เมื่อเวลา 13.30 น.วันที่ 13 พฤศิกายน ที่ศาลากลางจังหวัดตรัง ตัวแทนเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางภาคใต้จังหวัดตรัง กว่า 10 คน นำโดย นายประทบ สุขสนาน เป็นประธานเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางจังหวัดตรังนายถนอมเกียรติ ยิ่งฉ้วน ที่ปรึกษาประธานเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางระดับประเทศ เดินทางเข้าพบ นายศิริพัฒ พัฒกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เพื่อยื่นหนังสือข้อเรียกร้องให้รัฐบาลเข้ามาการแก้ไขปัญหายางทั้งระบบ โดยมีหน่วยงานความมั่นคงและหน่วยงานรับผิดชอบร่วมรับหนังสือปรึกษาหารือและแนวทางการแก้ปัญหายางพาราของจังหวัดตรัง โดยในเบื้องต้น นายประทบ พร้อมตัวแทนเครือข่ายยื่นหนังสือ ระบุว่า สืบเนื่องจากการประชุมของเครือข่ายสถาบันเกษตรกรภาคใต้ในวันพุธที่ 8 พฤศจิกายน เรื่องการแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ และในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมามีราคาตกต่ำผิดจากสภาวะปกติ ในสภาวการณ์เช่นนี้ ทางเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้พยายามประชุมหาทางแก้ไขปัญหาผ่านทางการยางแห่งประเทศไทยมาโดยตลอด แต่ไม่ได้รับความคืบหน้าในการดำเนินการไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้ยางทั้งในประเทศและต่างประเทศ หนังสือระบุว่า ทางเครือข่ายสถาบันเกษตรกร จึงมีมติว่าควรจะมีการประชุมปรึกษาหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยตรง เพื่อจะได้ชี้แจงให้เห็นถึงปัญหาความล้าช้า ความผิดพลาดในการขับเคลื่อนในระดับการดำเนินงานของการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ทั้งนี้เพื่อป้องกันความพยายามบิดเบือนเรื่องความเดือดร้อน ในเรื่องราคายางตกต่ำ ว่าเป็นเรื่องของตลาดโลกทั้งหมด ทั้งที่จริงๆปัจจัยในประเทศก็มีส่วนสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศผู้ใช้ยาง การกลบเกลื่อนการบริหารงาน ที่ล้มเหลวของผู้บริหาร เมื่อมีเกษตรกรออกมาเรียกร้อง ว่าเป็นประเด็นทางการเมือง จึงเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง อนึ่ง การจัดตั้งบริษัท ร่วมทุน ระหว่าง กยท. และ 5 เสือ เพื่อ มาซื้อยางในราคา บิดเบือน กลไกการตลาดกลางยางพาราของรัฐที่ผ่านมา สร้างความเสียหายเป็นอย่างมาก ให้กับกลไกการตลาด ทางเครือข่ายสถาบันเกษตรกรจึงมีมติว่า ให้การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ถอนหุ้นจากบริษัทร่วมทุน ที่ดำเนินการร่วมกับ บริษัทเอกชน 5 บริษัท เพราะการซื้อชี้นำนั้นไม่เกิดผลใดๆกับตลาดโดยรวม ซึ่งผู้มีอิทธิพลเดิมในตลาด คือ บริษัทเอกชน 5 บริษัท ไม่ได้ให้ความสำคัญกับ ราคาชี้นำนั้น ยังคงเปิดราคารับซื้อหน้าโรงงานตามเงื่อนไขปกติของบริษัท ซึ่งแตกต่างกับราคาตลาดกลางที่บริษัทร่วมทุนเข้าซื้อชี้นำ และประเด็นสำคัญคือ กยท.สามารถดำเนินธุรกิจซื้อขายยางได้เองตาม พรบ.การยาง อยู่แล้ว ไม่มีความจำเป็นต้องร่วมทุนกับ 5 บริษัทเอกชน 2. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบหลัก ติดตามการใช้ยางในหน่วยงานของรัฐบาลตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี และรายงานให้ประชาชนทั่วไปทราบในแต่ละเดือนเรื่องปริมาณการใช้ยาง มีจำนวนการใช้ในประเทศเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับทั่วโลกในนโยบายของรัฐบาลไทยว่ามีความมุ่งมั่นในการกระตุ้นการใช้ยางในประเทศอย่างจริงจัง ทางเครือข่ายฯ จึงเสนอวิธีแก้ไขหรือปฏิบัติตามข้อเสนอ 1. การจดทะเบียนบริษัทการยาง ให้เกษตรกร,สถาบันเกษตรกรถือหุ้น แก้ไข พระราชบัญญัติสหกรณ์เพื่อให้สหกรณ์ถือหุ้นได้ ตั้งคณะทำงานเพื่อจัดตั้งด่วน โดยให้ตัวแทนเกษตรกรร่วมด้วย การส่งเสริมการใช้ยางในหน่วยงานภาครัฐ ให้มีมติคณะรัฐมนตรีในการใช้ยางในหน่วยงานภาครัฐ ประกาศออกสื่อหรือแสดงให้ชัดเจนเป็นการให้ข่าวเชิงบวก สมควรที่จะทำแผนงานการใช้ยางเป็นรูปเป็นร่าง อย่างชัดเจน (ถนนยางพารา) มอบหมายหรืออกคำสั่งให้ องค์กรปกครองท้องถิ่นทั่วประเทศ (ถนนยางพารา) “และข้อเรียกร้องเพิ่มเติม การจัดทำตลาดยาง Thaicom ตลาดกลางประมูลเพื่อการจำหน่ายภายในประเทศ และการส่งออก(THAICOM) 1.ตลาดกลางประมูลเพื่อการจำหน่ายภายในประเทศ และการส่งออก (THAICOM) คืออะไร เป็นตลาดกลางร่วมประมูลซื้อ-ขายยางพาราระดับประเทศ โดยเชื่อมโยงไปสู่ตลาดภูมิภาค เป็นตลาดที่ควบคุมราคาการส่งออกยางพาราให้เป็นธรรม (โดยคำนึงถึงต้นทุนการผลิต และเป็นไปตาม พรบ.ควบคุมยางฯ) 2. (THAICOM) มีความสำคัญอย่างไร เป็นวิธีการหนึ่งในการแก้ไขปัญหาราคายางอย่างยั่งยืน เป็นการกำหนดราคาซื้อ-ขายขั้นต่ำ โดยกำหนดราคาซื้อ-ขายที่คำนึงจากต้นทุนการผลิตที่แท้จริง และผู้ใช้ยางมีความมั่นใจในคุณภาพ มาตรฐานและวัตถุดิบที่เพียงพอ 3.(THAICOM) มีขั้นตอนการจัดตั้งและวิธีการ อย่างไร” “ตลาดกลางประมูลเพื่อการจำหน่ายภายในประเทศ และการส่งออก (THAICOM)จะเป็นผู้รับซื้อผลผลิตที่แปรรูปจากกลุ่มเกษตรกร องค์กรเกษตรกร สหกรณ์ โรงงานเอกชน และโรงงานของ ก.ย.ท. BU เกษตรกรผู้ผลิต สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกรและเอกชน จำหน่ายผลผลิตสู่ตลาดกลาง ก.ย.ท. หรือตลาดภูมิภาค เอกชน สถาบันเกษตรกร การยางแห่งประเทศไทย BUสามารถซื้อผลผลิตจากตลาดกลาง ก.ย.ท. หรือตลาดภูมิภาคเพื่อแปรรูปเข้าสู่ตลาดTHAICOM ตลาด ก.ย.ท. (ตลาดภูมิภาค) สามารถแปรรูปยางเข้าสู่ตลาดTHAICO THAICOM ให้บริการในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปแก่โรงงานในประเทศไทย เพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ เพื่อโครงการของรัฐ เอกชนเพิ่มขึ้นระหว่างประเทศ 4. THAICOMมีประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ” หนังสือระบุอีกว่า เพื่อรักษาเสถียรภาพราคายางอย่างยั่งยืน และเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวสวนยางให้ดีขึ้น เกษตรกรแลสถาบันเกษตรกรมีตลาดในระดับจังหวัด ซึ่งจะสร้างการแข่งขันด้านราคา ผู้ซื้อมีความมั่นใจในคุณภาพและปริมาณของวัตถุดิบ เพิ่มช่องทางการตลาดในการจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ เกษตรกรขายผลผลิตได้ราคาไม่ต่ำกว่าต้นทุนการผลิต (โดยการใช้ พรบ.ควบคุมยางฯ) เป็นตลาดกลางสำหรับการเชื่อมโยงการซื้อ-ขายยางพาราทั่วโลก ก่อให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมยางพาราในประเทศมากขึ้น ขณะที่ นายศิริพัฒ พัฒกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง กล่าวว่า วันนี้ทางเครือข่ายฯมายื่นหนังสือเรียกร้องเมื่อรับเรื่องแล้วทางจังหวัดมติที่เป็นข้อเสนอของเครือข่ายฯจะส่งไปยังส่วนกลาง ส่วนมติเพิ่มเติมเฉพาะของจังหวัดตรังเอง ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ไม่ว่จะเป็นเรื่องน้ำข้น การให้ความรู้แก่เกษตรกรรายย่อยจริงๆ เกษตรกรที่ไม่เคยอบรมสัมมนาได้เข้าร่วมโดยให้ กำนันผู้ใหญ่บ้าน นายอำเภอเข้ามาส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา อีกด้านเป็นเรื่องของงบอุดหนุน ทางจังหวัดจะจัดสรรงบพัฒนาจังหวัดสนับสนุนอุปกรณ์ อาทิ จักรรีดยาง เรื่องของแนวความคิดต่างๆที่อาจต้องกลับไปใช้เวลากับการทำยางพารามากขึ้น ให้เป็นอาชีพหลักจริงๆ เราจะต้องอยู่ได้กับยาง แต่ต้องอดทนกับการที่จะต้องมาเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งต้องอาศัยการเสวนากัน จะมีการขึ้นเวทีปรองดอง เกษตกรชาวสวนยางรายย่อยสามารถโยนคำถามสอบถามได้ นายศิริพัฒ กล่าวอีกว่า เรื่องสำคัญอีกเรื่องคือ เกษตรกรที่ไม่มีเอกสารสิทธิที่ขาดโอกาสที่จะเข้าถึงความช่วยเหลือจากรัฐบาล ซึ่งเป็นเรื่องที่ตนคิดว่า จะต้องคลายได้แล้ว แต่จะคลายด้วยวิธีใดจะต้องมีการพูดคุยกัน ต้องมีการคุย ทำกลุ่มเพื่อเรียกร้อง เรื่องดังกล่าวอาจจะมีปัญหาอุปสรรค แต่จะต้องร่วมกันสร้างเหตุผล สร้างกระแสโดยแบบใช้เหตุผล ใช้หลักข้อเท็จจริง มีข้อมูลมีตัวเลข รวมทั้งข้อดีข้อเสียงจะต้องช่วยกันผลักดัน “อย่างไรก็ตามการแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรจะรวมเหมาแข่งไม่ได้ จะต้องมีอะไรที่เป็นหลักประกันชัดๆ เช่น หลักการที่เกษตรกรใดควรได้รับตามเงื่อนไข เช่น เกษตรกรที่เดือดร้อนจริงๆอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ไม่มีความลาดชันจริงๆ ไม่อยู่ในพื้นที่ต้นน้ำ ลำธารไหลผ่าน อย่าไปเหมาเข่ง ต้องดำเนินการไปตามขั้นตอน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องคลายความเดือดร้อนให้เกษตรกร” นายศิริพัฒ กล่าว