มูลนิธิเด็กเยาวชนฯ ชี้คดีบ้านเกาะแรด ช่วยกอบกู้ศักดิ์ศรีผู้เสียหายและครอบครัว ต่อสู้มานานกว่า4 ปี หลังศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์ พิพากษาคดีข่มขืนเด็กหญิงบ้านเกาะแรด พังงาจำคุก10 จำเลย ตั้งแต่15 ปี ถึงสูงสุดตลอดชีวิต ชดเชยค่าเสียหายกว่า 6.6 ล้าน สืบเนื่องจากคดีร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิงวัย14 ปี เป็นเวลายาวนานนับปี ที่บ้านเกาะแรด ต.หล่อยูง อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา ซึ่งเป็นข่าวโด่งดังในปี 2560 โดยศาลจังหวัดพังงาได้นัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาคดีดังกล่าววานนี้ (19 กรกฎาคม) โดยที่ศาลฎีกา ได้อ่านคำแก้ฎีกาของจำเลยทั้งหมดแล้วฟังไม่ขึ้น จึงได้มีคำพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ ดังนี้ ให้ลงโทษจำเลยทั้ง11คน ในข้อหาร่วมกันรุมโทรมข่มขืนกระทำชำเรา หญิงสาวอายุไม่เกิน 15 ปี ที่มิใช่ภรรยาของตน และข้อหาบุกรุกเคหสถานในยามค่ำคืนรวมถึงข้อหาอื่นๆ ตัดสินจำคุกจำเลยที่ 1-7 ตลอดชีวิต โดยจำเลยที่ 5 เสียชีวิตไปแล้ว ขณะที่จำเลยที่ 8 จำคุก45 ปี จำเลยที่ 9 และ จำเลยที่11 ลงโทษจำคุกคนละ15 ปี จำเลยที่10 ลงโทษจำคุก 20 ปี 4เดือน พร้อมทั้งให้จำเลยทั้งหมดร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่ฝ่ายเด็กหญิงและมารดาอีกกว่า6.6 ล้านบาท เมื่อวันที่ 20 ก.ค.64 นางทิชา ณ นคร ที่ปรึกษามูลนิธิเด็กเยาวชนและครอบครัว กล่าวว่า การที่เราได้เข้าไปช่วยและอยู่ร่วมในเหตุการณ์ ทำให้เห็นทั้งความทุกข์และความรู้สึกของผู้เสียหาย เนื่องจาก ผู้กระทำ เป็นผู้นำชุมชนหรือผู้ชาย ที่มีความน่าเชื่อถือ หรือ ญาติ แต่ความรู้สึกเหล่านั้น ได้ถูก เยียวยา โดยคำพิพากษาแล้วว่าผู้กระทำเป็นผู้ กระทำผิด และสร้างความอัปยศอดสูกับลูกหลานตัวเองจริง สำหรับครอบครัวของผู้เสียหาย มีจุดแข็ง คือ มีจิตใจที่เด็ดเดี่ยว อยากต่อสู้และไม่ ตำหนิซ้ำเติมตัวเองและลูก ซึ่งเป็นบทเรียนที่สำคัญในการ ทำงานและ อยากสะท้อนต่อสังคมว่าเมื่ออยู่ในความผิดพลาด อย่าซ้ำเติมและเชื่อมั่นว่าทุกอย่างจะกลับคืนมา ในช่วงเวลา ที่เหมาะสม “ต้องขอบคุณกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ที่เปิดโอกาสให้มูลนิธิเด็ก เยาวชนและครอบครัว เข้ามาร่วมเดินทางข้ามศาสตร์ไปด้วยกัน ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนที่ สำคัญในเชิงระบบ ของประเทศและบ้านพัก เด็กฯ จ.พังงา ได้เข้ามาทำงานร่วมกัน ทำงานบนประโยชน์สูงสุดของผู้เสียหาย งานวันนี้ยังไม่เสร็จสิ้น และสิ่ง ที่รัฐต้องทำต่อไป คือ การรับรอง เปลี่ยนสถานะชื่อ นามสกุลและเลขประจำตัวประชาชนให้ผู้เสียหายใหม่โดย ไม่ต้องร้องขอเรียกว่า “สิทธิที่ถูกลืม” เพื่อให้ผู้เสียหายทุกคนถูกลืมถูกลบจากสังคมก้าวเดินหน้าด้วยความ มั่นใจมากขึ้น” นางทิชากล่าว ที่ปรึกษามูลนิธิเด็กเยาวชนและครอบครัว กล่าวต่อว่า คดีนี้ทางมูลนิธิฯ ได้เคยมีการ ถอดบทเรียน และผลิตเป็นหนังสือ “ผีเสื้อขยับปีก” เป็นเรื่องราวที่บอกการ ข้ามเส้นของการทำงานประสบการณ์ที่ แตกต่างกันของหน่วยงาน สามารถร่วมมือกันทำงานได้ อยากให้ทุกท่านได้อ่าน ผีเสื้อขยับปีกที่จะทำให้เห็น ราคาที่ต้องจ่าย ต้องมองข้ามผลประโยชน์ของตัวเอง เพื่อให้ได้มาซึ่งความยุติธรรม ถือเป็นของขวัญของ ผู้เสียหาย