รายงานจาก ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ ประเทศอังกฤษ หรือ Royal College of Physicians (RCP) ฉบับล่าสุด เรียกร้องให้ระบบบริการสุขภาพแห่งชาติของประเทศอังกฤษ ให้เงินช่วยเหลือหญิงตั้งครรภ์เพื่อให้เลิกบุหรี่ ขึ้นภาษีบุหรี่เป็นสองเท่าในอีก 5 ปีข้างหน้า และเพิ่มบริการช่วยเลิกบุหรีในหน่วยงานด้านสุขภาพเป็นสองเท่า และยังแนะนำด้วยว่า รัฐฯ ควรทุ่มงบประมาณในแคมเปญสื่อเพื่อกระตุ้นให้คนเปลี่ยนจากการสูบบุหรี่มาใช้บุหรี่ไฟฟ้าซึ่งมีอันตรายน้อยกว่าการสูบบุหรี่ ในรายงาน ระบุถึงความกังวลว่าเป้าหมายการเป็นประเทศปลอดบุหรี่ภายในปี 2030 ที่อังกฤษตั้งเป้าหมายว่าจะทำให้ผู้สูบบุหรี่ในประเทศเหลือต่ำกว่า 5% แต่ราชวิทยาลัยฯ เตือนว่ารัฐบาลอังกฤษอาจต้องขยับเป้าหมายออกไปเป็นปี 2050 หากไม่มีการเพิ่มความเข้มงวดในการควบคุมบุหรี่ให้มากขึ้นเช่นการขึ้นภาษียาสูบร่วมกับการออกมาตรการแบบผสมผสานเพื่อช่วยผู้สูบบุหรี่ให้เลิกบุหรี่ได้ ทั้งการใช้นิโคตินทดแทน (nicotine replacement therapy) และแนะนำการใช้บุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งตอนนี้ยังไม่ได้อยู่ในใบสั่งยาของแพทย์ “งบประมาณในแคมเปญสื่อต้องมีการปรับปรุงใหม่ เช่นในปี 2008 ซึ่งมีการใช้งบประมาณรณรค์ผ่านสื่อต่างๆ กว่า 23 ล้านปอนด์ เงินจำนวนนี้ควรนำไปทำแคมเปญสนับสนุนให้ผู้สูบบุหรี่เปลี่ยนมาใช้บุหรี่ไฟฟ้าแทน” สหราชอาณาจักรและประเทศต่างๆกำลังเผชิญกับความท้าทายด้านสาธารณสุขที่สำคัญ การระบาดของโรคโควิด -19 เป็นปัญหาที่ใหญ่ที่สุดต่อสหราชอาณาจักรและประชาคมโลกในรอบหลายทศวรรษ และมีการตอบสนองด้านสาธารณสุขและเศรษฐกิจในแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน ในปี 2020 ในขณะที่โควิด-19 คร่าชีวิตพลเมืองสหราชอาณาจักรราว 80,000 คน การสูบบุหรี่นั้นทำให้เสียชีวิตถึง 94,000 คน ศาสตราจารย์จอห์น บริตตัน คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านการควบคุมยาสูบของราชวิทยาลัยฯ กล่าวว่า "เราสามารถป้องกันการสูบบุหรี่ได้ แต่เราต้องใช้มาตรการอย่างเข้มข้น เช่น การขึ้นภาษีและการให้บริการช่วยเหลือผู้สูบบุหรี่ รวมทั้งจัดการกับการโฆษณาเผยแพร่ภาพการสูบบุหรี่ตามสื่อต่างๆ ซึ่งยังคงเป็นปัญหาต่อเนื่องที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข” “มาตรการที่เข้มข้นจะช่วยป้องกันการเสียชีวิตของผู้สูบบุหรี่ ลดภาระบริการด้านสุขภาพและสังคมเนื่องจากยาสูบ และลดความเหลื่อมในมิติสุขภาพ สังคมและเศรษฐกิจ” ศาสตราจารย์ จอน เบนเน็ตต์ ประธาน สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศอังกฤษ กล่าวว่า "การที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ถือเป็นโอกาสทองที่จะช่วยพวกเขาให้เลิกสูบบุหรี่อย่างถาวร ต้องให้ความสำคัญกับการส่งต่อผู้ป่วยทุกรายที่สูบบุหรี่ ให้กับศูนย์บริการช่วยเลิกบุหรี่ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการฯ ในการให้คำปรึกษาเลิกบุหรี่ รวมทั้งเปิดทางเลือกให้ผู้สูบบุหรี่เข้าถึงผลิตภัณฑ์ทางเลือกที่ช่วยเลิกบุหรี่แบบครอบคลุม เช่น ผลิตภัณฑ์ทดแทนนิโคติน“เราเห็นด้วยกับราชวิทยาลัยฯ ว่ามาตรการเหล่านี้ไม่เพียงพอ และควรใช้ควบคู่กับมาตราการด้านภาษีและกฎหมายคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ในสถานที่สาธารณะ” ในปี 2019 สหราชอาณาจักรมีผู้สูบบุหรี่ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป 14.1% หรือประมาณ 6.9 ล้านคน ข้อมูลอ้างอิง: https://www.dailymail.co.uk/news/article-9597515/NHS-enrol-smokers-progr...