ประเทศไทยได้ก้าวสู่ยุคแห่งนวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยุคที่ทั้งผู้คนและภาคธุรกิจต่างยอมรับเทคโนโลยีขั้นสูงต่างๆอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ถึงกระนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นถือว่ารวดเร็วเสียจนบางทีก็เร็วเกินกว่าเมืองที่เราอาศัยอยู่จะปรับตัวได้ทัน
อีกเพียงไม่นาน ประเทศไทยจะขยับเข้าใกล้ความเป็นไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งผู้บริหารของเมืองต่าง ๆ ในประเทศกำลังมองหาหนทางที่จะประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอันทันสมัย เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาพื้นที่ในปกครองของตน สิ่งนี้ถือเป็นประเด็นสำคัญที่ปรากฏอยู่ในแผนงานพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City Plan) ซึ่งมีเป้าหมายในการพัฒนาเมือง 100 แห่งทั่วประเทศไทยให้กลายเป็นเมืองอัจฉริยะภายในปี 2565 และยังช่วยให้ประเทศได้ตระหนักถึงเป้าหมายในการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาว
กระนั้นก็ดี การแพร่ระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 ยิ่งทำให้ดิสรัปชั่นดังกล่าวเป็นไปอย่างรวดเร็วและชัดเจนยิ่งขึ้น การพัฒนาเมืองอัจฉริยะไม่สามารถให้ความสำคัญแต่เพียงเรื่องของการเปลี่ยนสู่ความเป็นดิจิทัลเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างผลลัพธ์ที่สามารถปรับระดับขีดความสามารถ และสามารถใช้ในสถานการณ์จริงได้ด้วย
การแพร่ระบาดของโควิด-19 นี้ได้สอนพวกเราว่าความยั่งยืนควรเป็นปัจจัยสนับสนุนในการก่อร่างสร้างตัวของเมืองอัจฉริยะ ซึ่งจะทำเช่นนั้นได้เมืองเหล่านั้นจะต้องเข้าถึงจุดที่เป็นสามารถเชื่อมต่อหากันได้ทุกมิติ (hyperconnected maturity)
อะไรที่ช่วยทำให้เมืองเกิดการเชื่อมต่อในทุกมิติได้
โดยพื้นฐานนั้น เมืองที่มีการเชื่อมต่อในทุกมิติ หรือ hyperconnected city จะสามารถปลดล็อคค่านิยมทางด้านเศรษฐกิจ ธุรกิจ และสังคมที่มีความสำคัญได้ด้วยการผลักดันการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเปลี่ยนแปลงและเชื่อมต่อในจุดที่สำคัญต่อระบบนิเวศเมืองให้กับประชากรด้วยความรอบคอบ สิ่งที่ทำจะต้องเป็นมากกว่าแนวความคิดทั่วไปของการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ซึ่ง hyperconnected city จะให้ความสำคัญกับการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยี ขณะเดียวกันก็ยังเชื่อมต่อกับหน่วยงานรัฐบาล สถานประกอบการธุรกิจ สถาบันการศึกษา และประชาชน เพื่อปรับปรุงพัฒนาในการส่งมอบบริการอัจฉริยะต่างๆ ซึ่งทำได้โดยผ่านการกำหนดองค์ประกอบหลักทั้งสี่ ที่เมืองเหล่านั้นจะสามารถรับรู้ถึงผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย
แต่ว่าเราจะประเมินความแข็งแกร่งของการเชื่อมต่อระหว่างองค์ประกอบทั้งสี่ในเมือง ๆ หนึ่งได้อย่างไร และองค์ประกอบสี่อย่างนั้นมีอะไรบ้าง จากรายงานเรื่อง Building a Hyperconnected City ที่โนเกียได้ทำงานร่วมกับ ESI ThoughtLab การเชื่อมต่อจะต้องถูกประเมินโดยพิจารณาสี่องค์ประกอบหลักของการเปลี่ยนแปลงเมือง ได้แก่ เทคโนโลยี ข้อมูลและการวิเคราะห์ ความปลอดภัยทางด้านไซเบอร์ และประชากรที่เชื่อมโยงถึงกัน
บนพื้นฐานขององค์ประกอบหลักทั้งสี่นั้น เราระบุได้ว่าในปัจจุบันภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมี 20 เมืองที่สามารถถูกจัดกลุ่มให้เป็น hyperconnected city ได้ ขณะที่แต่ละเมืองได้เข้าถึงบางส่วนของการเชื่อมต่อระหว่างองค์ประกอบหลักต่างๆนั้น เมืองเหล่านั้นก็ยังมีความแตกต่างกันอยู่จากระดับวุฒิภาวะในการเข้าถึงการเชื่อมต่อที่ต่างกัน อย่างเช่นกรุงเทพมหานครก็เป็นหนึ่งในเมืองเหล่านั้นและได้สะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลมีการดำเนินการที่เหมาะสมและเป็นลำดับขั้นตอนอย่างไรในการพัฒนาสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะ ถึงอย่างไรก็ตาม เมืองไทยยังเฝ้ารอโอกาสในการส่งเสริมการพัฒนาในขอบเขตที่กว้างขวางขึ้น ดังเห็นได้จากความพยายามที่จะพัฒนาพื้นที่สำคัญๆของประเทศ อย่างโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ที่เป็นความร่วมมือขององค์กรภาครัฐและเอกชน ผู้บริหารเมือง เอ็นจีโอ และสถาบันการศึกษา
การยอมรับ IoT ของประเทศไทย
Hyperconnected city ทั้งหลายกำลังขยายขอบข่ายการใช้งานเทคโนโลยีขั้นสูงไปทั่วทั้งระบบนิเวศเมือง ขณะนี้ทั้ง 20 เมืองที่กล่าวถึงข้างต้นกำลังเร่งเดินหน้าให้เกิดการยอมรับความก้าวหน้านี้ด้วยการปรับพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล การสื่อสารโทรคมนาคม และโซลูชั่นเทคโนโลยีด้าน Mobility เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงแบบองค์รวม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีไอโอที (IoT: Internet of Things) และการยอมรับเทคโนโลยีดังกล่าวในเมืองต่าง ๆ ทั่วเอเชียทั้งประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา ที่มุ่งไปสู่ความเจริญแบบเมืองอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประชากรมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น และคนอาศัยอยู่ในเมืองมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ความยั่งยืนในแบบเมืองจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อการสร้างสถานที่ที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีและปลอดภัยต่อการอยู่อาศัยและทำงานให้กับชาวเมือง และ IoT สามารถช่วยให้เมืองเหล่านี้ใช้เครื่องมือดิจิทัลที่สามารถช่วยเพิ่มศักยภาพการใช้งานโครงสร้างพื้นฐานในปัจจุบัน (และในอนาคต) ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างสูงสุด
ประเทศไทยกำลังขยายการใช้งาน IoT ให้แพร่หลายอย่างรวดเร็ว การยอมรับการใช้งานในขอบข่ายนี้ได้รับความสนใจอย่างมากในภาคส่วนหลัก ๆ ของประเทศ อาทิ ภาคการผลิต โลจิสติกส์ และการขนส่ง ที่ยังนับรวมไปถึงด้านบริการสาธารณะต่าง ๆ ด้วย เช่น มาตรการที่เคยดำเนินการโดยบริษัทไปรษณีย์ไทยที่จะประยุกต์ใช้งาน IoT ในการสร้างกล่องไปรษณีย์อัจฉริยะ (smart mailboxes) ที่มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของบริการไปรษณีย์ทั่วประเทศ
จากงานวิจัยของโนเกีย กรุงเทพฯ และเมืองอื่น ๆ อีก 19 แห่งที่ได้รับการสำรวจ ต่างมองหาลู่ทางที่จะขับเคลื่อนการใช้งาน IoT ต่อไปในระยะสามปีข้างหน้านี้ เมืองเหล่านี้เองยังได้มีการจัดให้ IoT มีความสำคัญในลำดับต้น ๆ ในแง่ของการสร้างข้อมูลที่มีประโยชน์ที่สามารถนำไปใช้งานเพื่อการปรับพัฒนาการบริหารจัดการเมืองให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
เพิ่มศักยภาพความเป็นเมืองอัจฉริยะของไทยด้วยการบริหารข้อมูล
Hyperconnected city ทั้งหลายใช้เทคโนโลยีที่ก้าวล้ำอย่าง IoT เพื่อกระตุ้นการใช้ข้อมูลที่หลากหลายในวงกว้างให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ที่มีส่วนร่วมในการบริหารเมือง ซึ่งประกอบไปด้วยข้อมูลแบบดั้งเดิม อาทิ ข้อมูลที่รวบรวมมาจากส่วนงานต่าง ๆ ของเมือง สถานประกอบการท้องถิ่น และการสำรวจประชากร และข้อมูลรูปแบบใหม่ เช่น จากระบบตรวจจับด้วย IoT ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และแม้กระทั่งที่ได้มาจากโซเชียลมีเดีย
ด้วยการผสานการใช้งานทั้งเทคโนโลยีขั้นสูงและข้อมูลที่นำไปใช้ได้จริงจากแหล่งต่าง ๆ hyperconnected city จะช่วยพัฒนาการบริหารและความยั่งยืนของเมืองได้ ตัวอย่างเช่น เมืองส่วนใหญ่ที่เราได้ทำการสำรวจไปนั้นมีการปรับใช้ข้อมูลเพื่อบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโทรคมนาคม โดยขณะที่กึ่งหนึ่งกำลังใช้งานเทคโนโลยีเหล่านี้ในด้านบริการและระบบทางด้านการเงิน การรับส่งข้อมูลแบบเคลื่อนที่ (mobility) และการคมนาคมขนส่ง เช่นเดียวกับงานระบบรักษาความปลอดภัย (ทั้งทางกายภาพและดิจิทัล) ขณะเดียวกัน ส่วนที่สามของการใช้งานข้อมูลเหล่านั้นก็เป็นไปในเรื่องของความปลอดภัย การสาธารณสุข และการส่งเสริมสุขภาพที่ดีของประชาชนในเมืองนั้นๆ
สำหรับประเทศไทย มีความพยายามที่จะผลักดันให้เกิดการใช้งานข้อมูลเหล่านี้ให้เป็นรูปธรรมชัดเจนยิ่งขึ้นในเมืองต่าง ๆ ซึ่งสิ่งสำคัญเหนืออื่นใด คือไม่ได้เกิดขึ้นแต่เพียงในหัวเมืองใหญ่ ๆ อย่างเช่นกรุงเทพฯเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นในอีกหลายๆจังหวัดเช่น ชลบุรี และระยอง เป็นต้น
Hyperconnectivity - เมื่อการเชื่อมต่อในทุกมิติช่วยสร้างผลกำไรตอบแทนได้มากยิ่งขึ้น
นอกเหนือจากการรับมือกับความท้าทายในเรื่องความยั่งยืนของเมืองโดยตรงแล้ว ผู้บริหารเมืองนั้นๆยังต้องกระตุ้นให้เกิดการลงทุนสำหรับเมืองอัจฉริยะเพื่อสร้างผลกำไรตอบแทนให้ได้มากที่สุด เราเชื่อว่าการจะก้าวสู่สภาวะที่สามารถเชื่อมต่อได้ในทุกมิตินั้น เมืองอัจฉริยะจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการที่สร้างผลตอบแทนที่จับต้องได้โดยต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ทางด้านธุรกิจ เศรษฐกิจ การเงิน สังคม และสิ่งแวดล้อม
อย่างไรก็ดีเมืองทั้งหลายยังต้องทำความเข้าใจว่าการลงทุนในเรื่องอะไรที่จะสามารถสร้างผลกำไรตอบแทนที่คุ้มค่าที่สุดได้ โดยอ้างอิงจากงานวิจัย โครงการธรรมาภิบาล ถือเป็นอีกหนึ่งการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงที่สุดในบรรดาการลงทุนด้านอื่น ๆ ภายในระบบนิเวศเมือง ขอยกตัวอย่างโดยเลือกโครงการที่เกี่ยวกับธรรมาภิบาลอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับเมืองต่าง ๆ ที่พึ่งจะเริ่มนำโซลูชั่นเพื่อการเชื่อมต่อแบบครบวงจรมาใช้งานจะเห็นว่ามีตัวเลขผลกำไรตอบแทนโดยเฉลี่ยที่ร้อยละ 2.6 ในขณะที่หัวเมืองชั้นนำที่มีความคุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวมากกว่า ตัวเลขผลกำไรตอบแทนโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ร้อยละ 5.6 และไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจที่ในทางกลับกัน hyperconnected city ที่อยู่ในการสำรวจของเรายังเป็นเมืองที่มีการให้บริการต่าง ๆ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-service) และโปรแกรมต่าง ๆ ในระดับสูงที่ช่วยมอบประสบการณ์ที่ดีกว่าในการใช้ชีวิตแบบคนเมือง ดังนั้น เมื่อเมืองต่าง ๆ มีการเชื่อมต่อที่เข้าถึงได้ในทุกมิติมากขึ้น เครือข่ายที่เชื่อมต่อนั้นจะก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่หลากหลายได้ด้วย
กรุงเทพฯ เป็นหนึ่งในเมืองที่มองหาโอกาสเพื่อดึงการลงทุนที่มีมูลค่าสูงให้เพิ่มมากขึ้นผ่านโร้ดแม็ปของแผนยุทธศาสตร์ชาติไทยแลนด์ 4.0 ที่รวมถึงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของเมืองในด้านบริการสาธารณะ การคมนาคมขนส่ง และการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งยังได้ผลักดันการสาธารณสุขของประเทศสู่อนาคตด้วยการเริ่มนำบริการด้านสุขภาพทางไกล (telehealth) บนเครือข่าย 5G มาใช้งานตั้งแต่ระยะแรกของการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อีกด้วย โดยขณะที่เป้าประสงค์พื้นฐานของการนำระบบนี้มาใช้คือเพื่อลดภาระให้กับบุคลากรด่านหน้า และสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการสาธารณสุขแล้ว การปรับเปลี่ยนที่เกิดขึ้นนี้ยังช่วยสนับสนุนภาคการสาธารณสุขในภาพรวม ซึ่งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพภาคเอกชนสามารถใช้ประโยชน์เพื่อเสริมสร้างความเป็นผู้นำในระดับภูมิภาคในวงการอุตสาหกรรมนี้ของประเทศด้วย
ผู้มีส่วนในการบริหารเมืองของประเทศไทยต้องให้ความสำคัญและมองหาหนทางที่คุ้มค่ามากยิ่งขึ้นในระยะยาว
ณ ตอนนี้ ประเทศไทยกำลังเข้าใกล้ความเป็นเมืองอัจฉริยะที่มีการเชื่อมต่อในทุกมิติยิ่งกว่าเดิม โดยกรุงเทพฯ ถือเป็นเมืองชั้นนำในการปรับเปลี่ยนที่ว่านี้ อย่างไรก็ตามผู้บริหารเมืองต่างๆจะต้องมีการฝึกทักษะด้านความอดทน นั่นคือพวกเขาจะต้องเผชิญหน้ากับการบูรณาการโครงสร้างพื้นฐานที่ซับซ้อน แพลตฟอร์มที่หลากหลาย ความต้องการข้อมูลในรูปแบบต่างๆ และการประยุกต์ใช้ให้เข้ากับความต้องการของเมือง
แต่สิ่งสำคัญยิ่งกว่า และนำไปใช้ได้กับทุกเมืองคือ ไม่ว่าคุณจะอยู่ในจุดไหนของการพัฒนาความเป็นเมืองอัจฉริยะก็ตาม ผู้บริหารเมืองจะต้องทำให้แน่ใจได้ว่าประชนชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องของเมืองให้การสนับสนุน โดยการปรับปรุงในเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนถือเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของแผนงานการพัฒนาเมืองอัจฉริยะที่สามารถเห็นได้อย่างชัดเจน
การสร้างเมือง hyperconnected city จำเป็นต้องใช้เวลาพอสมควร หากแต่ผลที่ได้นั้นถือว่าคุ้มค่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำไปสู่การปรับปรุงสวัสดิการด้านสังคมเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม อีกทั้งการขับเคลื่อนให้เมืองเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง และการใช้ประโยชน์จากผลพลอยได้อื่นๆที่เพิ่มมากขึ้นด้วย และเพื่อให้ถึงเป้าหมายนั้น ประเทศไทยได้วางมาตรการเชิงรุกต่างๆ ไว้รองรับแล้ว ดังนั้น ผู้บริหารเมืองต่างๆควรจะมองหาโอกาสที่จะส่งเสริมให้บรรลุวัตถุประสงค์ของแผนยุทธศาสตร์ชาติไทยแลนด์ 4.0 ที่เกี่ยวข้องกับแนวทางเพื่อการเป็นเมืองอัจฉริยะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อภูมิทัศน์ทางด้านสังคมและธุรกิจของประเทศได้วิวัฒน์ไปเพื่อการสร้างอุปสงค์ใหม่ในอนาคต