ศจย.เผยผลวิจัยล่าสุด บ่งชี้อันตรายระยะสั้นของบุหรี่ไฟฟ้าน่ากลัวกว่าบุหรี่มวน ทั้งป่วยและเสียชีวิตเร็วกว่าการสูบบุหรี่ธรรมดา ยังพบการส่งต่อยีนผิดปกติจากการสูบ บุหรี่ไฟฟ้าจากแม่สู่ลูกในครรภ์ ขณะที่ผลทดลองในหนูส่งต่อยีนผิดปกติถึงรุ่นหลาน ด้านนักวิจัยยัน บุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้มีความหมายในแง่ทำให้สุขภาพดีขึ้น แนะห้ามนำเข้า ซื้อขาย และสูบดีที่สุด หรือจัดให้เป็นอุปกรณ์และยาทางการแพทย์
ผศ.ดร.นพ.อุดมศักดิ์ แซ่โง้ว ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาการสุขภาพ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เผยผลวิจัยล่าสุด “อันตรายของการใช้บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์และนโยบายควบคุมการใช้ บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์” จากการทบทวนงานวรรณกรรมต่างประเทศ (วารสารวิชาการ ปี 2553 ถึงปัจจุบัน) ในกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางตามนิยามของธนาคารโลก 7 ประเทศ กลุ่มประเทศรายได้สูง 3 ประเทศ และเอกสารของหน่วยงานด้านสุขภาพ เช่น องค์การอนามัยโลก ร่วมกับ ศูนย์ความเป็นเลิศด้าน การวิจัยระบบสุขภาพและการแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยได้รับการสนับสนุนจาก ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) มีข้อสรุปที่น่าสนใจ 3 ประเด็น คือ
ในระยะสั้นบุหรี่ไฟฟ้าอันตรายมากกว่าบุหรี่มวน ใน 2 ภาวะด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นภาวะการ เสี่ยงต่อการระเบิดของอุปกรณ์ ที่ใช้สูบ ส่งผลให้ร่างกาย บาดเจ็บ พิการ และรุนแรงจนถึงเสียชีวิต ทั้งขณะสูบและเก็บไว้กับตัว เช่น ที่กระเป๋ากางเกง และการเกิด ภาวะอิวาลี หรือ E-cigarette or Vaping Product Use-Associated Lung Injury (EVALI) ที่ทำให้ปอดอักเสบเฉียบพลัน และเป็นสาเหตุให้ผู้สูบเสีย ชีวิตได้ ซึ่งร้อยละ 80 ของผู้สูบ บุหรี่ไฟฟ้าที่เกิดภาวะดังกล่าว มาจากการใส่สารสกัดกัญชาในน้ำยา บุหรี่ไฟฟ้า ขณะที่จำนวนผู้ป่วยด้วยภาวะอิวาลีในสหรัฐฯ ปัจจุบันอยู่ที่ 5,000 กว่าคน จาก 2,600 คน ในปี 2561-2562 ในซึ่งบุหรี่ธรรมดาจะไม่เกิดภาวะเช่นนี้
“เราพบข้อมูลว่าผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้าบางคน อายุไม่เยอะ สิบกว่าถึง 20 ปี สูบครั้งแรกและสูบครั้งเดียวก็ สามารถป่วยเป็นภาวะอิวาลีและเสียชีวิตได้ หรือสูบเพียงไม่กี่ปีก็ป่วยและเสียชีวิตจากภาวะดังกล่าว และ ประเด็นการใส่สารสกัดกัญชาในน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าจะอันตรายมากขึ้นในประเทศไทย เมื่ออิงกับนโยบายกัญชา ที่อนุญาตให้ใช้ได้มากขึ้น ก็อาจมีคนนำมาใช้แบบเดียวกันได้” หัวหน้าคณะวิจัยฯ ระบุ
ผศ.ดร.นพ.อุดมศักดิ์ กล่าวต่ออีกว่า ส่วนอันตรายระยะยาวของบุหรี่ไฟฟ้า ข้อมูลที่มีอยู่ใน ปัจจุบันบ่งชี้ว่าสามารถทำให้เกิดโรคอย่างบุหรี่ธรรมดาหรือบุหรี่มวนได้แล้ว เช่น โรคหัวใจ แม้ความ เสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคจะน้อยกว่าก็ตาม นอกจากนี้ยังพบด้วยว่า บุหรี่ไฟฟ้าสามารถช่วยให้สูบบุหรี่มวนน้อย ลงได้จริง แต่ไม่ใช่การเลิกบุหรี่ แค่ผู้สูบเปลี่ยนมาสูบบุหรี่ไฟฟ้าแทน และเมื่อบุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้ ปลอดภัยกว่าบุหรี่ธรรมดา จึงไม่มีความหมายอะไรในแง่การลดผลกระทบทางสุขภาพ
ผศ.ดร.นพ.อุดมศักดิ์ กล่าวว่า อันตรายจากบุหรี่ไฟฟ้าที่่ปรากฏในงานวิชาการต่างประเทศยังมี อีกหลายแง่มุม ทั้งการส่งต่อความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เป็นผลมาจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็น กรณีแม่สูบบุหรี่ไฟฟ้าจนเกิดยีนที่ผิดปกติ และส่งต่อยีนผิดปกตินั้นให้ทารกในครรภ์ ที่นักวิจัยจาก University of Sydney และ University of Technology Sydney ประเทศออสเตรเลียค้นคว้าไว้ ส่วนการทดลองในสัตว์ พบการถ่ายทอดยีนผิดปกติจากบุหรี่ไฟฟ้าในหนูจากรุ่นแม่ไปจนถึงรุ่นหลาน ที่นักวิจัย จาก UFZ–Helmholtz Centre for Environmental Research Leipzig-Halle ร่วมกับ German Cancer Research Center ประเทศเยอรมันเป็นผู้ค้นพบ
“หลังจากวิเคราะห์ผลการสืบค้นเอกสารวิชาการเกี่ยวกับอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้า ทางทีมผู้วิจัย มีข้อเสนอแนะว่าในแง่สุขภาพไม่ควรให้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย และควรให้สถานะบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสิ่งผิด กฎหมายทั้งการนำเข้า การขาย และการสูบ แต่หากไม่สามารถห้ามได้ด้วยปัจจัยทางการเมืองหรือ ภาคธุรกิจ ก็ควรจัดให้ตัวอุปกรณ์ที่ใช้สูบและน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์และยาทางการแพทย์ ที่ต้องมีการขึ้นทะเบียน หรือให้ อย.เป็นผู้อนุมัติเพื่อปกป้องผู้บริโภค โดยเฉพาะในส่วนของน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าต้องห้ามใส่สารสกัด กัญชาทั้ง THC CBD และวิตามิน A ที่ภายหลังพบว่าอาจมีส่วนทำให้เกิดภาวะอิวาลีได้ หรือแม้แต่การ แต่งกลิ่นแต่งรสในลักษณะแฟชั่นเพื่อดึงดูดเยาวชนก็ควรห้ามเช่นกัน และถ้าหากมีข้อบ่งชี้ว่าบุหรี่ไฟฟ้า สามารถช่วยลดการสูบหรือช่วยเลิกบุหรี่ไฟฟ้าได้จริง การใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพื่อลดหรือเลิกบุหรี่ธรรมดาต้องอยู่ใน ความดูแลของแพทย์เท่านั้น อย่างไรก็ดีทาง ศจย.จะนำผลวิจัยที่ได้นี้เสนอต่อรัฐบาล เพื่อใช้วางทิศทางในการ ขับเคลื่อนนโยบายบุหรี่ไฟฟ้าอย่างรัดกุม” ผอ.สถาบันวิจัยวิทยาการสุขภาพ กล่าว.