหลายครั้งแต่ไม่สามารถตกลงกันได้ นายชัยพร เกริกกุลธร อธิบดีอัยการ สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน สำนักงาน อัยการสูงสุด เปิดเผยว่า ตามที่คณะผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนสารสาสน์วิเทศราชพฤกษ์ จำนวน 22 ราย ได้ยื่นหนังสือ ต่ออัยการสูงสุด เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2563 ขอให้ดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและช่วยเหลือทางคดีแพ่งเพื่อดำเนินการ ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายกับโรงเรียนสารสาสน์วิเทศราชพฤกษ์ โดยบริษัท แสงเงินพัฒนาการ จำกัด กรณีที่นักเรียน ถูกครูและครูพี่เลี้ยงกระทำทารุณกรรม นั้น อัยการสูงสุด ได้มอบหมายให้สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน หรือ สคช. เป็นผู้ดำเนินการ โดยได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานให้ความช่วยเหลือเด็กนักเรียนและผู้ปกครองโรงเรียนสารสาสน์วิเทศราชพฤกษ์ กรณีที่ถูกครูและครูพี่เลี้ยงกระทำทรุณกรรม ซึ่งต่อมาคณะทำงานฯ ได้จัดให้มีการไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาท ทางแพ่งระหว่างคู่กรณีขึ้น โดยได้เชิญผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน และยังได้ประสานทนายความอาสาของสำนักงานอัยกรพิเศษฝ่ายคุ้มครองผู้บริโภค (สฝคผ.) ให้เข้าร่วมหารือและใ ห้คำแนะนำแก่คณะผู้ปกครองในการไกล่เกลี่ยด้วย แต่ภายหลังจากที่คณะทำงานฯ ได้จัดให้มีการประชุมเจรจาร่วมกันแล้วหลายครั้งยังคงมีผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 8 ราย ที่ไม่สามารถเจรจาตกลงกันได้ จนต่อมาเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2564 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศราชพฤกษ์ โดย บริษัท แสงเงินพัฒนาการ จำกัด ได้มีหนังสือถึง สคช. เพื่อแจ้งขอยุติการไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาททางแพ่ง ด้วยเหตุว่าที่ประชุมของบริษัทฯ ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า บริษัทฯ ไม่สามารถดำเนินการกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ปกครองนักเรียนได้ เนื่องจากไม่มีเอกสารเกี่ยวกับประวัติการรักษาทางการแพทย์และเอกสารอื่นใดในการประกอบการพิจารณาของบริษัทฯ จึงขอให้ผู้เสียหายดำเนินการใช้สิทธิทางกฎหมายต่อไปแม้ว่าต่อมาจะได้มีคำสั่งให้ยุติการให้ความช่วยเหลือไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทตามหนังสือฉบับดังกล่าว เนื่องจากถือว่าเป็นกรณีที่มีเหตุตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน พ.ศ.2562 แล้วก็ตาม แต่ สคช. ยังคงเล็งเห็นว่ากรณีที่ผู้ปกครองเรียกร้องค่าเสียหายจากการที่นักเรียนถูกครูและครูพี่เลี้ยงกระทำทารุณกรรมนั้นเป็นคดีทางแพ่ง และเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอา ญา และเป็นกรณีที่มีเหตุจำเป็นหรือเหตุอันสมควรที่สำนักงานอัยการสูงสุดจะรับไว้ช่วยเหลือได้ ตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน พ.ศ.2562 ข้อ 32 (2) (ข) ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่เด็ก ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 มาตรา 22 ที่บัญญัติว่า "การปฏิบัติต่อเด็กไม่ว่ากรณีใดให้คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญและไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม " จึงได้มอบหมายให้สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองผู้บริโภค (สฝคผ.) รับไปดำเนินการให้ความช่วยเหลือด้านอรรถค ดีแก่ผู้ปกครองทั้ง 8 ราย โดยจัดทนายความอาสาของ สฝคผ. เข้าช่วยเหลือเพื่อให้คำแนะนำปรึกษาการฟ้องคดีต่อศาล ตลอดจนการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นตาลจนกว่าคดีจะถึงที่สุดต่อไป ภายใต้การกำกับดูแลของอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองผู้บริโภค โดยผู้ปกครองไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด