คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ อดีตประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย (พท). โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า... ผู้ประกันตนกว่า 2 ล้านคนที่ตกหล่น กำลังถูกทอดทิ้งจากมาตรการเยียวยาของรัฐ รัฐบาลประยุทธ์ เคาะมาตรการเยียวยาด้านเศรษฐกิจอีกรอบ หลังจากเจอวิกฤติโควิด-19 ระบาดระลอกใหม่ โควิด-19 นอกจากจะเป็นภัยคุกคามชีวิตในด้านสุขภาพแล้ว ยังเป็นภัยคุกคามในด้านเศรษฐกิจอย่างหนักหนาสาหัสไปพร้อมกันด้วย โดยเฉพาะ คนตัวเล็ก ที่เป็นกำลังแรงงานสำคัญ ในฐานะฟันเฟืองของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจนั้น หลายคนต้องถูกเลิกจ้าง ต้องตกงานกระทันหัน ถูกปรับลดเงินเดือน ขาดรายได้ ซึ่งไม่ใช่แค่ต้องดูแลตัวเอง แต่ยังมีปากท้องของครอบครัวที่ต้องรับผิดชอบอีกหลายชีวิตด้วย หนึ่งในมาตรการเยียวยา ที่ออกมารอบใหม่ คือการขยายเพิ่มวงเงินช่วยเหลือช่วยเหลือผู้ประกันตนใน #โครงการม33เรารักกัน มีจำนวนกลุ่มเป้าหมาย ประมาณ 9.27 ล้านคน กรอบวงเงิน 18,500 ล้านบาท โดยจะเพิ่มวงเงินให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 อีกสัปดาห์ละ 1,000 บาท เป็นเวลา 2 สัปดาห์ โดยมีระยะเวลาใช้จ่ายสิ้นสุดในวันที่ 30 มิถุนายน 2564 ขณะที่ก่อนหน้านี้รัฐบาลได้ออกมาตรการเยียวยาให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มารอบหนึ่งแล้วในการระบาดระลอกที่สอง เป็นจำนวนเงินคนละ 4,000 บาท มีจำนวนกลุ่มเป้าหมายประมาณ 9 ล้านคนเช่นเดียวกัน แต่ที่น่าสนใจคือ ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มีตัวเลขในระบบจริงอยู่ที่ประมาณ 11 ล้านคน นั่นหมายความว่ามีคนอีกเกือบ 2 ล้านคน ที่ตกหล่นจากมาตรการเยียวยาดังกล่าว ทั้งๆที่พวกเขาก็ส่งเงินเข้าระบบเช่นเดียวกัน มีข้ออ้างว่าที่ตกหล่นเพราะระบบสแกนหน้าไม่ตรง หรือระบบไม่ลิ้งกับบัตรประชาชนบ้าง แต่ชัดเจนแล้วว่าเป็นเพราะระบบบริหารจัดการที่ล้มเหลวมากกว่า ทำให้มีการตกหล่นของคนที่เดือดร้อน รอบเก่ายังไม่ได้รับการดูแล รอบใหม่ที่กำลังจะมาก็ยังไม่ครอบคลุม ที่ผ่านมาพี่น้องประชาชนต้องลุกขึ้นมาทวงสิทธิของตัวเอง อย่างกลุ่มขอคืน ไม่ใช่ขอทาน ที่ต้องการนำเอา เงินชราภาพ ที่พวกเขาส่งไปแล้วคืน เพื่อมาประทังชีวิตในยามลำบาก ถ้านับทั้งระบบจะมีผู้ประกันตนถึง 16 ล้านคน ถ้าเฉลี่ยส่งเงินคนละ 1,000 บาท หมายความว่าจะมีเงินในระบบถึง 16,000 ล้านบาท วันนี้เจ้าของเงินคือ ประชาชน ได้รับความลำบากเขาลุกขึ้นมาทวงเงินเขา เพราะเขาตกหล่น รัฐบาลไม่ได้ช่วยเหลือ ขอคืน ก็ไม่ให้ ขอกู้ออกมาใช้ก่อนก็ไม่ยอม ขอเลือกว่าจะรับเป็นบำเหน็จหรือบำนาญก็ไม่รับฟัง วันนี้เจ้าของเงินลำบากมาก แต่ที่ผ่านมาบอร์ดมีการนำเงินไปลงทุนในบางกิจการที่ขาดทุน ถามว่ามีการรับผิดชอบหรือไม่ คำตอบคือ ไม่ กระบวนการดังกล่าวประชาชนเจ้าของเงินไม่ได้ตัดสินใจร่วมด้วยเลย แต่พอลำบากต้องมาขอให้ดูแล แต่ก็ยังตกหล่นอยู่ดี แถมเดือนหน้าดิฉันทราบว่า พี่น้องต้องกลับมาจ่ายประกันสังคมเต็มอัตราแล้ว ทั้งๆที่สถานการณ์ยังหนักหน่วง การทำมาหากินลำบาก นี่เป็นแค่ตัวอย่างเดียวที่สะท้อนการบริหารที่ไร้ประสิทธิภาพ รัฐบาลบอกว่าจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง แต่พี่น้องผู้ประกันตนที่ตกหล่นการเยียวยาถูกทิ้งแล้วค่ะ และกำลังจะถูกทิ้งอีกรอบ ต้องรีบเข้ามาดูแลอย่างเร่งด่วนและให้ทั่วถึงในทันทีค่ะ อย่าให้วิกฤติซ้ำเติมพวกเขาไปมากกว่านี้อีกเลย ขอรัฐบาลดูแล คนตัวเล็กด้วยนะคะคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ผู้ก่อตั้งพรรคไทยสร้างไทย โพสต์เฟซบุ๊คมีเนื้อหาว่า ผู้ประกันตนกว่า 2 ล้านคนที่ตกหล่น กำลังถูกทอดทิ้งจากมาตรการเยียวยาของรัฐ รัฐบาลประยุทธ์ เคาะมาตรการเยียวยาด้านเศรษฐกิจอีกรอบ หลังจากเจอวิกฤติโควิด-19 ระบาดระลอกใหม่ โควิด-19 นอกจากจะเป็นภัยคุกคามชีวิตในด้านสุขภาพแล้ว ยังเป็นภัยคุกคามในด้านเศรษฐกิจอย่างหนักหนาสาหัสไปพร้อมกันด้วย โดยเฉพาะ คนตัวเล็ก ที่เป็นกำลังแรงงานสำคัญ ในฐานะฟันเฟืองของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจนั้น หลายคนต้องถูกเลิกจ้าง ต้องตกงานกระทันหัน ถูกปรับลดเงินเดือน ขาดรายได้ ซึ่งไม่ใช่แค่ต้องดูแลตัวเอง แต่ยังมีปากท้องของครอบครัวที่ต้องรับผิดชอบอีกหลายชีวิตด้วย หนึ่งในมาตรการเยียวยา ที่ออกมารอบใหม่ คือการขยายเพิ่มวงเงินช่วยเหลือช่วยเหลือผู้ประกันตนใน #โครงการม33เรารักกัน มีจำนวนกลุ่มเป้าหมาย ประมาณ 9.27 ล้านคน กรอบวงเงิน 18,500 ล้านบาท โดยจะเพิ่มวงเงินให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 อีกสัปดาห์ละ 1,000 บาท เป็นเวลา 2 สัปดาห์ โดยมีระยะเวลาใช้จ่ายสิ้นสุดในวันที่ 30 มิถุนายน 2564 ขณะที่ก่อนหน้านี้รัฐบาลได้ออกมาตรการเยียวยาให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มารอบหนึ่งแล้วในการระบาดระลอกที่สอง เป็นจำนวนเงินคนละ 4,000 บาท มีจำนวนกลุ่มเป้าหมายประมาณ 9 ล้านคนเช่นเดียวกัน แต่ที่น่าสนใจคือ ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มีตัวเลขในระบบจริงอยู่ที่ประมาณ 11 ล้านคน นั่นหมายความว่ามีคนอีกเกือบ 2 ล้านคน ที่ตกหล่นจากมาตรการเยียวยาดังกล่าว ทั้งๆที่พวกเขาก็ส่งเงินเข้าระบบเช่นเดียวกัน มีข้ออ้างว่าที่ตกหล่นเพราะระบบสแกนหน้าไม่ตรง หรือระบบไม่ลิ้งกับบัตรประชาชนบ้าง แต่ชัดเจนแล้วว่าเป็นเพราะระบบบริหารจัดการที่ล้มเหลวมากกว่า ทำให้มีการตกหล่นของคนที่เดือดร้อน รอบเก่ายังไม่ได้รับการดูแล รอบใหม่ที่กำลังจะมาก็ยังไม่ครอบคลุม ที่ผ่านมาพี่น้องประชาชนต้องลุกขึ้นมาทวงสิทธิของตัวเอง อย่างกลุ่มขอคืน ไม่ใช่ขอทาน ที่ต้องการนำเอา เงินชราภาพ ที่พวกเขาส่งไปแล้วคืน เพื่อมาประทังชีวิตในยามลำบาก ถ้านับทั้งระบบจะมีผู้ประกันตนถึง 16 ล้านคน ถ้าเฉลี่ยส่งเงินคนละ 1,000 บาท หมายความว่าจะมีเงินในระบบถึง 16,000 ล้านบาท วันนี้เจ้าของเงินคือ ประชาชน ได้รับความลำบากเขาลุกขึ้นมาทวงเงินเขา เพราะเขาตกหล่น รัฐบาลไม่ได้ช่วยเหลือ ขอคืน ก็ไม่ให้ ขอกู้ออกมาใช้ก่อนก็ไม่ยอม ขอเลือกว่าจะรับเป็นบำเหน็จหรือบำนาญก็ไม่รับฟัง วันนี้เจ้าของเงินลำบากมาก แต่ที่ผ่านมาบอร์ดมีการนำเงินไปลงทุนในบางกิจการที่ขาดทุน ถามว่ามีการรับผิดชอบหรือไม่ คำตอบคือ ไม่ กระบวนการดังกล่าวประชาชนเจ้าของเงินไม่ได้ตัดสินใจร่วมด้วยเลย แต่พอลำบากต้องมาขอให้ดูแล แต่ก็ยังตกหล่นอยู่ดี แถมเดือนหน้าดิฉันทราบว่า พี่น้องต้องกลับมาจ่ายประกันสังคมเต็มอัตราแล้ว ทั้งๆที่สถานการณ์ยังหนักหน่วง การทำมาหากินลำบาก นี่เป็นแค่ตัวอย่างเดียวที่สะท้อนการบริหารที่ไร้ประสิทธิภาพ รัฐบาลบอกว่าจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง แต่พี่น้องผู้ประกันตนที่ตกหล่นการเยียวยาถูกทิ้งแล้วค่ะ และกำลังจะถูกทิ้งอีกรอบ ต้องรีบเข้ามาดูแลอย่างเร่งด่วนและให้ทั่วถึงในทันทีค่ะ อย่าให้วิกฤติซ้ำเติมพวกเขาไปมากกว่านี้อีกเลย ขอรัฐบาลดูแล คนตัวเล็กด้วยนะคะ