เมืองชาละวันจ่อใกล้จุดวิกฤตเหตุชาวพิจิตรที่อยู่ กทม. และพื้นที่ควบคุมสูงสุดซึ่งมีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิดที่ประกาศล็อกดาวน์ทำให้มีทั้งผู้ที่ตกงานและผู้ที่ติดเชื้อโควิดแต่หาที่ตรวจหาที่รักษาไม่ได้ต่างแห่พากันขอเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลต่างๆของจังหวัดพิจิตร ส่งผลให้ตึกและเตียงที่มีอยู่ไม่พอให้บริการ ล่าสุด รพ.ชุมชน ตามอำเภอต่างๆเร่งสร้างโรงพยาบาลสนาม บางแห่งเพิ่มลงมือสร้าง บางแห่งสร้างยังเสร็จไม่สมบูรณ์ก็มีผู้ป่วยโควิดจองรอคิวขอใช้บริการกันแล้ว วันที่ 13 กรกฎาคม 2564 ความคืบหน้าจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิดที่ส่งผลให้ชาวพิจิตรที่ไปทำงานอยู่ใน กทม. และ จังหวัดต่างๆ ที่มีการประกาศล็อกดาวน์ทำให้ชาวพิจิตรที่อยู่จังหวัดต่างๆ มีทั้งผู้ที่ตกงาน มีทั้งผู้ที่ติดเชื้อโควิด แต่หาที่ตรวจและหาที่รักษาไม่ได้ ต่างแห่กันขอกลับบ้านเกิดหวังว่าจะมีที่พักรักษาตัว แต่ปรากฏว่าเตียงในโรงพยาบาลต่างๆ ของจังหวัดพิจิตร เริ่มเต็มแล้ว หากมีผู้ป่วยโควิดต้องนอนเตียงเสริมในโรงพยาบาลสนาม อุปกรณ์มีเพิ่ม แต่บุคลากรมีเท่าเดิมที่เพิ่มขึ้นคือต้องทำ OT ล่าสุด นพ.กมล กัญญาประสิทธิ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิจิตร ได้ลงพื้นที่ไปดูความคืบหน้าของ รพ.สนามที่ รพ.สากเหล็ก ซึ่งเป็นโรงพยาบาลขนาดเล็กไม่มีอาคารผู้ป่วยใน แต่พอถึงจุดวิกฤตที่ชาวอำเภอสากเหล็กมีผู้ติดเชื้อโควิดเป็นจำนวนมาก รวมถึงมีชาวสากเหล็กที่ไปทำงาน ไปทำมาหากินในพื้นที่ล็อกดาวน์ติดเชื้อโควิดต่างแห่พากันขอกลับบ้านเพื่อขอที่พักรักษาตัว ซึ่ง นพ.ประทีป จันทร์สิงห์ ซึ่งเป็น ผอ.รพ.สากเหล็ก และ รพ.วังชาละวันคืนถิ่นติดโควิดส่งผลเตียงไม่พอ สสจ.พิจิตรสั่งเร่งสร้างรพ.สนาม โดยเช่ามาเดือนละ 5 หมื่นบาท สามารถรองรับผู้ป่วยได้ 12 เตียง เหตุที่เช่ามาเพราะต้องการความรวดเร็วและให้ทันกับการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของผู้ป่วยที่ต้องการเตียงพักรักษาตัว เดิมทีเดียวจะสร้างแค่ 1 เต็นท์ แต่พอถึงเวลาใช้งานจริงกลับมีผู้ป่วยเกือบ 30 คน ร้องขอใช้บริการจึงได้ตัดสินใจสร้างเต็นท์ที่ 2 ขึ้น โดยใช้เวลาแค่เพียง 24 ชั่วโมง ซึ่ง ทุกวันนี้มีผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิดขอเข้ารับการรักษาใน จ.พิจิตร ทุกวันๆ ละ 20-30 ราย ที่มาจากกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงคนป่วยโควิดที่อยู่ในพื้นที่อำเภอสากเหล็กต่างทยอยเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลสนามทั้ง 2 เต็นท์ กันอย่างต่อเนื่อง โดยมี นายทองสุขวัฒน์ หลากสุขถม นายกเทศมนตรีตำบลสากเหล็ก และผู้นำชุมชนร่วมให้การสนับสนุนภารกิจในครั้งนี้ โดย นพ.กมล สสจ.พิจิตร ให้สัมภาษณ์ว่าขณะนี้ตึกและเตียงที่ใช้รองรับผู้ป่วยโควิดในโรงพยาบาลต่างๆของพิจิตรต้องยอมรับว่าเตียงเต็มแล้ว แต่ทุกฝ่ายพยายามขยายด้วยการสร้างโรงพยาบาลสนามเพื่อรองรับผู้ป่วยที่เป็นชาวจังหวัดพิจิตรแล้วขอมารักษาตัวให้ได้มากที่สุด โดยจัดสร้างโรงพยาบาลสนามในรูปแบบเต็นท์ชั่วคราว แต่หลังจากนี้มีการสนับสนุนงบประมาณจะสร้างเป็นโรงพยาบาลสนามแบบเป็นอาคารพื้นปูนมีฝาผนังและหลังคาโครงเหล็กเป็นมาตรฐานรองรับได้เกือบ 40 เตียง ใช้งบประมาณไม่เกิน 1 ล้านบาท การก่อสร้างเป็นรูปแบบการประกอบชิ้นส่วนแบบน็อคดาวน์ใช้เวลาก่อสร้างไม่เกิน 20 วันแล้วเสร็จซึ่งจะเป็นความหวังใหม่ของผู้ป่วยโควิดที่จะมีที่พักรักษาตัว ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมของสถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิดของจ.พิจิตร เมื่อวานนี้ (12 ก.ค. 64)มีผู้ป่วยรายใหม่ 15 ราย ผู้ป่วยรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 210 ราย แบ่งเป็นผู้ป่วยอยู่ในโรงพยาบาลสนาม 98 ราย (โรงพยาบาลสนามอุทยานบัวบึงสีไฟซึ่งผู้ป่วยจำนวนดังกล่าวทำให้เตียงเต็มแล้ว)รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลต่างๆ 112 ราย รวมถึงยังมีผู้ป่วยที่อยู่ตามบ้านรอเตียงอีกเป็นจำนวนไม่น้อยเช่นกัน รวมตัวเลขผู้ป่วยสะสมขณะนี้ 367 ราย