ระบุเป็นประเด็นที่ทาง CDC กำลังจับตาอย่างหนักในตอนนี้ ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โพสต์ข้อความผ่าน เฟซบุ๊กระบุ "ภาพนี้เป็นชุดข้อมูลที่ทีมวิจัยของสิงคโปร์แสดงออกมาเปรียบเทียบปริมาณไวรัสที่ตรวจได้จากผู้ติดเชื้อที่ได้รับวัคซีน mRNA ของ Pfizer ครบ กับ กลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีน แกนตั้งคือปริมาณสารพันธุกรรมของไวรัสที่ตรวจวัดได้ด้วย RT-PCR (ค่า Ct ยิ่งน้อย ปริมาณ RNA ของไวรัสจะยิ่งสูง) ส่วนแกนนอนคือ ระยะเวลาที่ผลตรวจยังออกมาเป็นบวก ซึ่งอาการป่วยอาจจะหายแล้ว...ตัวอย่างไวรัสที่เก็บข้อมูลเป็นช่วงที่เดลต้าระบาดในประเทศ ถ้าดูโดยภาพรวมแล้ว กลุ่มสีเขียว (กลุ่มรับวัคซีน) มีระดับของไวรัสลดลงเร็วกว่ากลุ่มสีแดง (กลุ่มยังไม่ได้ฉีด) ชัดเจน โดยทีมวิจัยเชื่อว่าเป็นผลจากภูมิคุ้มกันในร่างกายที่พยายามเคลียร์ไวรัสให้ลดลง และหมดไป ซึ่งโอกาสการแพร่เชื้อของไวรัสจากคนที่ได้รับวัคซีนไปหาคนอื่นก็อาจจะนัอยกว่าคนที่ไม่ได้ฉีด และ ปริมาณไวรัสที่น้อยลงไวกว่า คือ โอกาสมีอาการป่วย หรือ ป่วยหนักก็จะลดลงอย่างชัดเจนด้วย แต่ถ้าดูในภาพที่แคบลงจะเห็นว่าระดับของ RNA ในช่วง 1-7 วันแรกหลังมีอาการ ระดับระหว่าง 2 กลุ่มไม่แตกต่างกัน ซึ่งจริงๆแล้วช่วงนี้อาจเป็นช่วงที่มีอาการไม่เด่นชัด อาจจะยังไม่รู้ตัวว่ามีเชื้อแล้ว แต่การแพร่เชื้อออกได้สูงมาก โดยทั่วๆไปแล้วค่า Ct ที่สูงกว่า 25 เรามักจะเพาะเชื้อต่อจากตัวอย่างได้ยากมาก และไวรัสอาจจะไม่แพร่ต่อแล้ว แสดงว่าก่อนวันที่ 6-7 วัน ซึ่งเป็นจุดที่เริ่มเห็นความแตกต่างระหว่าง 2 กลุ่ม กลุ่มที่ได้รับวัคซีนก็ยังมีความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อพอๆกับกลุ่มที่ไม่ได้วัคซีน ซึ่งเป็นประเด็นที่ทาง CDC พูดถึงในตอนนี้ ที่มา https://www.medrxiv.org/con.../10.1101/2021.07.28.21261295v1