ฟังชัดๆ กรุงเทพฯ ไม่ล็อกดาวน์ ขอความร่วมมือใส่หน้ากากอนามัย ฝ่าฝืนปรับ-จับ ย้ำผู้ป่วยตกค้างเหลือ 37 คน มั่นใจเคลียร์หมด 3 พ่อเมืองเผยกฎเหล็กสู้ศึกโควิด-19 รายการโหนกระแสวันที่ 27 เม.ย. 64 "หนุ่ม กรรชัย กำเนิดพลอย" ในฐานะผู้ดำเนินรายการ ผลิตในนามบริษัท ดีคืนดีวัน จำกัด ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 12.35 น. ทางช่อง 3 กดเลข 33 สัมภาษณ์ ร.ต.อ. พงศกร ขวัญเมือง โฆษกกรุงเทพมหานคร เรื่องโควิด-19 ลงลึกเรื่องการเตรียมการของกรุงเทพมหานคร รวมทั้งพื้นที่อีก 6 จังหวัดที่จะมีการยกระดับเป็นพื้นที่สีแดงเข้ม รวมถึงเรื่องราวหน้ากากอนามัย ตอนนี้จำเป็นต้องใส่จริง ไม่งั้นจะถูกจับและถูกปรับแน่นอน จริงๆ แล้วกฎกติกา หรือกฎหมายการใส่หน้ากากอนามัย เท่าที่ทราบ มีมานานมากแล้ว? ร.ต.อ. พงศกร : เรื่องการให้พี่น้องออกนอกเคหะสถานใส่หน้ากากอนามัย มีหลายจังหวัดแล้ว ตอนนี้ถ้าจำตัวเลขไม่ผิด 50 จังหวัด กทม.ก็เป็นหนึ่งในนั้น ต้องเข้าใจว่าจุดประสงค์หลักให้คนใส่หน้ากากอนามัยเพื่อควบคุมโรค เราเลยออกมาตรการนี้ ไม่ใช่ต้องการจะปรับหรืออะไรก็แล้วแต่ เราต้องการให้ทุกคนสวมหน้ากากอนามัย เพราะทราบดีว่าการสวมหน้ากากอนามัยจะป้องกันการแพร่ระบาดได้ค่อนข้างมาก 80-90 เปอร์เซ็นต์ ป้องกันกว่าไม่ใส่หน้ากากอนามัย สมมติเฟซชิลด์? ร.ต.อ. พงศกร : เฟซชิลด์อย่างเดียวเป็นความเข้าใจผิดของหลายๆ คนด้วยซ้ำ บางทีถ้าเราเดินไปในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เห็นคนใส่เฟซชิลด์แล้วไม่ใส่หน้ากากอนามัย ซึ่งป้องกันได้น้อยมาก ละอองฝอย หรือละอองน้ำลาย หรือที่อยู่ในอากาศ บางทีมันจะเข้าปากจมูกได้เหมือนเดิม เพราะกันได้นิดเดียว แต่การใส่หน้ากากอนามัยป้องกันได้ดีกว่าเยอะ ซึ่งตอนนี้คนก็ยอมรับ เป็นหลักสากล ผมเคยคุยกับคุณวิลลี่ แมคอินทอช เขาบอกเขาใส่เฟซชิลด์ถ่ายรายการ ปรากฎว่ายังติด มันไม่ได้ช่วยเลย เขาบอกอย่างนั้น ต้องใส่หน้ากากอนามัย แต่ยืนยันชัดเจนว่าคนอยู่ในอาคารเอง ทำงานร่วมกัน คนนึงถอดก็ไม่ได้? ร.ต.อ. พงศกร : ไม่ได้ครับ โดนปรับทันที? ร.ต.อ. พงศกร : เราขอให้ไม่ถอด ตรงนี้คืออยากให้คนใส่ เรื่องปรับเป็นเรื่องที่เราบังคับใช้กกฎหมาย ผมเชื่อว่าเราทุกคนโดยเฉพาะรายการก็ให้ความร่วมมือดี การปรับเป็นทางเลือกสุดท้าย ซึ่งเราคิดว่าคนกรงเทพฯ ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี คำว่าออกจากเคหะสถาน บางคนอาจไม่เข้าใจ? ร.ต.อ. พงศกร : คือออกจากบ้านต้องใส่ทันที ออกจากบ้านต้องใส่ ขับรถหนึ่งคนถอดได้? ร.ต.อ. พงศกร : ตามที่ทางสำนักกฎหมายของกรุงเทพฯ ได้ตีความ ถ้าหนึ่งคนอนุโลมให้ถอดได้ แต่ถ้ามากกว่าหนึ่งคนเป็นต้นไป เราอยากให้สวมใส่ ทีนี้ก็มีคำถามที่ว่าถ้าเป็นครอบครัวเดียวกัน จะให้ใส่ทำไม เมื่อเขากลับบ้านก็ต้องถอดอยู่ดี ตรงนี้ก็เป็นคำถามที่ภาคสังคมสงสัย อยากเรียนว่าเรื่องนี้เวลาเราออกมาตรการอะไรก็แล้ว เราคิดถึงหลักการควบคุมการระบาดและหลักการใช้ได้จริง ตอนนี้ตัวเลขที่เพิ่มขึ้นไม่ใช่เหมือนคลัสเตอร์ช่วงแรกๆ ซึ่งเป็นเรื่องสถานบริการ หรือสถานบันเทิง ตอนนี้การติดเชื้อส่วนมากเป็นการสัมผัสใกล้ชิด คนในบ้านมีโอกาสแพร่เชื้อ ทีนี้เราต้องลดโอกาสให้มากที่สุด ซึ่งเวลาอยู่ในบ้าน จะมีหลายเคสคนอยู่ในบ้านเดียวกันแล้วติดบางคน ไม่ติดบางคน ทีนี้การเดินทางมาด้วยกัน อาจเป็นพื้นที่อับ และอาจติดได้ แต่ในทางปฏิบติจริงๆ อีกอย่าง เวลาคนจะตรวจสอบว่าคนไหนเป็นคนในครอบครัวหรือ ไม่ใช่คนครอบครัวมันตรวจสอบได้ยากมาก หรือให้เขียนว่ายกเว้นคนนามสกุลเดียวกัน คนที่อาจเป็นครอบครัวเดียวกัน ตรงนี้มันปฏิบัติได้ยาก ดังนั้นวัตถุประสงค์หลักที่ออกมาตรการนี้ เราอยากลดการแพร่ระบาดโรคให้ได้ ดังนั้นขอให้พี่น้องประชาชนเข้าใจถึงมาตรการนี้ว่ากรุงเทพฯ ามีความประสงค์ให้ทุกคนปลอดภัย ขอให้สวมใส่หน้ากากหน่อยนะครับ ช่วงนี้อาจลำบากบ้าง แต่ขออภัยที่ทำให้ท่านลำบากเพื่อให้เราควบคุมโรคระบาด และเพื่อคนที่เรารักทุกคน ถ้าไม่ใส่หน้ากากอนามัย เห็นว่ากรุงเทพฯ อัตราการปรับเห็นว่าสูงสุด 2 หมื่นบาท? ร.ต.อ. พงศกร : ตรงนี้เป็นสิ่งที่เราไม่ได้กำหนดเอง เป็นอัตราการปรับที่ถูกทางกฎหมาย ซึ่งเข้าใจว่าเดี๋ยวจะมีตร.อธิบายให้เข้าใจอีกครั้งนึง ซึ่งตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ มีการกำหนดโทษเรื่องของการสั่งให้กระทำการ หรือไม่กระทำการใด เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ตามมาตรา 34 (6) ก็จะมีอัตราโทษไว้อยู่ ซึ่งเป็นสิ่งที่เขากำหนดอยู่ในกฎหมาย ส่วนปรับเท่าไหร่ ตร.จะอธิบายได้ดี อยู่ในดุลยพินิจเจ้าหน้าที่ที่เขาจับ? ร.ต.อ. พงศกร : เขาจะมีหลักเกณฑ์ว่าครั้งแรกเท่าไหร่ สองเท่าไหร่ สามเท่าไหร่และให้ประกอบกับดุลยพินิจว่าต้องเป็นการกระทำความผิดที่ตั้งใจกระทำความผิด เขาจะไล่ระดับขึ้นไปตามการทำความผิดของบุคคลนั้นๆ? ร.ต.อ. พงศกร : ตรงนี้จะมีดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ตร. ซึ่งทางประธานศาลฎีกาท่านได้อธิบายไว้แล้วว่าทางตร.ต้องใช้ดุลยพินิจเป็นรายคดี โดยคำนึงถึงสภาพข้อหา และการกระทำความผิด ตลอดจนโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคม กรุงเทพฯ ตอนนี้ถือว่าเป็นจังหวัดกำลังยกระดับ เป็นพื้นที่สีแดงเข้ม คำว่าพื้นที่สีแดงเข้มต่างจากพื้นที่สีแดงยังไง? ร.ต.อ. พงศกร : คือในหลักเกณฑ์ของจังหวัด เป็นเรื่องที่ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิดของรัฐบาลจะออกมาตรการควบคุมได้ ซึ่งสีต่างๆ เขาจะมีมาตรการที่แตกต่างกันไป รายละเอียดสีแดงเข้ม ทางศบค. จะพิจารณาอีกทีว่าเป็นยังไง ในส่วนกทม. เอง เรามีมาตรการควบคุมสถานการณ์มาตลอด วันแรกๆ 5-6 เราออกมาตรการควบคุม ตั้งแต่เราพบผู้ป่วยหลักสิบ เราก็มีมาตรการครั้งแรก จนถึงวันนี้ มาตรการฉบับที่ 4 ที่ควบคุมการแพร่ระบาด ปิดสถานที่ 31 สถานที่ และมีมาตรการควบคุมโรคอีกมากมาย เราทำมาโดยตลอด ในส่วนของสีแดงเข้ม สีแดง สีเหลือง สีส้ม รัฐบาลจะกำหนดอีกทีว่าจะทำอย่างไร สิ่งที่กทม.ทำเลยปัจจุบันคือการปิดสถานที่เสี่ยง ตอนนี้กทม.มีหน้าที่รับผิดชอบกรณีคนเจ็บ หรือคนป่วยโควิดอยู่สีอะไร แบ่งกี่สี? ร.ต.อ. พงศกร : คือแบ่งทั้งหมด 3 สี สีเขียว เหลือง แดง แดงคือหนักสุด เหลืองหนักปานกลาง เขียวคืออาการไม่หนัก ระหว่างกทม. กับสาธารณสุข แยกกันรับ กทม. มีหน้าที่รับของสีอะไร? ร.ต.อ. พงศกร : เนื่องจากตอนนี้การแพร่ระบาดของกรุงเทพมหานคร เป็นการแพร่ระบาดค่อนข้างมาก และมีผู้ป่วยมาก การใช้ระบบสาธารณสุข ต้องเป็นเรื่องของกรุงเทพฯ และปริมณฑล บางทีอาจถึงบางจังหวัดที่ใกล้เคียงด้วยซ้ำ ดังนั้นการบริหารจัดการเตียงโดยศูนย์บริหารสถานการณ์โควิดเขาก็แบ่งเป็นสีเขียว เหลือง แดง ง่ายๆ สีเขียวอาการไม่รุนแรง 80 เปอร์เซ็นต์ที่ติดเชื้อโควิดอาการไม่รุนแรง สีเหลือง สีแดง เนื่องจากต้องใช้เครื่องมือทางการแพทย์มาก และใช้ห้องเฉพาะ ต้องใช้หมอเฉพาะทางหลายคน เลยให้ทางกระทรวงสาธารณสุขเป็นคนรับผิดชอบ กทม.จะรับผิดชอบการตร่วจเชิงรุก ถ้าตรวจแล้วเป็นสีเขียว ไม่มีอาการรุนแรง จะนำไปรักษาทั้งหมด ตอนนี้เรามีสถานที่พร้อมอยู่ หลายคนก็ถามว่าในเมื่อกทม.ออกมาหลายครั้ง กระทรวงออกมาบอกว่าเตียงเหลือ แต่ทำไมผู้ป่วยอาจจะเดินทางไม่ได้ ตรงนี้ขอตอบในกทม. กทม.สีเขียวเรามีพร้อม แต่ตอนนี้ สีเหลือง สีแดง ทางกระทรวงเขาพยายามเพิ่มศักยภาพในการรับผู้ป่วย ซึ่งในอนาคตจะรับได้มากขึ้น แต่ในส่วนกทม. เราต้องช่วยทำงานกระทรวง ทุกคนทำงานหนัก เราก็พยายามเพิ่้มศักยภาพของเรา ให้พร้อมรับสีเหลือง สีแดงในอนาคตด้วย ถ้าเป็นสีเขียว ผู้ป่วยไม่มีอาการหนักมาก กทม.รับผิดชอบและหาเตียงให้ พอเป็นสีเหลือง สีแดง เป็นหน้าที่กระทรวงสาธารณสุข? ร.ต.อ. พงศกร : ซึ่งเราก็พยายามช่วยสาธารณสุข อะไรที่เราช่วยได้เราก็ยินดี แต่ด้วยศักยภาพรพ.ในกทม. ต้องเข้าใจว่ากทม.ที่รับผิดชอบ เรามีรพ.ในมือแค่ 10 รพ. ที่เป็นสังกัดรพ.ในกรุงเทพฯ ที่เหลือโดยเฉพาะรพ. ที่เป็นขนาดใหญ่ หรือรพ.ที่สอนหมอได้ ก็เป็นของกระทรวงบ้าง พยายามทำสุดความสามารถ กรณีมีผู้ป่วยหนัก ต้องเป็นฝั่งกระทรวงต้องไปรับและดูแลตรงนั้น? ร.ต.อ. พงศกร : เราช่วยรับ และพยายามหาเตียงให้ได้ คู่สายโอเคมั้ย ในกทม.? ร.ต.อ. พงศกร : ตอนนี้ต้องเรียนตรงๆ ว่าคู่สายในกทม. ยังมีเวลารออยู่ ตอนก่อนที่พีคๆ เราเฉลี่ยการรอ 5 นาที ตอนนี้กทม. เราลดเวลาจาก 5 นาที เฉลี่ยเหลือ 1 นาที และเพิ่มศักยภาพรับส่งผู้ป่วย วันก่อนมีรถฉุกเฉิน 26 คัน แต่ตอนนี้เพิ่มเป็น 85 คัน เป็นรถของเขตและทหารมาช่วย แต่ศักยภาพในการขนส่งผู้ป่วย เรามีจาก 100 คนต่อวัน ตอนนี้เป็น 300 และยอดการค้าง วันก่อนมีช่วงนึงที่ค้างผู้ป่วย ประมาณ 500 กว่าราย วันนี้เหลือ 37 ราย วันนี้เราคงเคลียร์หมด และจะไปช่วยกระทรวง ซึ่งเชื่อว่ายังมีผู้ป่วยตกค้างอยู่ อาจมีคนไปเดินอยู่ข้างนอก ใส่แต่ห้อยใต้คาง ผิดมั้ย? ร.ต.อ. พงศกร : อย่างแรกคือไม่ควรทำ อยากให้ใส่ให้ถูกต้อง เพื่อป้องกันทุกๆ คนได้ การใส่แบบนั้น ตามหลักการแพทย์ก็ไม่ถูกอยู่แล้ว เพราะการห้อยใต้คาง ทำให้ปากจมูกเปิดไปสู่โรคปกติเลย ดังนั้นขอให้ใส่ให้ถูกต้องดีกว่า ปรับมั้ย? ร.ต.อ. พงศกร : ความจริงแล้วก็ผิด แต่ให้ใส่ดีกว่า มันมีโทษปรับ แต่ผมพยายามพูดให้ใส่ดีกว่า ตอนนี้ต้องโหด จำเป็นนะ ไว้ใต้คางยังไงก็ต้องปรับ? ร.ต.อ. พงศกร : ใช่ครับ ต้องมีความผิด แต่จุดประสงค์หลักเรียนย้ำตลอด จุดประสงค์หลักของการออกมาตรการนี้คือขอให้คนใส่หน้ากาก ไม่ใช่ต้องการไปปรับเขา อยู่ในสายกับ "วีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี" ผู้ว่าฯ สมุทรสาคร ตอนนี้สุขภาพเป็นยังไงบ้าง? วีระศักดิ์ : โอเคระดับหนึ่ง แต่คุณหมอไม่อยากให้ลงพื้นที่มากนัก ไม่อยากให้พบผู้คนมากนัก ห่วงว่าจะมีผลกระทบเรื่องสุขภาพบ้าง ตอนนี้ดูแลยังไง ในฐานะที่สมุทรสาครเป็นพื้นที่สีแดง ดูแลยังไง เรื่องหน้ากากอนามัยมีการกำชับ ออกข้อกฎหมายมั้ย? วีระศักดิ์ : เราเป็นจังหวัดแรกที่กำหนดไว้ว่าถ้าออกนอกเคหะสถานต้องใส่หน้ากากอนามัย เราเป็นจังหวัดแรกตั้งแต่ปีที่แล้ว ตั้งแต่โควิดระลอกแรก ปัจจุบันก็ยังใช้อยู่ และเมื่ออาทิตย์ที่แล้วก็เชิญนายอำเภอ ทางท้องถิ่น ตร. มากำชับว่าสามเรื่องเป็นเรื่องสำคัญ ห้ามย่อหย่อนในมาตรการทางการป้องกันโดยเด็ดขาด คือหนึ่งเรื่องหน้ากาก สองเรื่องการนั่งดื่มสุราในร้านอาหาร สามเรื่องงานสังสรรค์ งานปาร์ตี้ ทั้งหมดห้ามมีข้อยกเว้นโดยเด็ดขาด ต้องดำเนินการเคร่งครัดทางข้อกฎหมาย เพราะจะช่วยลดปัญหาเรื่องการติดต่อโควิดไปโดยปริยาย ตอนนี้ท่านดูแลลูกเมืองอย่างเข้มงวด หน้ากากมีการคุมเข้มอยู่แล้ว ตอนนี้จำนวนผู้ติดลดลง? วีระศักดิ์ : ยังมีผู้ติดเชื้ออยู่ แต่เกินครึ่งก็ยังเป็นผู้ติดเชื้อที่มาจากรอบๆ จังหวัดเรา โดยเฉพาะทางกรุงเทพฯ เป็นหลัก ก็จะมีมา พูดง่ายๆ จะเป็นผู้ป่วยรายใหม่มากกว่าสมุทรสาครซะอีก ส่วนในจังหวัดสมุทรสาครน้อยลงมาก มีข้อสังเกตอยู่อย่างนึง แทบไม่มีคนต่างชาติเลย สองการติดต่อ การติดเชื้อเป็นเรื่องการสัมผัส ติดต่อของคนในครอบครัวซึ่งเราเป็นห่วง ฉะนั้นทั้งมาตรการ หน้ากาก การดื่มสุรา เรื่องเกี่ยวกับการสังสรรค์ ปาร์ตี้ จึงสำคัญอย่างยิ่ง ในการช่วยลดการติดเชื้อในครอบครัวได้อย่างมาก ตอนนี้เราห่วงเรื่องลูกนำไปติดพ่อแม่ หรือน้องเอาไปติดพี่ ก็เป็นห่วงมาก เพราะตอนนี้มันเปลี่ยนพฤติกรรมการติดเชื้อว่าไม่ใช่คลัสเตอร์แล้ว แต่เป็นเรื่องครอบครัวแล้ว "สุจินต์ ไชยชุมศักดิ์" ผู้ว่าฯ นนทบุรี อยู่ในสาย ตอนนี้หนักเหมือนกัน จำนวนคนติดกี่คน? สุจินต์ : ตอนนี้ผู้ป่วยสะสมทั้งหมด 1,732 คน เฉพาะเดือนเม.ย. 1,500 เกือบ 1,600 ครับ ตอนนี้มาตรการเป็นยังไงบ้าง เห็นว่านนทบุรีกำลังจะขึ้นมาเป็นพื้นที่สีแดงเข้ม? สุจินต์ : เครื่องมือที่ใช้ก็เยอะมากแล้วครับ กราบเรียนว่า ผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เราประเมินจากทรัพยากรที่เรามีอยู่คือรพ.กับบุคลากรทางแพทย์ รพ.ไม่ใช่ไม่เตรียมพร้อมนะครับ จริงๆ แล้วเรามีเครื่องไม้เครื่องมือเยอะพอสมควร แต่ถ้าแบ่งผู้ป่วยเป็น 3 กลุ่ม ผู้ป่วยหนัก ผู้ป่วยระดับกลาง มีประมาณ 120 เตียง ผู้ป่วยที่ต้องอยู่รพ. ส่วน รพ.สนามเราเตรียมไว้พันเตียง ใช้ไป 300 กว่าเตียง ยังรองรับได้ แต่ที่เป็นผู้ป่วยหนักเครื่องมือเราไม่พอจริงๆ ทำให้ต้องยกระดับคำสั่ง ทำยังไงก็ได้ให้ประชาชนเจอกันน้อยที่สุด พยายามไม่ให้รวมกลุ่มกันมากๆ ซึ่งเป็นความเสี่ยงในการระบาด จะมีการล็อกดาวน์ที่นนทบุรี? สุจินต์ : ถ้าประเมินแล้วพอใจ คงไม่ยกระดับอะไร แต่เมื่อวานเราออกคำสั่งเพิ่มเติมเพื่อให้สอดคล้องกับกรุงเทพมหานคร เพราะกรุงเทพฯ สั่งปิดเพิ่มเติม 30 กว่าแห่ง ทำให้ผู้ใช้บริการ เคลื่อนที่ข้ามจังหวัดมา เช่นฟิตเนส ข้ามมาตรงนี้ ดูแล้วแออัดหนาแน่น ก็เลยต้องออกคำสั่งเพิ่ม ปิดให้สอดคล้องกันแค่นั้นเอง ยังประเมินอีก 3 วัน เพื่อดูสถานการณ์ คือเดิม 850 หรือ 200 เป็นห่วงมาก แต่วันสองวันเริ่มอยู่ระดับ 100 พรุ่งนี้อาจมีประมาณ 90 ก็คิดว่าถ้าอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ก็มอนิเตอร์ไปเรื่อยๆ แต่ถ้าไม่ไหวก็ยกระดับบางตัวที่จำเป็น ต้องคุยกับคณะกรรมการควบคุมโรคอีกครั้งนึง กรณีมีการออกคำสั่งใส่หน้ากากอนามัย ใครไม่ใส่ผิดกฎหมาย มีเรื่องสตางค์ชาวบ้าน ที่เป็นพ่อค้าแม่ค้า เงินทองไม่ค่อยมี ไม่ทราบว่าทางจังหวัดเองมีแจกมั้ย? สุจินต์ : จริงๆ แล้วหน้ากากผ้าก็ได้ครับ หน้ากากผ้าที่สามารถซักได้ ก่อนหน้านี้รัฐบาลให้นโยบายมา เราทำหน้ากากผ้าไปแจก ประชาชนได้ไปคนละหลายอันอยู่ ถ้าซักล้างหมุนเวียนก็อยู่ได้ครับ ยืนยันว่าหน้ากากผ้าก็ใส่ได้ แต่ถ้าไม่ใส่เลยโดน? สุจินต์ : โดนครับ ตอนนี้ต้องขอความร่วมมือ จำเป็นต้องบังคับใช้ทางฎหมาย ในขณะที่เรายังไม่มีวัคซีน หน้ากากเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในการร่วมมือกันป้องกัน อยู่ในสายกับ "พล.ต.อ. ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์" รองผบ.ตร. กรณีการตรวจจับปรับ คนไม่ใส่หน้ากากอนามัย อัตราโทษยังไง? พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ : ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนความผิด การไม่สวมหน้ากาก เมื่อออกนอกเคหะสถานเป็นไปตามคำสั่งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ซึ่งแต่ละจังหวัดจะมีบางกรณีแตกต่างกัน เท่าที่ทราบ 52 จังหวัด บางจังหวัดอาจเฉพาะตลาดหรือชุมชน แต่ส่วนใหญ่ใช้คำว่าออกนอกเคหะสถานหรือบ้านพัก ทางส่วนนี้ตร.ก็พยายามเน้นเรื่องการจงใจฝ่าฝืน ถ้าขาดเจตนาต่างๆ เราจะอนุโลมให้ถึงที่สุดเพื่อรักษากฎหมาย เข้าใจพี่น้องที่บางครั้งอาจไม่ได้สนใจ ซึ้งการทำความผิด เป็นไปตามคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ กำหนดไว้ 30 มี.ค. ปี 63 โดยท่านอนุทิน รมต.กระทรวงสาธารณสุข วางฎเกณฑ์ไว้ ถ้าผิดครั้งแรก 6,000 ครั้งที่สอง 12,000 ครั้งที่สาม 20,000 บาท ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นอำนาจที่อธิบดีกรมควบคุมโรคมอบให้ตร.พนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับได้ ยังมีบทมีเหตุผลความจำเป็นตามข้อ 8 ดูตามสถานการณ์ เหตุผลที่เกี่ยวกับพฤติการณ์ความหนักเบา อาชีพ อายุต่างๆ หรือความหนักเบาของความเสียหายที่เกิดขึ้นต่างๆ สามารถลดหย่อนได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องไม่เกิน 1 ใน 3 ไม่ต่ำกว่า 2 พันบาท ทั่วประเทศหรือแค่กรุงเทพฯ? พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ : ลดได้ครับ แต่ต้องมีเหตุผลความจำเป็นตามข้อ 8 ตามระเบียบคณะกรรมกการโรคติดต่อแห่งชาติ ซึ่งในข้อ 8 บอกว่าให้คำนึงถึงความหนักกเบาในข้อหา พฤติการณ์ ความหนักเบา และความเสียหายที่จะได้รับผลกระทบต่อประชาชน สังคม ตลอดจนอายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา อาชีพ สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะเป็นเหตุผลในการนำมาพิจารณาใช้ดุลยพินิจในการเปรียบเทียบปรับ ลดหย่อนลง หลักเกณฑ์คือครั้งแรกต้องไม่เกิน 6 พัน ต้องดูผลการกระทำความผิดก็มีการลดหย่อนลงมา? พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ : ถ้ามีพฤติการณ์ไม่เสียหายต่อภาพรวม ด้วยลักษณะอาชีพ นักศึกษาอะไรต่างๆ รู้เท่าไม่ถึงการณ์อะไรต่างๆ จะมีการพิจารณาลดหย่อน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ต่ำกว่า 2 พันบาท อย่าโกรธผมนะ จะกลายเป็นช่องว่างมั้ย บังเอิญเขาไม่มีเงิน 2 พันให้ แล้วตร.บอกเอามา 200 แล้วเอาเข้ากระเป๋าไป? พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ : ก็เป็นห่วงเรื่องนี้ ได้กำชับอยู่เมื่อวานว่าให้ไปบังคับผู้ใต้บังคับบัญชาทุกคนว่าอย่าให้มีข่าวลักษณะนี้ ว่าไปเรียกรับหรือมีเรื่องผลประโยชน์เรื่องนี้ ถ้ามีถือว่าเป็นความผิดทางวินัยอาญา ผู้บังคับบัญชาระดับต้นก็ถือว่ามีความผิด บกพร่องไปด้วย ก็อยากให้ทุกท่านสวมหน้ากากตามคำสั่งผู้ว่า ซึ่งใช้อำนาจตามพนักงานควบคุมโรค ก็อยากขอความร่วมมือทุกท่าน รีดไถจะไม่มีเกิดขึ้น? พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ : ยืนยันครับ ถ้ามีจะลงโทษอย่างจริงจัง "เจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์" ผู้ว่าฯ เชียงใหม่ ตอนนี้เป็นไงต้องยกระดับเป็นสีแดงเข้ม? เจริญฤทธิ์ : ตอนนี้ผู้ติดเชื้อรายใมม่ลดลง เมื่อวาน 78 วันนี้ 55 แต่อย่างไรก็ตาม การประเมินของศบค. เขาดูผู้ป่วยสะสม ของเราผู้ป่วยสะสมติดเชื้อมี 3,300 แต่กลับบ้านไปแล้ว 1,171 เหลือรักษาตัวอยู่ในรพ. ทั้งรพ.สนาม และรพ.ปกติ 2,171 ครับ จะมีการล็อกเมืองมั้ย? เจริญฤทธิ : โดยสถานกการณ์ตอนนี้ เราได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี จากพี่น้องในการให้ความร่วมมือ ตั้งแต่เริ่มระบาด เราประกาศขอความร่วมมือเรื่องการดูแลสุขอนามัยตนเอง การไม่ออกไปที่ต่างๆ โดยไม่จำเป็น แต่อย่างไรก็ตามก็มีคนกลุ่มนึงที่ไม่ค่อยปฏิบัติส่วนนี้เราจึงยกระดับมาตรการให้เป็นคำส่ง จากการประกาศขอความร่วมมือ ยกระดับเป็นคำสั่งที่จะต้องมีการกำกับ ควบคุมให้มีการปฏิบัติตามอนามัยส่วนบุคคล โดยเฉพาะการสวมหน้ากาก คาดว่าจะทำให้เราสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้เร็วขึ้น กรุงเทพฯ ต้องมีการล็อกดาวน์มั้ย? ร.ต.อ. พงศกร : ตอนนี้เราคิดว่ามาตรการเพียงพอ ต้องดูสถานการณ์ในอนาคตว่าเป็นยังไง ถ้าแย่ลงต้องเพิ่มมาตรการ แต่ตอนนี้เราคิดว่าใน 31 สถานที่ที่เราปิดเพียงพอ แต่อนาคตต้องดูว่าคลัสเตอร์จะเกิดยังไง ผลมาตรการทั้งหมดจะใช้เวลา 14 วัน ช่วง 14 วันที่แล้วปิดสถานบันเทิง ผลคลัสเตอร์น้อยลง กรุงเทพฯ ต้องมีการล็อกดาวน์มั้ย? ร.ต.อ. พงศกร : ตอนนี้สถานการณ์เราคิดว่ามาตรการเพียงพอแล้ว ต้องดูสถานการณ์ในอนาคตว่าจะเป็นอย่างไร ถ้าสถานการณ์ดีขึ้นก็มีการผ่อนปรนมาตรการ แต่ถ้าแย่ลงก็เพิ่มมาตรการ แต่ตอนนี้ 31 สถานที่ที่เราปิด เราคิดว่าเพียงพอ จะมีปิดเพิ่มมั้ย? ร.ต.อ. พงศกร : ตอนนี้แค่ 31 ต้องดูว่าอนาคตจะมีคลัสเตอร์ยังไง ถ้าผลมาตรการทั้งหมดใช้เวลาประมาณ 14 วัน ตอนนี้ตัวเลขที่เราเห็นเป็นเมื่อ 14 วันที่แล้ว ช่วงนั้นเป็นช่วงที่เราปิดสถานบันเทิง ก็จะเห็นว่าคลัสเตอร์เริ่มลดน้อยลง แต่ว่าตอนนี้ผลของการที่เราออกมาตรการจะใช้เวลา 14 วัน ซึ่งก็ต้องรอดู? คิดมั้ยว่าถ้าไม่ปล่อยไปสงกรานต์จะไม่กลับมาเป็นแบบนี้? ร.ต.อ. พงศกร : เราคิด ตอนนั้นเราไม่ได้อยู่เฉยๆ นะครับ เราปิดสถานบันเทิงตั้งแต่ก่อนสงกรานต์แล้ว