นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) ชี้แจงกรณีมีรายงานนำผลประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (5 พ.ค.) ไปบิดเบือนเป็นนายกรัฐมนตรีลงนามเห็นชอบการเข้าร่วม CPTPP แล้ว ว่า ขอยืนยันไม่เป็นความจริง ซึ่งข้อเท็จจริงขณะนี้นายกรัฐมนตรีให้นโยบายว่า ต้องพิจารณาการเข้าร่วมเป็น CPTPP อย่างรอบคอบเป็นพิเศษ  ขณะเดียวกัน กระทรวงการต่างประเทศ และ กนศ. เห็นว่า ระยะเวลาดังกล่าว ยังไม่เพียงพอต่อการพิจารณาในรายละเอียด จึงขอขยายระยะเวลา 90 วัน ซึ่งเดิมครบกำหนดในวันที่ 24 เม.ย. ที่ผ่านมา  จากที่ก่อนหน้านี้ ได้ให้สภาผู้แทนราษฎร ตั้งกรรมาธิการพิจารณาเรื่องดังกล่าว โดยได้เชิญผู้แทนภาคส่วนต่าง ๆ และภาคเอกชนมาให้ความเห็น ก่อนกลับนำเสนอมายังคณะรัฐมนตรี จากนั้นคณะรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ และ กนศ. พิจารณาข้อมูลจากกรรมาธิการฯ อีกครั้งหนึ่งให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน "แม้จะได้ข้อสรุปในเบื้องต้นแล้ว แต่เห็นว่า ยังควรทบทวนในรายละเอียด เพื่อให้เกิดความรอบคอบอีกครั้ง จึงได้เสนอคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคมที่ผ่านมา เพื่อขอขยายระยะเวลาการพิจารณาออกไปอีก 50 วัน ซึ่งเวลาจะไปสิ้นสุดในวันที่ 24 มิ.ย. 2564 โดยระหว่างนี้ จะพิจารณาประเด็นการเจรจา เงื่อนไข และปัญหาที่อาจทำให้ไทยเสียเปรียบ ในการเข้าเป็นสมาชิก CPTPP ซึ่งบางเรื่องที่ยังไม่ชันเจน ก็สามารถจัดทำเป็นข้อสงวน นอกจากนี้ ยังมีเรื่องการปรับแก้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดผลกระทบให้ได้มากที่สุด ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นเมื่อเข้าร่วมเป็นสมาชิก" รองนายกฯ ระบุ  นายดอน ปรมัตถ์วินัย" รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) ชี้แจงกรณีมีรายงานนำผลประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (5 พ.ค.) ไปบิดเบือนเป็นนายกรัฐมนตรีลงนามเห็นชอบการเข้าร่วม CPTPP แล้ว ว่า ขอยืนยันไม่เป็นความจริง ซึ่งข้อเท็จจริงขณะนี้นายกรัฐมนตรีให้นโยบายว่า ต้องพิจารณาการเข้าร่วมเป็น CPTPP อย่างรอบคอบเป็นพิเศษ  ขณะเดียวกัน กระทรวงการต่างประเทศ และ กนศ. เห็นว่า ระยะเวลาดังกล่าว ยังไม่เพียงพอต่อการพิจารณาในรายละเอียด จึงขอขยายระยะเวลา 90 วัน ซึ่งเดิมครบกำหนดในวันที่ 24 เม.ย. ที่ผ่านมา  จากที่ก่อนหน้านี้ ได้ให้สภาผู้แทนราษฎร ตั้งกรรมาธิการพิจารณาเรื่องดังกล่าว โดยได้เชิญผู้แทนภาคส่วนต่าง ๆ และภาคเอกชนมาให้ความเห็น ก่อนกลับนำเสนอมายังคณะรัฐมนตรี จากนั้นคณะรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ และ กนศ. พิจารณาข้อมูลจากกรรมาธิการฯ อีกครั้งหนึ่งให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน "แม้จะได้ข้อสรุปในเบื้องต้นแล้ว แต่เห็นว่า ยังควรทบทวนในรายละเอียด เพื่อให้เกิดความรอบคอบอีกครั้ง จึงได้เสนอคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคมที่ผ่านมา เพื่อขอขยายระยะเวลาการพิจารณาออกไปอีก 50 วัน ซึ่งเวลาจะไปสิ้นสุดในวันที่ 24 มิ.ย. 2564 โดยระหว่างนี้ จะพิจารณาประเด็นการเจรจา เงื่อนไข และปัญหาที่อาจทำให้ไทยเสียเปรียบ ในการเข้าเป็นสมาชิก CPTPP ซึ่งบางเรื่องที่ยังไม่ชันเจน ก็สามารถจัดทำเป็นข้อสงวน นอกจากนี้ ยังมีเรื่องการปรับแก้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดผลกระทบให้ได้มากที่สุด ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นเมื่อเข้าร่วมเป็นสมาชิก" หากผลกระทบใดไม่สามารถปรับให้ลดลงได้ ก็เตรียมพิจารณาเป็นมาตรการป้องปราม และกลไกเยียวยาให้เกิดความยั่งยืน โดยเมื่อถึงเวลาที่รัฐบาล เห็นว่ามีความพร้อมแล้ว ก็จะเสนอต่อรัฐสภา เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบในการเข้าร่วมเป็นสมาชิก CPTPP ต่อไป