ยกกรณีประเทศอังกฤษที่ระดมฉีดวัคซีนแอสตร้าฯ จนยอดผู้ป่วยระลอกใหม่ลด จนเตรียมเปิดประเทศแล้ว ระบุขณะนี้มีเพียงสายพันธุ์แอฟริกาใต้และบราซิล ที่ประสิทธิภาพวัคซีนทุกยี่ห้อลดลง แต่ยังคงป้องกันได้ ขณะเรื่องผลข้างเคียงภาวะลิ่มเลือดเปอร์เซ็นต์เกิดขึ้นได้น้อยมาก ย้ำการใช้วัคซีนในขณะนี้ในภาวะฉุกเฉินมีประโยชน์มากกว่าอันตราย พร้อมเชิญชวนคนไทยร่วมฉีดวัคซีน และการ์ดต้องอย่าตก ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หน.ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงกรณีมีการตั้งคำถามถึงประสิทธิภาพของวัคซีนโควิด-19 ที่ใช้ในประเทศไทยว่า พบว่าวัคซีนมีประสิทธภาพทั้งป้องกันโรค ป้องกันอาการหนักนอนรพ. และป้องกันการเสียชีวิต ซึ่งวัคซีนที่ใช้ในอเมริกา ยุโรป และไทย พบป้องกันการเสียชีวิตได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งทั้งวัคซีนซิโนแวค วัคซีนแอสตร้าเซเนก้า ก็ป้องกันได้100 เปอร์เซ็นต์ รวมทั้งวัคซีนไฟเซอร์ ก็ไม่แตกต่าง สำหรับป้องกันอาการหนักต้องเข้ารพ. พบประสิทธิภาพไม่ต่างกัน ไม่ว่ายี่ห้อใด โดยตัวเลขห่างกันเล็กน้อยที่ประมาณ 78 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งทั่วโลกยอมรับ ยืนยันวัคซีนที่ใช้ในไทย ป้องกันความรุนแรงของโรคมีประสิทธิภาพดียิ่ง ป้องกันเสียชีวิตได้แน่นอน ซึ่งข้อมูลนี้ไม่แตกต่างกับวัคซีนอื่นๆ จึงเชิญชวนคนไทยทุกคนให้มั่นใจในประสิทธิภาพของวัคซีนที่นำมาใช้ในไทย ส่วนคำถามว่าวัคซีนที่ไทยใช้ป้องกันวัคซีนกลายพันธุ์ได้หรือไม่ นั้น ศ.นพ.ยงกล่าวว่า ประสิทธภาพวัคซีนต่อการกลายพันธุ์ ขณะนี้สายพันธุ์อังกฤษ หรือB117 พบประสิทธิภาพของวัคซีนแอสตร้า ใช้ได้ไม่แตกต่างไม่ว่าไวรัสจะกลายหรือไม่กลายพันธุ์ เพราะการกลายพันธุ์ของสายพันธุ์อังกฤษ เป็นในตำแหน่งส่วนที่จับกับเซลล์พื้นผิวเรา เมื่อจับง่ายจึงแพร่พันธุ์ได้ง่าย จึงเพิ่มจำนวนได้ง่าย ปริมาณเชื้อมาก การกระจายโรคจึงเป็นไปได้เร็ว ส่วนสายพันธุ์ที่อาจมีผลต่อประสิทธิภาพวัคซีน คือ สายพันธุ์แอฟริกาใต้ และสายพันธุ์บราซิล เพราะการเปลี่ยนแปลงกรดอมิโน ตำแหน่ง 484 ทำให้ภูมิคุ้มกันที่เกิดจากวัคซีน เกาะหรือจับได้น้อยลง อาจทำให้ประสิทธิภาพวัคซีนลดลงบ้าง ทั้งนี้ จะเห็นว่าวัคซีนที่ต่างชาติมีการทดสอบใหม่ เมื่อนำไปทดสอบกับแอฟริกาใต้ ปรากฏว่าประสิทธิภาพลดลงแต่ป้องกันได้ แต่อย่างไรก็ตาม เราไม่อยากเห็นสายพันธุ์ที่กลายพันธุ์เข้ามาในประเทศไทย ซึ่งทุกคนต้องช่วยกัน ดังนั้น ขณะนี้ใครมาจากแอฟริกาใต้ บราซิล ไทยมีระบบควอทรันทีนป้องกันสายพันธุ์ นี้ ซึ่งจากที่ยังสายพันธุ์อังกฤษเข้ามาได้ จึงขอให้ไทยอย่าการ์ดตก ถ้าเรามีวัคซีนสามารถเคลียร์สายพันธุ์ต่างๆ ออกไปได้ ต่อไปก็จะสามารถตรวจได้ง่าย และกำจัดได้โดยการร่วมด้วยช่วยกันก็จะหมดไปแล้ว สำหรับคำถามที่ว่าวัคซีนที่ใช้ในไทยขณะนี้มีประสิทธิภาพดีมากน้อยเพียงใดนั้น ศ.นพ.ยงว่า ต้องมองทั่วโลกก่อน แล้วค่อยมามองในไทย ทั่วโลก ฉีดแล้วมากว่า 700 ล้านโดส ยังไม่พอ ถ้าจะฉีดให้ครบให้เกิดภูมิกลุ่มต้องฉีดถึง 1 หมื่นล้านโดส คลุม 5 พันล้านคน ขณะนี้ทั่วโลกฉีดได้ 15 ล้านโดสต่อวัน ซึ่งต้องใช้เวลา 2 ปีถึงจะถึงเป้า ทราบว่าขณะนี้ กำลังเร่งฉีดให้ได้ 30 ล้านโดส/วัน เพื่อให้ได้ตามเป้าใน 1 ปี โดยจะเห็นว่า 700 ล้านโดสทั่วโลก ฉีดมากที่สหรัฐฯ และจีน ส่วนที่ฉีดได้ในกลุ่มคนหมู่มากคือ อิสราเอล ซึ่งใช้ของไฟเซอร์ พบว่าผู้ป่วยจากที่ขาขึ้น ฉีดคุมไปได้มากแล้วสูงมาก ทำให้การป่วยในประเทศลดลงต่ำกว่ามโหฬาร ขณะนี้คนไข้ต่อวันเหลือน้อยมากๆ อัตราตายก็ลดลงอย่างเห็นได้ชัด “วัคซีนแอสตร้าเซเนก้า ฉีดที่อังกฤษมากที่สุด ด้วยคิดค้นโดยออกซ์ฟอร์ด โดยระยะแรกจากมีคนป่วยมากมาย จึงมีการระดมฉีดมาก ทำให้ผู้ป่วยลดลงและกำลังจะเปิดประเทศได้แล้ว ผู้ป่วยตอสัปดาห์นี้ กำลังจะเปิดปท.แล้ว ขณะเมื่อเปรียบเทียบกับฝรั่งเศสล และเยอรมัน ฉีดวัคซีนหลายตัว พอได้ข่าวแอสตร้ามีอาการข้างเคียง ก็หยุดๆ ฉีดๆ แทนที่จะลุยฉีด ทำให้เห็นได้ชัดว่าทั้งสองประเทศกำลังเกิดระลอกที่ 3 ตรงข้ามกับอังกฤษไม่มีระลอกที่ 3 ทั้งนี้ วัคซีนทุกอย่างมีควมเสี่ยงทั้งนั้น มีอาการแทรกซ้อนได้แน่ๆ แต่โอกาสแทรกซ้อนลิ่มเลือดอุดตัน ขณะนี้มีการยอมรับหรือไม่ มีการยอมรับว่าอาจเกี่ยวข้องกับวัคซีน แต่อุบัติการณ์น้อยมาก 1 ต่อแสน หรือล้าน” ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่าการใช้วัคซีนขณะนี้ที่เป็นการใช้ในภาวะฉุกเฉินประโยชน์มีมากกว่าอันตราย ภาพรวมบอกได้ว่าระดับหมู่มาก ถ้าต้องการลดอัตราป่วย นอนรพ. ไม่ต้องไปกระทบผู้ป่วยปกติ วัคซีนโควิดที่ใช้ในปัจจุบันแม้ใช้ในภาวะฉุกเฉินแต่ประโยชน์มีมากกว่าความสี่ยงมากมาย จึงต้องฉีดให้ได้มากที่สุดเพื่อให้เราพ้นวิกฤติ ศ.นพ.ยงทิ้งท้าย