ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รุนแรงและขยายวงกว้างขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งรัฐบาลต้องประกาศล้อกดาวน์ 10 จังหวัดอีกครั้งนั้น ล่าสุด นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้โพสต์ ข้อความโดยระบุว่า โควิด-19 วัคซีน การให้วัคซีนให้ได้ประโยชน์สูงสุดในทรัพยากรที่จำกัด การสลับวัคซีน วัคซีน โควิด-19 ทุกชนิดสามารถลดการป่วยรุนแรง การนอน ICU และการเสียชีวิตได้ ในปัจจุบัน ไวรัสมีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรม เป็นสายพันธุ์ใหม่มาโดยตลอด ปัจจุบันมีแนวโน้มสายพันธุ์เดลตา จะครองโลก สายพันธุ์เดลตา จะลดประสิทธิภาพของวัคซีนลง ดังนั้นการให้วัคซีนจึงต้องการภูมิต้านทานที่สูง การศึกษาของทางศูนย์เชียวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก พบว่า การให้วัคซีนเข็มแรกเชื้อตาย (Sinovac) และเข็มที่ 2 ในเวลา 3-4 สัปดาห์ต่อมา เป็นไวรัสเวกเตอร์ (AstraZeneca) พบว่าภูมิต้านทานหลังเข็ม 2 ที่ 1 เดือน จะสูงขึ้นมากกว่าการให้ Sinovac 2 เข็ม ประมาณ 8 เท่า และมีเปอร์เซ็นต์การขัดขวางไวรัสสูงถึง 95% inhibition มากกว่า 95% แต่ถ้าให้วัคซีน Sinovac 2 เข็ม และตามด้วยกระตุ้น AstraZeneca ผลภูมิต้านทานทานจะสูงขึ้นไปอีกมาก (มากกว่า 30 เท่า) (ข้อมูลยังมีน้อยและกำลังศึกษาอยู่) การให้วัคซีนสลับเข็ม ที่ผ่านมา มีการและลงทะเบียนในหมอพร้อม ประมาณ 1000 ราย ไม่พบอาการข้างเคียงรุนแรง ทางศูนย์ฯ ยังศึกษาอย่างต่อเนื่อง และ ภายในสิ้นเดือนนี้จะได้ข้อมูลละเอียดยิ่งขึ้น รวมทั้งความปลอดภัยจากการศึกษาทางคลินิก