จากกรณีที่พบผู้ติดเชื้อโควิด 1 ราย แต่ไม่ไม่ได้เข้ารับการรักษา ต้องกักตัวอยู่ในบ้าน ตั้งแต่วันที่ 8 เม.ย.-19 เม.ย. จนทำให้คนในครอบครัวทั้ง 6 คนติดเชื้อ ตามที่นำเสนอข่าวไปแล้วนั้น ล่าสุด วันที่ 21 เม.ย. ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) เผยว่า ในวันนี้ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข จะมีการประชุมทางไกลผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ร่วมกับ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ทุกจังหวัด เพื่อขับเคลื่อนเรื่องวัคซีนป้องกันโควิด-19 โดยให้ อสม.เคาะประตูบ้าน แจ้งข่าวการวัคซีนป้องกันโควิด-19 และในเรื่องสำคัญคือ การติดตามกลุ่มเสี่ยง โดยเฉพาะลูกหลานที่กลับจากกรุงเทพมหานคร (กทม.) และกลุ่มเสี่ยงอื่นๆ ในช่วงสงกรานต์ เมื่อถามถึงกรณีผู้ติดเชื้อโควิด-19 ใน กทม.ต้องรอการรักษาพยาบาลอยู่ที่บ้านนานกว่า 10 วัน จนทำให้ติดเชื้อกันเองภายในบ้าน 6 ราย นพ.ธเรศ กล่าวว่า เท่าที่ได้หารือกับ นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ พบว่า ผู้ติดเชื้อรายดังกล่าวไม่มีรายชื่อรายงานเข้าระบบการรอเตียง ตามระบบสายด่วนที่เปิดไว้ ซึ่งอาจเกิดจากเหตุการณ์เกิดขึ้นก่อน หรืออาจมีบางจุดของระบบต้องปรับปรุงก็ได้ เมื่อถามว่าแล็บหรือ รพ.ที่ตรวจพบเชื้อไม่ได้รายงานเข้าระบบทำให้ผู้ป่วยตกหล่นหรือไม่ นพ.ธเรศ กล่าวว่า ต้องไปตรวจสอบข้อเท็จจริง ข้อมูลตอนนี้ยังไม่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม การที่เราเห็นภาพช่องทางโซเชียลมีเดีย เราก็รีบเข้าไปช่วยกัน ประเด็นสำคัญคือ ต้องเข้าไปดูแลผู้ป่วยให้เข้าสู่ระบบเร็วที่สุด เมื่อคืนนี้ก็ได้ช่วยกันทั้งกลาโหม สบส. และทาง กทม.เอง ซึ่งก็ได้นำผู้ป่วยเข้าสถานพยาบาลเอกชน 2 แห่งแล้ว เมื่อถามว่าถึงกรณีหลักเกณฑ์ในการเข้าพักใน Hospitel เนื่องจากขณะนี้มีการส่งต่อข้อมูลว่า ต้องจ่ายส่วนต่างค่าเตียง และบางคนระบุว่ายินดีจ่ายเงินเองเพื่อเข้าไปพักใน Hospitel นพ.ธเรศ กล่าวว่า ตามระบบการรักษา มีการจัดคิว ดังนั้นประชาชนจะไม่สามารถเลือกได้ และยังมีกฎหมายดูแลผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉินรองรับด้วย แต่ย้ำว่า มาตรฐานการรักษาเหมือนกันในทุกที่ แต่อาจต่างกันเรื่องห้องพักรักษาโดยระบบแล้ว Hospitel เหมือนสถานพยาบาลชั่วคราว สิ่งที่กำหนดคือ 1.หากมีประกันสุขภาพส่วนบุคคล ก็จะเบิกจ่ายได้หลายระดับขึ้นอยู่กับสิทธิประกันแต่ละคน 2.ระบบเบิกของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)