วันที่ 10 พ.ค.64 นายสุจินต์ ไชยชุมศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี ประธานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดนนทบุรี ผู้กำกับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินจังหวัดนนทบุรี มีคำสั่งจังหวัดนนทบุรี ที่ 1294/2564เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 40) ปิดสถานที่ซึ่งตั้งอยู่โดยรอบตลาดเทศบาลนครนนทบุรีและตลาดสดสมบัติเพิ่มเติม เป็นเวลา 14 วัน ตั้งแต่วันที่ 11 พฤษภาคม 2564 จนถึงวันที่ 24 พฤษภาคม 2564 ระบุข้อความว่า... คำสั่งจังหวัดนนทบุรี ที่ ๑๒๙๔/๒๕๖๔ เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ ๔๐) ตามที่จังหวัดนนทบุรี ได้มีคำสั่งจังหวัดนนทบุรี รวม ๓๙ ฉบับ สั่งให้ปิดสถานที่บางแห่ง ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี ไว้เป็นการชั่วคราว รวมถึงมีการผ่อนปรนคำสั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราวบางส่วน เพื่อเป็นการป้องกันมิให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 ไปแล้วนั้น เนื่องจากสถานการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 ประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทวีคูณ และกระจายไปทุกจังหวัดอย่างรวดเร็ว และจากการสอบสวนโรคในระยะที่ผ่านมาพบว่า มีสถานที่บางแห่งเป็นสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่กระจายของโรค โดยเฉพาะในพื้นที่ตลาด โรงงาน ชุมชนแออัด ซึ่งพบว่ามีผู้ติดเชื้ออยู่อาศัยและทำกิจการค้าขายอยู่ภายในบริเวณเดียวกันเป็นจำนวนมาก และอาจจะ แพร่กระจายไปสัมผัสในครอบครัว กลุ่มเพื่อน ที่ทำงาน อันเป็นเหตุให้การแพร่ระบาดอาจมีมากขึ้นจนเกินศักยภาพ ของระบบบริการสาธารณสุข ทั้งห้องพักผู้ป่วย เครื่องมือแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์ที่จะรองรับได้ ประกอบกับ การประกาศยกระดับให้จังหวัดนนทบุรีเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ดังนั้น อาศัยอำนาจตามความ ในมาตรา ๓๕ (๑)แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พศ๒๕๕๘ ข้อ ๗(๑) ของข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พศ.๒๕๕๘ (ฉบับที่ ๑) ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พศ.๒๕๖๓ ประกอบกับประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร คราวที่ ๑๑) ฉบับลงวันที่ ๓๐ มีนาคม พศ.๒๕๖๔ คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับ การปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พศ.๒๕๖๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พศ.๒๕๕๘ (ฉบับที่ ๒๐) ลงวันที่ ๑๖ เมษายน พศ.๒๕๖๔ และข้อกำหนด ออกตามความ ในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พศ.๒๕๕๘ (ฉบับที่ ๒๒) ลงวันที่ ๒๙ เมษายน พศ๒๕๖๔ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดนนทบุรี ตามมติที่ประชุมครั้งที่ ๓๙/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พศ.๒๕๖๔ จึงมีคำสั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว เพิ่มเติม โดยให้ยังใช้ควบคู่กับคำสั่งจังหวัดนนทบุรี ที่ ๑๒๐๒/๒๕๖๔ เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ ๓๙) ลงวันที่ ๓๐ เมษายน พศ๒๕๖๔ ดังนี้ ข้อ ๑ ปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว ดังนี้ ตลาดสดเทศบาลนครนนทบุรี และตลาดสดสมบัติ ให้ปิดต่อเนื่อง ๑๔ วัน ตั้งแต่วันที่ ๑๑ – ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ข้อ ๒. ปิดสถานที่ซึ่งตั้งอยู่โดยรอบตลาดสดเทศบาลนครนนทบุรีและตลาดสดสมบัติ อำเภอเมือง นนทบุรี เป็นเวลา ๑๔ วัน ตั้งแต่วันที่ ๑๑-๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ดังนี้ (๑)อาคารพาณิชย์และสถานประกอบการ รวมถึงร้านค้า รถเข็น หาบเร่ แผงลอยทุกประเภท โดยรอบตลาดทั้ง ๒ แห่ง (๒)อาคารพาณิชย์และสถานประกอบการ รวมถึงร้านค้า รถเข็น หาบเร่ แผงลอยทุกประเภท ฝั่งเดียวกับตลาดทั้ง ๒ แห่ง ตั้งแต่ แยกศรีพรสวรรค์ถึงท่าน้ำนนทบุรี ยาวต่อเนื่องถึงถนนริมเขื่อน ท่าน้ำนนทบุรี ทั้งสองฝั่งจนถึงศาลเจ้าแม่ทับทิม (๓)อาคารพาณิชย์และสถานประกอบการ รวมถึงร้านค้า รถเข็น หาบเร่ แผงลอยทุกประเภท ฝั่งเดียวกับตลาดทั้ง ๒ แห่ง ตั้งแต่แยกศรีพรสวรรค์ถึงซอยพิบูลสงคราม ๑๗ (๔) อาคารพาณิชย์และสถานประกอบการรวมถึงร้านค้า รถเข็น หาบเร่ แผงลอยทุกประเภทในซอยพิบูลสงคราม ๒๑ (ซอยแสงเทียน) ข้อ ๓. ปิดสถานที่ซึ่งตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามตลาดสดเทศบาลนครนนทบุรีและตลาดสดสมบัติ อำเภอ เมืองนนทบุรี เป็นเวลา ๗ วัน ตั้งแต่วันที่ ๑๑ – ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ดังนี้ (๑) อาคารพาณิชย์และสถานประกอบการ รวมถึงร้านค้า รถเข็น หาบเร่ แผงลอยทุกประเภท ฝั่งตรงข้ามกับตลาดทั้ง ๒ แห่ง ตั้งแต่ แยกศรีพรสวรรค์ถึงท่าน้ำนนทบุรี (๒) อาคารพาณิชย์และสถานประกอบการ รวมถึงร้านค้า รถเข็น หาบเร่ แผงลอยทุกประเภท ฝั่งตรงข้ามกับตลาดทั้ง ๒ แห่ง ตั้งแต่ แยกศรีพรสวรรค์ถึงซอยพิบูลสงคราม ๒๕ (๓) อาคารพาณิชย์และสถานประกอบการ รวมถึงร้านค้า รถเข็น หาบเร่ แผงลอยทุกประเภท ทั้ง ๒ ฝั่ง บนถนนประชาราษฎร์ตั้งแต่แยกศรีพรสวรรค์จนถึงซอยประชาราษฎร์ ๒๔ และซอยประชาราษฎร์ ๑๓ (๔) อาคารพาณิชย์และสถานประกอบการ รวมถึงร้านค้า รถเข็น หาบเร่ แผงลอยทุกประเภท ทั้ง ๒ ฝั่ง บนถนนนนทบุรี ๑ ตั้งแต่ทางแยกถนนประชาราษฎร์จนถึงบริเวณหน้าสถานีตำรวจภูธรเมืองนนทบุรี ต่อเนื่องในซอยนนทบุรี ๒/๑ (๕) อาคารพาณิชย์และสถานประกอบการ รวมถึงร้านค้า รถเข็น หาบเร่ แผงลอยทุกประเภท ทั้ง ๒ ฝั่ง ในซอยประชาราษฎร์ ๒๖ (ซอยศรีพรสวรรค์) ตั้งแต่แยกศรีพรสวรรค์จนถึงซอยประชาราษฎร์ ๒๖ แยก ด ข้อ ๔ มอบหมายนายอำเภอเมืองนนทบุรี เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการบูรณาการร่วมกับ เทศบาลนครนนทบุรี และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการกำกับ ดูแล และบริหารจัดการในพื้นที่ตามข้อ ๒ และ ข้อ ๓ โดยมีรายละเอียดตามแผนผังแสดงการปิดตลาดและอาคารโดยรอบแนบท้ายคำสั่งนี้ ข้อ ๕. กำหนดมาตรการควบคุมป้องกันโรค ดังนี้ (๑) ให้ผู้ค้าในสถานที่ตามข้อ ๑ และ ๒ เข้าตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ณ สถานที่ที่ทาง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรีกำหนด ดังนี้ ๑) ศูนย์บริการสาธารณสุขที่ ๒ สวนใหญ่ (๒) ลานจอดรถหน้า ตลาดสดเทศบาลนครนนทบุรี ๓ลานจอดรถตลาดศรียานนท์ ซอยพิบูลสงคราม ๒๑ (ซอยแสงเทียน) หรือไปตรวจที่ โรงพยาบาลของรัฐหรือโรงพยาบาลเอกชนที่ผ่านการทดสอบความชำนาญทางห้องปฏิบัติการ ในวันที่ ๑๒ – ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๔ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย และให้กลับเข้าขายสินค้า หรือให้บริการได้หลังจากครบกำหนดการปิด สถานที่ตามคำสั่งนี้ โดยต้องได้รับใบตรวจยืนยันว่าไม่พบเชื้อจากโรงพยาบาล ทั้งนี้ ระหว่างรอผลการตรวจเชื้อ เจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จากการลงพื้นที่ ให้แยกสังเกตอาการ ณ ที่พักเท่านั้น สำหรับผู้ค้าที่ได้รับการตรวจหาเ ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรีแล้ว จังหวัดนนทบุรีจะมอบหมายให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด นนทบุรีออกประกาศรายชื่อผู้ที่ไม่พบเชื้อ และสามารถใช้ประกาศดังกล่าวเพื่อเข้าขายสินค้าได้โดยไม่ต้องขอรับ ใบตรวจยืนยันจากโรงพยาบาล (๒) ให้ผู้ใช้บริการในสถานที่ตามข้อ ๑ และ ๒ ตั้งแต่วันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๖๔ จนถึงวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๔ และมีอาการผิดปกติ เช่น ไข้ ไอ เจ็บคอ น้ำมูก จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หรือตามที่ แพทย์เห็นสมควร เข้าตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ณ โรงพยาบาลของรัฐ หรือโรงพยาบาลของเอกชนที่ผ่าน การทดสอบความชำนาญทางห้องปฏิบัติการ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ระหว่างการรอผลตรวจให้แยกสังเกต อาการ ณ ที่พักหรือสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้เท่านั้น (๓) จากการสอบสวนโรคพบว่ามีผู้ติดเชื้อภายในตลาด อาคารพาณิชย์ ที่ตั้งอยู่ในจังหวัด นนทบุรีหลายแห่ง และแต่ละแห่งมีการแพร่กระจายของเชื้อไปในวงกว้าง จึงให้เจ้าของผู้มีหน้าที่ดูแล ผู้ประกอบการ และผู้ใช้บริการในตลาดและอาคารพาณิชย์ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการ กำหนดโดยเคร่งครัด หากเจ้าหน้าที่ตรวจพบการฝ่าฝืนหรือการละเลยไม่ปฏิบัติตามมาตรการ จังหวัดนนทบุรี จะพิจารณาสั่งปิดสถานที่โดยทันที (๔)ให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ เป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการร่วมกับ สาธารณสุขอำเภอและฝ่ายปกครอง ดำเนินการดังนี้ ๑ชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการโรงงาน สถานประกอบการ หอพัก ตลาดและชุมชนแออัด เพื่อขอความร่วมมือให้ปฏิบัติตามมาตรการ D-M-H-T-T ๒หมั่นตรวจเพื่อกำกับให้ดำเนินการตามมาตรการ D-M-H-T-T ดังกล่าว ๓กำหนดพื้นที่เสี่ยงเพื่อเข้าสู่ระบบการคัดกรองด้วยการเคาะประตูบ้านและสุ่มตรวจ เป็นระยะทุก ๑๔ วัน หากพบผู้ติดเชื้อหรือผู้สงสัยให้แจ้งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรีเพื่อค้นหาเชิงรุก (ACF) ต่อไป (๕) ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง รักษาความสะอาดของสถานที่/พื้นที่ตลาด และชุมชนแออัดที่อยู่ในความรับผิดชอบตลอดเวลา สำหรับผู้ที่มีข้อสงสัยหรือประสงค์ได้รับคำปรึกษาสามารถติดต่อสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี ได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ ๐๖๑-๓๙๔-๕๔๐๒, ๐๖๑-๓๙๔-๕๔๐๓๐๖๑-๑๗๒-๒๕๓๔ และ ๐๖๑-๑๗๔-๒๒๖๐ อนึ่ง เนื่องจากเป็นกรณีที่มีความจำเป็นรีบด่วน หากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะก่อให้เกิดผลเสียหาย อย่างร้ายแรงแก่สาธารณชนหรือกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ จึงไม่อาจให้คู่กรณีใช้สิทธิโต้แย้งตามมาตรา ๓๐ วรรคสอง (๑) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พศ๒๕๓๙ ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสน บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ เว้นแต่ข้อที่ได้มีการกำหนดอัตราโทษสูงสุดไว้แล้ว สั่ง ณ วันที่ ๑๐ พฤษภาคม พศ ๒๕๖๔ (นายสุจินต์ ไชยชุมศักดิ์) ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี ประธานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดนนทบุรี ผู้ กำกับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินจังหวัดนนทบุรี