ชวน ชม ชิม ช็อป สินค้า OTOP กลุ่ม Quadrant B จากกลุ่มจังหวัดเพชรสมุทรคีรี ร่วมส่งท้ายปีระกากับงาน มหกรรมสินค้า OTOP ของดีเพชรสมุทรคีรี เดินสายในถิ่นท่องเที่ยว 4 จังหวัดทั่วไทย นำเสนอสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวโดยตรงแบบถึงมือผู้บริโภค เมื่อวันที่ 9 พ.ย.60 นายประภัสสร์ มาลากาญจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร เป็นประธานแถลงข่าวการจัดงาน "OTOP เพชรสมุทรคีรี ภูมิปัญญาแห่งแผ่นดินอัตลักษณ์สู่สากล" โดยมีนางสาวนันทนา หวังธงชัยเจริญ พัฒนาการจังหวัดสมุทรสาคร นายชาธิป ตั้งกุลไพศาล กรรมการผู้จัดการบริษัท ประชารัฐรักสามัคคี (วิสาหกิจเพื่อสังคม) สมุทรสาคร จำกัด และนายอยุทธ์ ตชะสุกิจ ผู้อำนวยการศูนย์เพิ่มมูลค่าผลผลิตและออกแบบผลิตภัณฑ์สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ร่วมแถลงข่าว ณ พอร์โต้ ชิโน่ จังหวัดสมุทรสาคร นายประภัสสร์ มาลากาญจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร กล่าวว่า จังหวัดสมุทรสาคร โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสมุทรสาคร ร่วมกับบริษัท ประชารัฐรักสามัคคีสมุทรสาคร (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด และผู้ประกอบการ ผลิตสินค้า OTOP กลุ่ม Quadrant B ของกลุ่มจังหวัดเพชรสมุทรคีรี ได้กำหนดจัดงาน “OTOP เพชรสมุทรคีรี ภูมิปัญญาแห่งแผ่นดิน อัตลักษณ์สู่สากล” ภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเพชรสมุทรคีรี กิจกรรมหลักที่ 3 ส่งเสริมและประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวกิจกรรมย่อย พัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่ม Quadrant B (เอกลักษณ์) สู่ตลาดสากล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่ม Quadrant B ให้มีรูปแบบอัตลักษณ์สอดคล้องกับความต้องการของตลาดที่มีกำลังซื้อสูง ทั้งนี้ งาน “OTOP เพชรสมุทรคีรี ภูมิปัญญาแห่งแผ่นดิน อัตลักษณ์สู่สากล” มีกำหนดจัดขึ้นใน 4 จังหวัดท่องเทียวทั่วไทย ได้แก่ วันที่ 11-15 พฤศจิกายน 2560 ณ ศูนย์การค้าแพชชั่น ช๊อปปิ้ง เดสติเนชั่น จังหวัดระยอง วันที่ 22-26 พฤศจิกายน 2560 ณ ศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์ เชียงใหม่ วันที่ 29 พฤศจิกายน-3 ธันวาคม 2560 ณ ศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์ ประตูน้ำ กรุงเทพฯ และวันที่ 13-17 ธันวาคม 2560 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซาจังหวัดอุดรธานี “การจัดงานครั้งนี้มุ่งให้เกิดการซื้อชายสินค้าและบริการการท่องเที่ยวโดยตรงแบบถึงมือผู้บริโภค สร้างการรับรู้ ขยายฐานตลาด ประชาสัมพันธ์ เชื่อมโยงสินค้าและบริการการท่องเที่ยว จากกลุ่มเพชรสมุทรคีรีให้เป็นที่รู้จักและเดินทางมาท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งสร้างมูลค่าทางการตลาดของสินค้า OTOP ให้ยกระดับขึ้นสู่สากล” นางสาวนันทนา หวังธงชัยเจริญ พัฒนาการจังหวัดสมุทรสาคร กล่าวว่า กรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานหลักที่ดำเนินการตามโครงการ “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” เพื่อทำให้ประชาชนในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น และมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ให้เป็นสินค้าที่มีคุณภาพ และส่งออกผลิตภัณฑ์ OTOP ไปยังต่างประเทศได้ ทั้งนี้ กรมการพัฒนาชุมชนได้แบ่งกลุ่มประเภทผลิตภัณฑ์ ตามมาตรฐานออกเป็น 4 Quadrant ดังนี้ (1) Quadrant A (ดาวเด่น) (2) Quadrant B (เอกลักษณ์) (3) Quadrant C (พัฒนา) และ (4) Quadrant D (ปรับตัว) สำหรับ แนวคิด Thailand 4.0 เป็นการพัฒนาประเทศเพื่อขับเคลื่อนสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยมุ่งเน้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการสร้างสรรค์ผลผลิต และนวัตกรรมใหม่ๆ ออกสู่ตลาด จึงทำให้ต้องกลับมาทบทวนผลิตภัณฑ์ OTOP ที่อยู่ในกลุ่ม Quadrant B ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพสูงที่สามารถพัฒนาสร้างสรรค์ผลผลิต และนวัตกรรมใหม่ๆ ในลักษณะของ Premium OTOP ได้อย่างครบถ้วน ทั้งกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำ (การปรับเปลี่ยนรูปแบบผลิตภัณฑ์) กลางน้ำ (การพัฒนาคุณภาพและกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์) และปลายน้ำ (การเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย) โดยเฉพาะการขยายกำลังการจำหน่ายในตลาดที่มีกำลังซื้อสูง และผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นที่มีเอกลักษณ์สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ดังนั้น หากมีการสนับสนุนให้ผลิตภัณฑ์ OTOP ที่อยู่ในกลุ่ม Quadrant B ได้รับการยกระดับในทุกๆ มิติที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงคุณภาพและรูปแบบของผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดที่มีกำลังซื้อสูง และการเพิ่มช่องทางขาย รวมถึงการนำเสนอผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่ม Quadrant B ที่เข้าร่วมโครงการให้สามารถจำหน่ายได้เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งกิจกรรมต่างๆ ของโครงการจะช่วยให้ผู้ผลิต และผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ OTOP ที่อยู่ในกลุ่ม Quadrant B มีแนวทางในการพัฒนากลยุทธ์เพื่อสร้างช่องทางการตลาดใหม่ๆ ด้วยตนเอง และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับฐานรากให้เป็นไปด้วยความมีประสิทธิภาพในระยะยาว ด้าน นายชาธิป ตั้งกุลไพศาล กรรมการผู้จัดการบริษัท ประชารัฐรักสามัคคี (วิสาหกิจเพื่อสังคม) สมุทรสาคร จำกัด กล่าวถึงแนวทางการทำตลาด Premium OTOP ว่า กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2 ประกอบด้วย 4 จังหวัด ได้แก่ เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม ซึ่งมีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ และเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวทุกระดับ รวมถึงมีธุรกิจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวที่หลากหลายรูปแบบจำนวนมาก และมีผลิตภัณฑ์ OTOP ที่อยู่ในกลุ่ม Quadrant B ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว จำนวนมากถึง 165 รายและสามารถนำมาเข้าสู่กระบวนการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น หากมีการสนับสนุนให้ผลิตภัณฑ์ OTOP ที่อยู่ในกลุ่ม Quadrant B ได้รับการยกระดับในทุกๆ มิติที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงคุณภาพและรูปแบบของผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดที่มีกำลังซื้อสูง และการเพิ่มช่องทางขาย รวมถึงการนำเสนอผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่ม Quadrant B ที่เข้าร่วมโครงการให้สามารถจำหน่ายได้เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งกิจกรรมต่างๆ ของโครงการจะช่วยให้ผู้ผลิต และผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ OTOP ที่อยู่ในกลุ่ม Quadrant B มีแนวทางในการพัฒนากลยุทธ์เพื่อสร้างช่องทางการตลาดใหม่ๆ ด้วยตนเอง และกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับฐานราก เมื่อสินค้าได้รับการพัฒนารูปแบบ มีมิติ มีความสร้างสรรค์และมีอัตลักษณ์เฉพาะถิ่น กลุ่มเป้าหมายในการทำการตลาดจะเปลี่ยนแปลงไป จะมีความชัดเจนและตลาดเป้าหมายมีกำลังซื้อมากขึ้น ขณะที่ นายอยุทธ์ ตชะสุกิจ ผู้อำนวยการศูนย์เพิ่มมูลค่าผลผลิตและออกแบบผลิตภัณฑ์สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กล่าวว่า การออกแบบพัฒนาละชิ้นงาน ต้องศึกษาร่วมกันกับเจ้าของผลิตภัณฑ์ และช่วยมองแนวทางตลาดที่เหมาะสมให้กับสินค้าแต่ละตัว ทั้งหมดมี 25 ตัว แต่ละตัวมีเอกลักษณ์เฉพาะ โดดเด่น บอกถึง ภูมิปัญญาแนวคิดและวิถีชีวิตของชุมชน ที่ผู้ออกแบบตั้งใจแฝงไว้ภายใต้อัตลักษณ์ของแต่ละชิ้นงาน สำหรับงานครั้งนี้เป็นการรวมตัวของผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว ผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ระดับคุณภาพ และมีชื่อเสียงของกลุ่มเพชรสมุทรคีรี อาทิ เครื่องประดับไทยประยุกต์ ชุดถาดจิ๊กซอจากไม้ตะบูน เครื่องเบญจรงค์ ดอกไม้จากใบตาล สำเภามหาสมบัติเป่าฉวน ผ้าทอจากบ้านเขาเต่า เครื่องจักสานจากหวาย ผลิตภัณฑ์จากกะลา นอกจากนี้ยังมีสินค้าอุปโภค บริโภคคุณภาพอื่นๆ อีกมากมาย จากกลุ่มผู้ประกอบการจังหวัดเพชรสมุทรคีรี