วันนี้ (31 ส.ค.60) นายสุรเดช เตียวตระกูล อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เปิดเผยว่า พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่เร่งสำรวจพื้นที่การเกษตรที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย เพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูอย่างเร่งด่วน และเยี่ยมให้กำลังใจชาวบ้านผู้ประสบอุทกภัยซึ่งกรมพัฒนาที่ดิน ได้เตรียมแผนการดำเนินงานไว้พร้อมแล้ว โดยระยะเร่งด่วนได้เข้ามามอบถุงยังชีพ น้ำหมักชีวภาพ (พด.6) ช่วยบำบัดน้ำเน่าเสียกลิ่นเหม็น หลังจากน้ำลดแล้วจะเข้ามาช่วยเหลือในการปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้ปอเทือง ส่วนในระยะยาวให้สถานีพัฒนาที่ดินสำรวจความต้องการของชุมชนในการขุดลอกแหล่งน้ำหรือสระน้ำเพื่อเป็นการรับมือปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตต่อไป อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน กล่าวว่า ทั้งนี้ ได้แนะนำพื้นที่เกษตรที่ได้ความเสียหายจากอุทกภัย ภายหลังน้ำลดลงและมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มที่เป็นนาข้าว เกษตรกรควรรีบทำการระบายน้ำออกโดยเร็วที่สุดปล่อยให้ดินแห้งเพื่อไม่ให้ต้นข้าวเน่าตาย ให้ใช้ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพของกรมพัฒนาที่ดิน เช่น น้ำหมักชีวภาพ พด. 2 อัตรา 5 ลิตร/ไร่ ใส่ในนาข้าวเพื่อช่วยเร่งการเจริญเติบโตในกรณีน้ำท่วมขังแปลงนาต้นข้าวเน่าตาย หรือบ้านเรือนชุมชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่เขตเมือง มีน้ำนิ่งท่วมขัง เน่าเหม็น ให้ใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.6 ทำสารบำบัดน้ำเน่าเสีย เพื่อช่วยขจัดกลิ่นเหม็น โดยใช้อัตรา 1 ลิตร ต่อปริมาณน้ำในนา 10 ลูกบาศก์เมตร ทุก 10 วัน หรือถ้ามีกลิ่นเหม็นมากใส่ทุก 3 วัน จนกว่าจะหมดกลิ่นเหม็นที่มีน้ำเน่าท่วมขัง นายสุรเดช กล่าวว่า สำหรับสวนไม้ผลให้ทำทางระบายน้ำให้น้ำไหลออก ห้ามนำเครื่องจักรหนักเข้าไปเหยียบย่ำในพื้นที่ และห้ามเข้าเหยียบย่ำโคนต้นไม้เพราะดินที่ถูกน้ำท่วมจะมีโครงสร้าง ที่ง่ายต่อการถูกทำลายและเกิดการอัดแน่นได้ง่าย ทำให้ดินขาดอากาศต้นไม้เกิดการทรุดโทรม ถ้าต้นไม้จะล้มให้ทำไม้ค้ำยัน เมื่อดินแห้งแล้วให้พรวนดินเพื่อให้ดินแห้งเร็วขึ้น หากพบปัญหาโรครากเน่าโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อรา แนะให้ใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด. 3 ที่มีคุณสมบัติในการช่วยป้องกันโรครากเน่าโคนเน่าในต้นพืชได้อย่างดีและให้มีการพักดินในพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมสักระยะหนึ่ง ซึ่งการพักดินเป็นการปรับปรุงบำรุงดินด้วยวิธีหนึ่งโดยอาจปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดินไว้ เช่น ปอเทือง ถั่วพุ่ม ถั่วพร้า เป็นต้น วิธีการต่างๆ ที่กล่าวมานี้ นอกจากจะเหมาะกับกับการฟื้นฟูสภาพดินหลังน้ำลดลงแล้ว ยังเหมาะสำหรับการเตรียมการไว้ก่อนน้ำท่วมอีกด้วย ในบริเวณที่แน่ใจว่าจะมีน้ำท่วมขัง ในปลายฤดูฝนก็อาจปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดินไว้ก่อน หรือปลูกพืชไร่อายุสั้นที่สามารถเก็บเกี่ยวได้ก่อนจะมีน้ำท่วมขัง โดยปลูกให้มีระยะถี่กว่าปกติ และวางแถวพืชขวางความลาดเทของพื้นที่ หรือวางขวางทิศทางการไหลของน้ำ เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วให้ทิ้งตอซังไว้ในพื้นที่โดยไม่ต้องไถกลบทั้งนี้ตอซังจะช่วยลดความรุนแรงของกระแสน้ำที่ไหลบ่า ช่วยยึดหน้าดินไม่ให้น้ำพัดพาออกไปจากพื้นที่ ซึ่งกรมพัฒนาที่ดิน ได้เตรียมแผนการดำเนินงานไว้พร้อมแล้ว โดยระยะเร่งด่วนได้เข้ามามอบถุงยังชีพ น้ำหมักชีวภาพ (พด.6) ช่วยบำบัดน้ำเน่าเสียกลิ่นเหม็น หลังจากน้ำลดแล้วจะเข้ามาช่วยเหลือในการปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้ปอเทือง ส่วนในระยะยาวให้สถานีพัฒนาที่ดินสำรวจความต้องการของชุมชนในการขุดลอกแหล่งน้ำหรือสระน้ำเพื่อเป็นการรับมือปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตต่อไป นายสุรเดช กล่าวอีกว่า สำหรับพื้นที่เกษตรที่ได้ความเสียหายจากอุทกภัย ภายหลังน้ำลดลงและมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มที่เป็นนาข้าว เกษตรกรควรรีบทำการระบายน้ำออกโดยเร็วที่สุดปล่อยให้ดินแห้งเพื่อไม่ให้ต้นข้าวเน่าตาย ให้ใช้ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพของกรมพัฒนาที่ดิน สำหรับสวนไม้ผลให้ทำทางระบายน้ำให้น้ำไหลออก ห้ามนำเครื่องจักรหนักเข้าไปเหยียบย่ำในพื้นที่ และห้ามเข้าเหยียบย่ำโคนต้นไม้เพราะดินที่ถูกน้ำท่วมจะมีโครงสร้างที่ง่ายต่อการถูกทำลายและเกิดการอัดแน่นได้ง่าย ทำให้ดินขาดอากาศต้นไม้เกิดการทรุดโทรม ถ้าต้นไม้จะล้มให้ทำไม้ค้ำยัน เมื่อดินแห้งแล้วให้พรวนดินเพื่อให้ดินแห้งเร็วขึ้น หากพบปัญหาโรครากเน่าโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อรา แนะให้ใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด. 3 ที่มีคุณสมบัติในการช่วยป้องกันโรครากเน่าโคนเน่าในต้นพืชได้อย่างดีและให้มีการพักดินในพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมสักระยะโดยอาจปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดินไว้ บริเวณพื้นที่ที่แน่ใจว่าจะมีน้ำท่วมขัง ในปลายฤดูฝนก็อาจปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดินไว้ก่อน หรือปลูกพืชไร่อายุสั้นที่สามารถเก็บเกี่ยวได้ก่อนจะมีน้ำท่วมขัง โดยปลูกให้มีระยะถี่กว่าปกติ และวางแถวพืชขวางความลาดเทของพื้นที่ หรือวางขวางทิศทางการไหลของน้ำ จะช่วยลดความรุนแรงของกระแสน้ำที่ไหลบ่า ช่วยยึดหน้าดินไม่ให้น้ำพัดพาออกไปจากพื้นที่