ระบุล็อตใหม่ที่มา 1 ล้านโดสจะกระจายครอบคลุม 4 กลุ่มเป้าหมาย ขณะล็อตใหญ่จริงๆ เดือนมิ.ย. ของแอสตร้าฯ วางแผนไว้ฉีด10 ล้านโดสต่อเดือน
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรคกล่าวถึงข้อข้องใจเรื่องวัคซีนโควิดที่ประเทศไทยใช้ว่า วัคซีนที่ใช้ในไทยทั้งซิโนแวค และแอสตร้าเซเนก้า มี 3 คุณสมบัติ 1.มีคุณภาพ 2.มีประสิทธิภาพ 3.ปลอดภัย ซึ่งวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า และซิโนแวค ได้ผ่านการตรวจสอบประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ องค์การอนามัยโลกได้รับรองวัคซีนแอสตร้าเซเกก้า มีประสิทธิภาพตามมาตรฐานอนามัยโลก ป้องกันได้ 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่าป้องกันได้ ด้วยในโลกไม่มีวัคซีนตัวใดที่จะป้องกันได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ มีข้อยกเว้นเสมอ เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ประสิทธิภาพ 60-70 เปอร์เซ็นต์ ฉีดคนหมู่มากได้ผล ซึ่งวัคซีนโควิดหลายประเทศได้นำมาใช้ภายใต้ภาวะฉุกเฉิน ซึ่งประโยชน์ที่จะได้มากกว่าผลงานวิจัยที่ยังไม่สำเร็จ
ทั้งนี้ วัคซีนแอสตร้าเซเนก้า ป้องกันการติดเชื้อได้ร้อยละ 60 สำหรับคนที่ฉีดไปแล้วยังติดเชื้อได้แต่น้อยกว่าผู้ที่ไม่ฉีด และโอกาสป่วยหนักลดลงเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ ยืนยันวัคซีนที่ไทยใช้มีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับแล้ว ขอให้ประชาชนฉีด โดยรัฐบาลได้จัดซื้อมา ไม่ใช่เป็นการรับบริจาค และที่มีข่าวมากว่าไทยฉีดช้า อีก 10 ปีจะครบหรือไม่นั้น เนื่องด้วยวัคซีนที่ได้มายังมีน้อย เพียง 1 ล้านโดส ซึ่งฉีดได้กว่า 4 แสนเข็ม และยังไม่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง
อย่างไรก็ตาม ล่าสุดได้รับวัคซีนมาใหม่ 1 ล้านโดส ตามกำหนดการที่จะใช้คือ 1. ครอบคลุมทั่วประเทศในกลุ่มบุคลากรการแพทย์ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าหน้าที่ด่านหน้าที่ต้องปูพรมฉีดให้หมด 2.ฉีดในพื้นที่ระบาด กทม. ปริมณฑล จังหวัดที่มีการระบาดมากๆ อื่นๆ 3.จังหวัดที่มีแผนเปิดจังหวัด เช่น ภูเก็ต 4.การฉีดในกลุ่มเป้าหมายอื่นๆ (ซึ่งมีการกำหนดเดินทางข้ามประเทศต้องฉีด) 1 ล้านโดย ถือว่าไม่มากนัก เหมือนบททดสอบประสิทธิภาพการฉีดของจังหวัดต่างๆ ซึ่งล็อตใหญ่จะเข้ามาในเดือนมิ.ย.ของแอสตร้าเซเนก้า มีแผนฉีด 10 ล้านโดสต่อเดือน ถ้าได้ตามแผนครอบคลุม 60 ล้านโดส ได้ 30 ล้านคน โดยรัฐมีนโยบายฉีดฟรี ถือว่าวัคซีนรัฐมีเพียงพอ และเปิดโอกาสให้เอกชนมีส่วนร่วม ถ้าเอกชนไปจัดหามาได้ ภาครัฐก็ไม่ปิดกั้น ซึ่งพบว่าด้วยข่าวสารในด้านนี้ที่ผ่านมาคลาดเคลื่อนไม่ค่อยตรงความจริงเท่าไร
นอกจากนี้ จากที่มีข้อมูลพบไวรัสระบาดในสถานบันเทิงเกี่ยวพันกับสายพันธุ์อังกฤษ โดยเป็นสายพันธุ์หลักกระจาย สายพันธุ์นี้ทำให้แพร่กระจายได้เร็ว ตรงกับที่เห็นสถานการณ์ในขณะนี้ จากการตรวจรอบนี้ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ไม่มีอาการ พบเชื้อจำนวนมากทำให้แพร่ได้เร็ว และความรุนแรงไม่รุนแรงกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม วัคซีนที่มียังมีประสิทธิภาพ ซึ่งจากที่อังกฤษ ซึ่งฉีดวัคซีนแอสตร้าฯ พบจำนวนติดเชื้อลดลง เป็นหลักฐานยืนยันวัคซีนแอสตร้าฯป้องกันสายพันธุ์นี้ได้
สำหรับกรณีหญิงตั้งครรภ์ท้องจะฉีดวัคซีนโควิดได้หรือไม่ วัคซีนทุกชนิดในโลกไม่แนะนำให้ฉีด เพราะมีทารกในครรภ์ที่เป็นช่วงเจริญเติบโต ตามหลักการแพทย์จะไม่มีการให้ยาหรือวัคซีน เนื่องจากยังไม่มีข้อพิสูจน์วิจัยชัดเจนในวัคซีนโควิด ที่เป็นของใหม่ ข้อมูลไม่มากพอ ไม่แนะนำให้ฉีด แต่ให้ใช้มาตรการอื่นๆ เป็นหลักป้องกันแทน