อว. เผยฉีดวัคซีนทั่วโลกแล้ว 1,845 ล้านโดส ใน 197 ประเทศ/เขตปกครอง ส่วนอาเซียนฉีดแล้วทุกประเทศ รวมกันกว่า 51.34 ล้านโดส ไทยฉีดแล้วมากกว่า 3.548 ล้านโดส เมื่อวันที่ 30 พ.ค. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยข้อมูลสถิติการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั่วโลกแล้ว 1,845 ล้านโดส ใน 197 ประเทศ/เขตปกครอง โดยขณะนี้อัตราการฉีดล่าสุดรวมกันทั่วโลกที่ 31.5 ล้านโดสต่อวัน และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อพิจารณารายประเทศพบว่าอิสราเอลได้ฉีดวัคซีนครอบคลุมเกินครึ่งของประชากรแล้ว ในขณะที่สหรัฐอเมริกา มีจำนวนการฉีดวัคซีนสูงที่สุดที่ 294 ล้านโดส โดยมีชาวอเมริกันกว่า 134 ล้านคนได้รับวัคซีนครบ 2 โดสแล้ว" ด้านอาเซียนขณะนี้ทุกประเทศได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แล้ว มียอดรวมกันที่ประมาณ 51.34 ล้านโดส โดยสิงคโปร์ฉีดวัคซีนในสัดส่วนประชากรมากที่สุดในภูมิภาค (32.7% ของประชากร) ในขณะที่อินโดนีเซียฉีดวัคซีนในจำนวนมากที่สุดที่ 26.889 ล้านโดส สำหรับประเทศไทยข้อมูล ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2564 ได้ฉีดวัคซีนแล้วกว่า 3,548,330 โดส โดยฉีดให้กับประชาชนในพื้นที่เสี่ยงมากที่สุดในสัดส่วนกว่า 39.9% ในการฉีดวัคซีน จำนวน 1,845 ล้านโดสนี้ อว. ขอรายงานสถิติที่สำคัญ คือ 1.ประเทศที่ฉีดวัคซีนแล้วมากที่สุด 4 ประเทศลำดับแรกที่ฉีดวัคซีนมากกว่า 100 ล้านโดส รวมกันเกือบ 60% ของปริมาณการฉีดวัคซีนทั่วโลก 1.จีน จำนวน 602.99 ล้านโดส (21.5% ของจำนวนการฉีดทั่วโลก) 2.สหรัฐอเมริกา จำนวน 293.71 ล้านโดส (45.8%) 3.สหภาพยุโรป จำนวน 242.05 ล้านโดส (27.3%) 4.อินเดีย จำนวน 211.84 ล้านโดส (7.7%) 2.ประเทศที่ฉีดวัคซีนครอบคลุมประชากรมากที่สุด มี 10 ประเทศที่ฉีดวัคซีนให้กับประชากรอย่างน้อย 25% แล้ว ได้แก่ (เฉพาะประเทศที่มีประชากรมากกว่า 500,000 คน) 1.มัลดีฟส์ (63.5%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford และ Sinopharm ) 2.สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (59.3%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech, Sinopharm และ Gamaleya) 3.อิสราเอล (58.3% ของประชากร) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech และ Moderna) 4.บาห์เรน (56.3%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech, Sinopharm และ Gamaley) 5.สหราชอาณาจักร (47.9%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford Moderna และ Pfizer/BioNTech) 6.ชิลี (47.7%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech และ Sinovac) 7.สหรัฐอเมริกา (45.8%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech Moderna และ Johnson&Johnso 8.กาตาร์ (44.6%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech) 9.ฮังการี (44.3%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech, Sinopharm และ Gamaley) 10.อุรุกวัย (39.2%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca, Pfizer และ Sinovac) 3.จำนวนการฉีดวัคซีนแยกตามภูมิภาค 1.เอเชียและตะวันออกกลาง 55.07% 2.อเมริกาเหนือ 19.22% 3.ยุโรป 17.45% 4.ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน 6.32% 5.แอฟริกา 1.67% 6.โอเชียเนีย 0.27% 4.ในภูมิภาคอาเซียน ได้ฉีดวัคซีนแล้วครบ 10 ประเทศ รวมจำนวน 51,341,158 โดส ได้แก่ 1.อินโดนีเซีย จำนวน 26,889,189 โดส (5%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinovac และ AstraZeneca 2.ฟิลิปปินส์ จำนวน 5,120,023 โดส (2.3%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinovac, Pfizer, Sputnik V และ AstraZeneca 3.กัมพูชา จำนวน 4,329,034 โดส (12.8%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinopharm, AstraZeneca และ Sinovac 4.สิงคโปร์ จำนวน 3,728,869 โดส (32.7%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Pfizer และ Moderna 5.ไทย จำนวน 3,548,330 โดส (2.7%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinovac และ AstraZeneca 6.พม่า จำนวน 2,994,900 โดส (2.8%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca 7.มาเลเซีย จำนวน 2,786,152 โดส (4.3%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Pfizer, AstraZeneca และ Sinovac 8.เวียดนาม จำนวน 1,038,741 โดส (0.5%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca 9.ลาว จำนวน 872,070 โดส (5.9%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinopharm, Sputnik V 10.บรูไน จำนวน 33,850 โดส (3.8%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca และ Sinopharm ***คำนวณจากจำนวนฉีด/จำนวนประชากร/2 เหมือนกันทุกประเทศ 5.ข้อมูลการฉีดวัคซีนล่าสุดของประเทศไทย ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2564 จัดสรรวัคซีนแล้วทั้งหมด 3,952,628 โดส จำนวนการฉีดวัคซีนสะสม 3,548,330 คน ใน 77 จังหวัด แบ่งเป็น -เข็มแรก 2,453,807 โดส -เข็มสอง 1,094,523 โดส แหล่งข้อมูล Bloomberg Vaccine Tracker, กระทรวงสาธารณสุข ประมวลข้อมูลโดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)