สทนช. ขานรับนโยบายรัฐ เดินหน้าโครงการศึกษาแผนหลักแบบบูรณาการเพื่อการบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้ง พื้นที่เฉพาะ (Area Based) มูลตอนกลาง บุรีรัมย์-สุรินทร์ มุกดาหาร เร่งวางแนวทางการบริหารจัดการน้ำ คาดแล้วเสร็จเดือนกรกฎาคม 2565 วันนี้ (6 กรกฎาคม 2564) นายชยันต์ ศิริมาศ ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธานเปิดการประชุมปฐมนิเทศโครงการ“โครงการศึกษาแผนหลักแบบบูรณาการเพื่อการบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้ง พื้นที่เฉพาะ (Area Based) มูลตอนกลาง บุรีรัมย์-สุรินทร์” ณ สำนักงานจังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อนำเสนอแนวคิดในการศึกษาโครงการ พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ตลอดจนสภาพปัญหา ข้อวิตกกังวลต่างๆจากกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง โดยมีนายอัตถพงษ์ ฉันทานุมัติ ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผนแม่บท สทนช.และผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย คณะกรรมการลุ่มน้ำสาขา ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สื่อมวลชน และประชาชนในพื้นที่ร้อยเอ็ดและมหาสารคาม โดยบริษัทที่ปรึกษา ณ ห้องประชุมโรงแรมเมืองบัวการ์เด้น บ้านเมืองบัว ต.เมืองบัว อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด โดยจัดด้านมวลชนสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของประชาชน ขึ้น2จุด และอีกที่หนึ่งที่จังหวัดมหาสารคาม เป็นแบบระบบออนไลน์กับสทนช.ส่วนกลาง กิจกรรมประกอบด้วย พิธีเปิด,วีดิทัศน์นำเสนอข้อมูลโครงการฯ,วิธีการศึกษาฯ,นำเสนอปัญหา สาเหตุ และแนวคิดในการแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งในพื้นที่ศึกษา,สรุปประเด็นประชุมและข้อเสนอแนะ นายอัตถพงษ์ ฉันทานุมัติ ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผนแม่บท กล่าวว่า คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ มีมติเห็นชอบให้สํานักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นหน่วยงานหลักในการ บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยการจัดทําแผนแม่บทการแก้ไขปัญหาเชิงพื้นที่อย่างเป็นระบบ(ปี 2561 – 2565) เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2561 โดยในวันนี้เป็นโครงการศึกษาแผนหลักแบบบูรณาการเพื่อการบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้ง พื้นที่เฉพาะ(Area Based)น้ำมูลตอนกลาง บุรีรัมย์-สุรินทร์ โดยมีพื้นที่ศึกษาครอบคลุม 61 อำเภอใน 5 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด และศรีสะเกษ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีสภาพปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งอยู่ในเกณฑ์สูงเพื่อดำเนินการหามาตรการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน เมื่อการศึกษาโครงการศึกษาแผนหลักแบบบูรณาการเพื่อการบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้ง พื้นที่เฉพาะ (Area Based) มูลตอนกลาง บุรีรัมย์-สุรินทร์”แล้วเสร็จ จะได้รับแผนหลักแบบบูรณาการ (Integrated Master Plan) และบูรณาการโครงการนำร่องเพื่อบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้งในพื้นที่ จำนวน 12 โครงการเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาและบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้งในพื้นที่อย่างเป็นระบบเพื่อสร้างความมั่นคงด้านน้ำควบคู่ไปกับการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพ “ทั้งนี้ สทนช. คาดว่า โครงการจะทำการศึกษาแล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2563 โดยผลการศึกษาที่ได้รับจะเป็นแนวทางในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และแก้ไขปัญหาภัยพิบัติทางน้ำในพื้นที่ ทั้งอุทกภัย ภัยแล้ง และคุณภาพน้ำเพื่อเป็นการสร้างความมั่นคงด้านน้ำได้อย่างยั่งยืนต่อไป” นายอัตถพงษ์ ฉันทานุมัติ ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผนแม่บท สทนช.กล่าว