วันที่ 23 ก.ค 64 ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดฉะเชิงเทรา นายไมตรี ไตรติลานันท์ ผวจ.ฉะเชิงเทรา เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดฉะเชิงเทรา เนื่องจากจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นจังหวัดสีแดงเข้มควบคุมสูงสุด มีโรงงานอุตสาหกรรมตั้งอยู่ประมาณ 2,000 แห่ง คลัสเตอร์หลัก ๆ ของผู้ติดเชื้อในจังหวัดฉะเชิงเทรา ส่วนใหญ่มากจากคลัสเตอร์โรงงานอุตสาหกรรม และยังมีแรงงานบางส่วนที่เดินทาง ไป – กลับ ระหว่าง ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ หรือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี กทม. ประมาณเกือบ 20,000 คน ซึ่งจากนโยบาย ศบค. เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด -19 คือ ลดการเดินทาง งดการเคลื่อนย้ายข้ามจังหวัด ผวจ.ฉะเชิงเทรา ได้ชี้แจง มติ ที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดฉะเชิงเทรา วันนี้ (23 ก.ค. 64) สรุปได้ดังนี้คือ 1. โรงงานทุกแห่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา ต้องมีแผน 4 แผน คือ แผนของสถานประกอบการ ต้องมีการบริหารจัดการแบบNew Normal แผนคน คือการปฏิบัติตัวของพนักงาน แผนการเดินทาง คือการขนย้ายแรงงาน และแผนเผชิญเหตุ กรณีพบผู้ติดเชื้อ ต้องกักตัว รักษา และเตรียม โรงพยาบาลสนาม และศูนย์พักคอย โดยมีสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดฉะเชิงเทรา และอำเภอเข้าไปควบคุมดูแล 2. กรณีแรงงานเดินทางข้ามจังหวัด ต้องฉีดวัคซีนถ้าเป็นแอสตร้าเซเนก้า 1 เข็ม หรือ ซิโนแวค 2 เข็ม หรือหากยังไม่ได้ฉีดวัคซีน ให้เจ้าของสถานประกอบการ ทำ Antigen Test Kids แบบสุ่ม 10 เปอร์เซ็นต์ ทุก 7 วัน 3. หากโรงงานที่ทำตามแผนดังกล่าวแล้ว ยังคงพบผู้ติดเชื้อไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ให้ทำตามแผนเผชิญเหตุ และหากทำตามแผนเผชิญเหตุแล้วยังคงพบผู้ติดเชื้อ 10 เปอร์เซนต์ขึ้นไป ให้สั่งปิดทันที 4. และหากเมื่อพบผู้ติดเชื้อ และถูกสั่งปิดแล้ว แม้ยังไม่ถึง 14 วัน หากทางโรงงานมีแผนฯ ป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สามารถเสนอแผนฯ เพื่อให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดฉะเชิงเทรา พิจารณาทบทวนได้ ทางด้าน นายถาวร ชลัษเฐียร รองประธานสภาพอุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้กล่าวว่า ยอมรับมติดังกล่าว และจะได้นำไปชี้แจงให้สมาชิกได้รับทราบและให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ เพื่อให้ สุขภาพของประชาชน และเศรษฐกิจของประเทศเดินหน้าไปพร้อมๆ กันอย่างปลอดภัย อนึ่ง ในการประชุมวันนี้ ผู้แทนไทยแอร์โรว์ บริษัทซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ อ.บางคล้า มีพนักงานถึง 4,200 คน มีผู้ติดเชื้อประมาร 500 คน และผู้ที่มีความเสี่ยงสูง กว่า 600 คน ได้ถูกสั่งปิดเป็นเวลา 14 วัน เนื่องจากปิดมาแล้ว 5 วัน ได้ขอยื่นเสนอแผนฯ เพื่อขอเปิดโรงงาน มติที่ประชุมได้ขอให้ทางบริษัทฯ ไปทบทวนแผนฯ และยื่นเรื่องกลับเข้ามาพิจารณาใหม่ เนื่องจากเป็นโรงงานขนาดใหญ่ จึงต้องสร้างความมั่นใจให้ชุมชนโดยรอบด้วย