“มันต้องแยกออกจากกัน จิตส่วนจิต กายส่วนกาย และสิ่งที่เหลือไว้ของท่านตั้งแต่ทรงพระเยาว์จนผ่านมาถึงวันที่สวรรคตและต่อจากนั้นมา 1 ปีมันยังอยู่ เพียงแต่มันจะมากขึ้นหรือน้อยลงขึ้นอยู่กับประชาชน ที่จะทำให้ยังอยู่มากหรืออยู่นานแค่ไหนเท่านั้น ท่านไม่เคยหายไปจากความเป็นอยู่ใดๆ เลย อ้อมไม่เคยรู้สึกเพราะสิ่งที่พระองค์ทรงทำมาตลอดนั่นแหละคือความคงอยู่” วันที่ 13 ต.ค.2559 วันแห่งการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของพสกนิกรชาวไทย ผ่านมาครบ 1 ปีแล้ว และใกล้วัน พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เข้าไปทุกที ID-Talk ได้มีโอกาสพูดคุยกับ “ดีเจอ้อม” สุนิสา สุขบุญสังข์ ดีเจวิทยุคลื่นอีเอฟเอ็ม 104.5 แห่ง เอ-ไทม์ มีเดีย เกี่ยวกับความประทับใจที่เธอมีต่อพระองค์ท่านและ 1 ปีที่ไม่มีพ่อ 0000000000000000000000 -ภาพจำเกี่ยวกับในหลวงรัชกาลที่ 9 สำหรับอ้อม ภาพจำของในหลวงมีเยอะมาก แล้วแต่ว่าอยู่ในช่วงเวลาไหน เราโตมากับข่าวพระราชสำนัก ภาพที่เห็นคือพระองค์ท่านทรงงานไปในถิ่นธุรกันดารไปเจอกับคนไทยทั่วประเทศ ทั้งที่อาศัยตามชายแดน คนไทยชายขอบ และหนึ่งในความประทับใจของอ้อม มีอยู่ช่วงหนึ่งที่อ้อมได้ไป จ.ลำพูน ที่ห้วยต้ม ไปเจอกับชาวปกาเกอะญอที่เขาตามหลวงปู่ครูบาวงศ์ลงมาจากเขามาอยู่บนพื้นราบ เขาบอกว่าคนที่เขารักที่สุดมี 2 คน ก็คือหลวงปู่กับในหลวง พูดแล้วก็จะน้ำตาไหล เพราะที่ดินที่เขาอยู่นั้นเมื่อก่อนมันไม่สามารถทำมาหากินได้ง่ายเพราะหน้าดินไม่ดี แต่เมื่อในหลวงท่านเสด็จฯ และทรงทราบปัญหาของเกษตรกรที่นั่น ก็ช่วยแก้ไขปัญหาให้คนที่นั่นมีแหล่งทำกิน อ้อมจำได้ติดตาวันที่อ้อมคุยกับเขา เขาพูดถึงในหลวงแล้วน้ำตาไหล เขาเกิดมาเขาได้เฝ้าฯ ในหลวง เราเห็นได้เลยว่ามันมีความรัก ความศรัทธาอยู่ตรงนั้น เราไม่ได้เห็นแค่ภาพที่พระองค์ทรงงาน แต่ผลของงานที่พระองค์ทรงลงมือทำ มันส่งต่อไปยังคนที่ได้รับจริงๆ นั่นเป็นความรู้สึกประทับใจสำหรับอ้อม จะมีใครกี่คนที่ทำเพื่อคนอื่น...มันยาก เวลาพูดมันง่าย แต่การทำเพื่อคนอื่นเป็นจำนวนมหาศาล สำหรับคนๆหนึ่ง ทั้งที่พระองค์ท่านไม่ต้องทำขนาดนี้ก็ได้...เป็นสิ่งที่อ้อมรู้สึกประทับใจ -คำสอนของพระองค์ท่านที่เป็นแรงบันดาลใจ พระองค์ท่านทรงเป็นผู้มีพระปรีชาสามารถในหลากหลายมิติ แต่สิ่งหนึ่งที่เด่นชัดสำหรับอ้อม พระองค์ท่านทรงเป็น “ครู” เป็นครูที่ทำให้ดูไม่ว่าจะเรื่องอะไร ถ้าคุณอยากจะเล่นกีฬาลงมือเล่นให้สุด ประกอบเรือต่อเรือเองก็ทำได้ จะทำการเกษตรเพาะปลูกก็ทดลองทำให้ดู เราจะได้เห็นภาพที่เกิดขึ้นในโครงการจิตรลดา ในส่วนที่กันไว้เป็นโครงการและอีกหลายๆ จุด ถามว่าพระองค์ท่านสั่งให้คนอื่นทำได้หรือไม่ มันไม่ยาก แต่พระองค์ลงมือร่วมทำด้วยกัน มีสักกี่คนที่ทำเช่นพระองค์ พระองค์ลงมือทำด้วยพระองค์เอง อ้อมถึงได้บอกว่า พระองค์ไม่ทำก็ได้ แต่พระองค์ทรงลงมือทำ เพราะถ้าไม่ทำจะรู้ได้อย่างไร ถามว่าจะมีใครสักกี่คนที่รู้แผนที่ประเทศไทยได้มากเท่าพระองค์ท่าน ทรงถามคนอื่นก็ได้ แต่บางครั้งคนอื่นยังตอบไม่ได้ แต่พระองค์ตอบได้ อ้อมไม่รู้จะเรียกว่าแรงบันดาลใจหรือเปล่า แต่นั่นคือการสอนที่ทำให้ดู เวลาพระองค์ท่านจะพูดเรื่อง “ประหยัด” “พอเพียง” พระองค์ท่านก็ทำให้ดู ไม่ได้บอกว่าต้องจน ต้องลำบาก ไม่ได้บอกว่าใช้ไม่ได้ แต่ใช้ให้เหมาะ ท่านก็ใช้ให้เหมาะ ไม่ต้องกดรสนิยมตนลงมา อย่างที่ท่านรู้จักใช้ เอายาสีฟันรีดใช้จนหมดและทำจริงๆ พระองค์ท่านลงมือทำมากที่สุดในทุกด้าน มันเป็นตัวอย่างที่ดีว่า เวลาเราอยากทำอะไรสักอย่าง เราก็ต้องทำจริงๆ ลองผิด ลองถูก บนข้อแม้ว่าต้องลองในสิ่งที่ถูกต้อง แต่ผลมันจะได้ดีแค่ไหน ก็เรียนรู้เอา สำหรับอ้อมคิดว่ามันเป็นอย่างนั้น -ได้ไปบวชถวายในหลวงที่อินเดียเมื่อปลายปี 2558 ความคิดแรกเริ่มของคุณอ้อมคืออะไร พระอาจารย์...ถามว่าจะไปบวชถวายในหลวงที่อินเดียไหม จะได้ไปดูชีน้อยให้ด้วย ก็รับปากเลย ไม่ได้คิดอะไร บางทีทำอะไรมันไม่ต้องใช้เวลาคิดนาน ถ้าเรารู้สึกว่าเราทำได้ เราก็ทำ ความจริงแล้วได้บวชครั้งแรกเมื่อปี 2552 ตอนนั้นจำได้ว่า พอบวชสักพักก็ต้องเป็นพี่เลี้ยงให้คนที่บวชถวายในหลวง แต่เราบวชก่อนและคณะแม่ชีก็ได้ไปลงนามถวายพระพร เราว่าคนไทยจะทำอะไร เวลาทำสิ่งที่ดีที่จะเกิดกุศล จะนึกถึงในหลวงเสมอ ถามว่าการบวชของเราเป็นประเด็นใหญ่ไหม เราก็ว่าไม่ เพราะเราก็เป็นคนอีกคนหนึ่งที่ทำถวายในหลวง แต่เราจะทำในรูปแบบของนักบวช หรือทำในแง่ของอะไรเท่านั้น เรารู้สึกว่าชาวพุทธไทยเชื่อว่า การบวช คือการทำกุศลที่ใหญ่และกุศลที่ใหญ่ถ้าเราจะอุทิศหรือถวายให้ใครได้ เราก็อยากจะให้คนที่เรารัก หรือคนที่เรารู้สึกเชื่อมั่น ศรัทธาในคุณธรรม มันไม่มีที่สุด ที่ประมาณให้ได้ น่าจะเป็นสักครั้งหนึ่งในชีวิต -1 ปี่ที่ไม่มีพ่อสำหรับคุณอ้อมเป็นอย่างไร สำหรับอ้อมพระองค์ยืนยันให้เห็นว่า คนเรากายก็ส่วนหนึ่ง จิตก็ส่วนหนึ่ง คือที่เราเรียกกันว่าสังขารร่างกาย อาจจะกำลังจะสลายในอีกไม่กี่วันข้างหน้า กายเนื้อในการทำงานมันจบแล้ว และกำลังจะสลายไปจริงๆ ส่วนจิตท่านก็ไปในที่ที่ควรอยู่ตั้งแต่ขณะนั้นแล้ว แต่สิ่งที่พระองค์ท่านทำมาทั้งหมดทั้งมวลมันไม่เคยหายไป ไม่ว่าใครก็เป็นแบบนี้ทั้งนั้น มันต้องแยกออกจากกัน จิตส่วนจิต กายส่วนกาย และสิ่งที่เหลือไว้ของท่านตั้งแต่ทรงพระเยาว์จนผ่านมาถึงวันที่สวรรคตและต่อจากนั้นมา 1 ปีมัน ยังอยู่ เพียงแต่มันจะมากขึ้นหรือน้อยลงขึ้นอยู่กับประชาชน ที่จะทำให้ยังอยู่มากหรืออยู่นานแค่ไหนเท่านั้น ท่านไม่เคยหายไปจากความเป็นอยู่ใดๆ เลย อ้อมไม่เคยรู้สึกเพราะสิ่งที่พระองค์ทรงทำมาตลอดนั่นแหละคือความคงอยู่ 0000000000000000000000 -คุณอ้อมได้เป็นพรีเซ็นเตอร์โครงการบูรณาการการช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ถูกกระทำรุนแรงและต่อต้านภัยการค้ามนุษย์ผ่านทางเฟสบุ๊คแฟนเพจ“Because We Care” ประจำปี 2560 เท่าที่ได้พูดคุยกัน เราชัดเจนว่าไม่อยากเป็นแค่สื่อที่เอาข่าวมาแล้วพูด เพราะว่าสิ่งนั้นเรายินดีพร้อมทำอยู่แล้ว และเชื่อว่าทุกสื่อก็ยินดีทำ แต่เราอยากจะช่วยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเยียวยา หรือว่าหาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น แล้วถ้าจะต้องพูด เราจะพูดอย่างเข้าใจ ในแง่ของกำลังใจ เรามีกำลังใจให้อยู่แล้ว ต่อให้เราไม่มีหน้าที่ตรงนี้เราก็พึงทำ แต่เราไม่มีโอกาส ไม่ใช่พูดตามเปเปอร์ว่าขอความร่วมมือ แต่พูดจากคอนเท็นต์ที่ทำขึ้นมาแล้วเราจะเข้าใจมัน เป็นเหมือนตัวแทนแล้วเล่าสู่คนที่เขาอาจจะยังไม่รู้ปัญหานี้ให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น บางครั้งอาชีพนี้อาจจะออกมาพูดอะไรแล้วมีคนสนใจเพิ่มขึ้นมากกว่าคนที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง อ้อมว่าน่าจะได้คุยกันว่า สิ่งที่เราเจอในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นฟีดแบ็กของคนฟังวิทยุ และคนที่เราเจอข้างนอก เขาเกิดผลกระทบอะไรกับสิ่งเหล่านี้ เราจะได้แชร์ได้บ้าง อย่าไปมองว่าการทารุณกรรมเด็กและผู้หญิงมันเกิดขึ้นเฉพาะในสังคมที่คนมองว่ายากลำบาก แต่การทำร้ายกัน ทำความรุนแรงมันเกิดขึ้นทุกสังคม เพียงแต่ว่าบางจุดบางสังคมเขาไม่กล้าพูด เพราะว่าความอาย ความอายทำให้คนไม่กล้าพูด แล้วพออ้อมฟังเรื่องแบบนี้ก็รู้สึกว่า ถ้าเป็นเรา เราจะกล้าพูดไหม เราต้องอายเรื่องแบบนี้ หรือเราควรพูดเพื่อรักษาสิทธิและความเป็นคนของเรา เพราะยิ่งถ้าเราอาย คนทำเขาก็ไม่หยุด แต่ถ้าทุกคนร่วมมือกัน คนทำจะได้หยุด -ปัญหาที่ผ่านมาคือเหยื่อไม่ได้ตระหนักสิทธิของตนเองหรือไม่ ต้องเห็นใจพวกเขานะ ไม่ว่าจะเป็นเหยื่อของการข่มขืน ตบ ตี รังแก เชื่อว่าเหยื่อตระหนักถึงสิทธิของตนเอง แต่มันเหนื่อยที่จะต้องพูด เหนื่อยที่จะเล่าว่าแย่ แล้วเหนื่อยกับความคิดที่จะเจอกับคนที่ต้องตั้งคำถามกับเขาว่าจริงหรือเปล่า หรือว่า จริงๆ แล้วเหยื่อเองต่างหากที่ผิด กลายเป็นว่าเฟลมาแล้วเรื่องหนึ่ง มาโดนซ้ำอีกเรื่องหนึ่ง ใจมันก็ตกนะ และบางทีเอาเหยื่อไปคุยกับทุกคนเลย แต่ปัญหาไม่ได้แก้ไข ให้เล่าแต่ปัญหา การที่เราตอกย้ำเล่าแต่ปัญหาแต่แล้วปัญหาไม่ได้เริ่มแก้ไข มันเหมือนกับโดนมีดเสียบทีหนึ่งแล้วเหมือนโดนเสียบอีก 10 หน มันเจ็บทุกครั้งที่พูด บางคนการพูดอาจจะเยียวยาได้ แต่สำหรับบางคนนั้นไม่ใช่ เพราะมันต้องเฝ้าสังเกตกันในแต่ละกรณี ว่าเหยื่อต้องการแบบไหน มันเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน อ้อมไม่รู้ว่าจะอะไรได้มากน้อยแค่ไหน แต่เราอยากเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่พร้อมช่วย แต่คนที่มีบทบาทในเพจนั้น เขาก็ต้องมีกำลังใจที่จะทำ แล้วถ้าเกิดสังคมมองเห็นและยินดีร่วมมือกัน ก็อาจจะทำให้กลไกแบบนี้มันดีขึ้นก็ได้ สังคมดี คนก็ดี คนในสังคมดี ก็ส่งผลให้ภาพรวมมันดี แต่ถ้าคนในสังคมแย่อ่อนแอ สังคมมันก็แย่ทั้งหมดเพราะปัญหามันส่งต่อกัน เมื่อแม่ทำร้ายลูก ลูกก็ไประบายกับคนอื่น เกเรต่อยตี ต้องการโชว์ความเข้มแข็งของตนเองต่อคนอื่น ถ้าเป็นผู้หญิงก็อาจกลายเป็นแม่ตั้งแต่ยัง