จากสถานการณ์ในปัจจุบันที่พบการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รอบที่ 3 ที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นในแต่ละวัน โดยเฉพาะล่าสุดที่มีการติดเชื้อโควิดจากสถานบันเทิงชื่อดัง ตามที่นำเสนอข่าวไปแล้วนั้น ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ระบุว่า. โรคโควิด 19 ระบบภูมิต้านทาน ไวรัสโควิด- 19 เป็นไวรัสอาร์เอ็นเอที่มีขนาดใหญ่ มีการสร้างโปรตีนหลายชนิดทั้งที่เป็นโปรตีนโครงสร้าง และโปรตีนที่มาทำหน้าที่ให้ไวรัสคงอยู่และแพร่พันธุ์ได้ เราพูดกันมากถึงโปรตีนที่เป็นหนามแหลม ได้แก่ spike โปรตีน เพราะไวรัสจะเอาส่วนนี้มาจับกับเซลล์ของมนุษย์ การพัฒนาวัคซีนจึงมุ่งเน้นที่จะสร้างภูมิต้านทานของร่างกายเกิดขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้ส่วนหนามแหลมมาเกาะกับเซลล์มนุษย์ได้ ก็จะไม่ติดเชื้อ ในกรณีที่มีการติดเชื้อ การตอบสนองของระบบภูมิต้านทาน จะเกิดขึ้น ไม่เฉพาะส่วนหนามแหลม จะมีภูมิต้านทาน หรือ antibody ต่อส่วนอื่นๆของไวรัส ในส่วนโครงสร้างและโปรตีนอื่นๆอีก ในส่วนโครงสร้างที่สำคัญอีกอันหนึ่งก็คือ โปรตีนที่ทำหน้าที่ยึดเกาะของ RNA กลับเปลือกของตัวไวรัสที่เรียกว่า nucleocapsid และยังมีโปรตีนในส่วนผิว virus อีก วัคซีนชนิด mRNA หรือไวรัส Vector จะสอดใส่สารพันธุกรรมส่วน หนามแหลมเท่านั้น จะไม่มีโปรตีนส่วนอื่นของไวรัสเลย การตรวจวัดภูมิต้านทานเราจึงตรวจวัดเฉพาะ ในส่วนของภูมิต้านทานต่อน้ำแหลมเท่านั้น วัคซีนชนิดเชื้อตาย ใช้ไวรัสทั้งตัว ดังนั้น ส่วนของแอนติเจนที่จะไปกระตุ้นภูมิต้านทานของร่างกายเรา จะมีหลายชนิดที่อยู่ในส่วนประกอบของตัวไวรัส บทบาทในการสร้างภูมิต้านทานต่อส่วนอื่นๆของตัวไวรัส ในปัจจุบันยังไม่ทราบว่าจะมีประโยชน์หรือไม่ในการป้องกันโรค โดยเฉพาะภูมิต้านทานต่อ nucleocapsid และโปรตีนแอนติเจนชนิดอื่นๆ บทบาทของภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นจากเชื้อตาย จึงเป็นที่น่าสนใจมาก จากการศึกษาในประเทศชิลี และบราซิล พบว่าวัคซีนเชื้อตาย ประสิทธิภาพในการป้องกันโรคโควิด 19 ของวัคซีนเชื้อตาย ต่อสายพันธุ์ที่กลายพันธุ์ P1 ไม่ได้ลดลง จึงเป็นที่น่าสนใจว่า อาจจะมีภูมิต้านทานส่วนอื่นเข้ามาเสริม ในการป้องกัน แทนส่วนของ spike ที่มีการกลายพันธุ์ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม