โดยกทม.ยังพบป่วยรายวันสูงสุด 1,492 ราย ตายสูงสุด 33 ราย สำหรับคลัสเตอร์ใหม่วันนี้มี 7 จุด ใน 6 จังหวัดดังนี้ กทม.1 จุด สถานพยาบาล (สถาบันประสาทวิทยา) เขตราชเทวี 47 ราย , สมุทรสาคร โรงงานผ้าอ้อม 9 ราย , ชลบุรี แคมป์ก่อสร้าง บางละมุง 12 ราย , นนทบุรี ชุมชนหลังเมเจอร์ ปากเกร็ด 44 ราย , ปทุมธานี โรงงานอะลูมิเนียม ธัญบุรี 19 ราย และ โรงงานผลิตภัณฑ์อาหาร ลาดหลุมแก้ว 15 ราย , ตาก โรงงานเสื้อผ้า แม่สอด 61 ราย ขณะที่การติดเชื้อในปท.วันนี้ 6,154 ราย มาจากต่างประเทศ 12 ราย วันนี้ไม่มีรายงานลอบเข้าประเทศตามช่องทางธรรมชาติ ยอดติดเชื้อจากเรือนจำ/ที่ต้องขัง ลดลง 37 ราย  ยอดหายป่วย 3,586 ราย ยังรักษาอยู่ 65,297 ราย อาการหนักรวมโคม่า 2,350 ราย วันที่ 6 ก.ค.2564  ที่ศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 (ศบค.) นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) รายงานสถานการณ์ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ใน ประเทศไทย ซึ่งล่าสุดพบผู้ติดเชื้อรายใหม่อีก 5,420 ราย โดยเป็นการติดเชื้อในประเทศ 5,412 ราย (แยกเป็นจากระบบเฝ้าระวังและบริการสุขภาพ 4,070 ราย จากการตรวจคัดกรองเชิงรุกในชุมชน 1,305 ราย จากเรือนจำ/ที่ต้องขัง 37 ราย) และเดินทางมาจากต่างประเทศอีก 8 ราย รวมยอดผู้ป่วยสะสม 294,653 ราย วันนี้มีผู้เสียชีวิตอีก 57 ราย ทำให้ยอดเสียชีวิตขยับไปที่ 2,333 ราย รักษาหายเพิ่มอีก 3,586 ราย รวมยอดรักษาหาย 227,024 ราย ยังรักษาอยู่จำนวน 65,297 ราย เป็นการรักษาอยู่ในรพ.32,906 ราย รพ.สนาม 32,391 ราย ทั้งนี้มีผู้ป่วยอาการหนัก 2,350 ราย ในจำนวนผู้ป่วยหนักนี้ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจถึง 643 ราย เฉพาะการระบาดในระลอกเดือนเมษายน ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.- 6 ก.ค.64 พบผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 5,420 ราย โดยมีผู้ป่วยยืนยันสะสม 265,790 ราย รักษาหายเพิ่ม 3,586 ราย รวมรักษาหายแล้ว 196,597 ราย ยังรักษาอยู่จำนวน 65,297 ราย เสียชีวิต 57 ราย รวมเสียชีวิตสะสม 2,239 ราย รายละเอียดผู้เสียชีวิต 57 ราย เป็นเพศชาย 35 ราย เพศหญิง 22 ราย อายุ 25-91 ปี อยู่ในพื้นที่ กทม.มากที่สุด 33 ราย สมุทรปราการ 4 ราย นครปฐม ระยอง ปทุมธานี ชลบุรี สงขลา สระบุรี จังหวัดละ 2 ราย เพชรบุรี ฉะเชิงเทรา ตาก สมุทรสงคราม นราธิวาส ปัตตานี สกลนคร นครพนม จังหวัดละ 1 ราย โดยมีโรคประจำตัว เป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน  ไขมันในเลือดสูง โรคไต โรคหัวใจ โรคปอด มะเร็ง หลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นโรคประจำตัวที่เป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดความรุนแรงของโรคเพิ่มขึ้น  โดยในจำนวนนี้ เป็นการติดเชื้อจากคนในครอบครัว 11 ราย และคนอื่นๆ 20 ราย ซึ่งยังมากเช่นเดิม และอาศัยและเดินทางเข้าไปในพื้นที่ระบาด ถึง 15 ราย และ ไปในสถานที่แออัดพลุกพล่าน อาชีพเสี่ยง