ผู้สื่อข่าวรายงาน ถึงการประชุมรัฐสภา ซึ่งพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...) พ.ศ.... วาระสอง ได้ผ่านร่างมาตรา ว่าด้วยขั้นตอนการพิจารณาและจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งกรรมาธิการ (กมธ.) ได้ปรับแก้เนื้อหาให้ ส.ส.ร.​ มีอำนาจแต่งตั้ง ส.ส.ร. ให้ดำรงตำแหน่ง กรรมาธิการ ทำหน้าที่ยกร่างรัฐธรรมนูญ หรือพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ และกำหนดให้ตั้งบุคคลที่ไม่ได้เป็นส.ส.ร. เป้นกรรมาธิการอื่นได้ โดยมีเงื่อนไขให้คำนึงถึงความรู้ความเชี่ยวชาย หรือประสบการ โดยเสียงข้างมาก 565 เสียง เห็นด้วยกับกรรมาธิการ ต่อ 1 เสียง งดออกเสียง 20 เสียง จากนั้น ที่ประชุมได้พิจารณามาตราว่าด้วยหลังจากการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จ ให้นำเสนอต่อรัฐสภา เพื่ออภิปรายแสดงความเห็น โดยไม่ลงมติ ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน และเมื่อพิจารณาเสร็จแล้วให้ส่งร่างรัฐธรรมนูญไปยัง กกต.​เพื่อให้ออกเสียงประชามติภายใน 7 วัน โดยมีประเด็นถกเถียง ต่อการให้อำนาจรัฐสภา ลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบก่อนออกเสียงประชามติ ซึ่ง ส.ว.ต้องการให้รัฐสภาลงมติก่อนนำไปทำประชามติ เพื่อให้เกิดการตรวจสอบถ่วงดุล ซึ่งนายสมชาย แสวงการ ส.ว. อภิปราย ว่า กรณีที่ไม่ให้รัฐสภาเห็นชอบ ถือเป็นไม่เป็นประชาธิปไตยที่มีความรับผิดชอบ ซึ่งการยกร่างรัฐธรรมนูญ ภายใต้เวลา 240 วัน หรือ 8 เดือน มีความเร่งรีบ และไม่มีกรอบ จึงจำเป็นต้องตรวจสอบถ่วงดุล ก่อนการนำไปทำประชามติ ขณะที่ผู้เห็นแย้ง เป็นฝั่ง ส.ส. ของพรรคก้าวไกล ที่เห็นควรให้ยืนตามกรรมาธิการ ทั้งนี้ นายธีรัจชัย พันธุมาศ​ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายว่า อำนาจประชามติ อยู่เหนือรัฐสภา เพื่อให้ประชาชนมีสิทธิสถาปนารัฐธรรมนู ทำไมต้องขัดขวาง อย่างไรก็ตามรัฐสภาปัจจุบัน ไม่ได้มาจากประชาชน 100% เพราะจำนวน หนึ่ง มาจากการแต่งตั้งโดย คณะะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ​และมีแนวโน้มขัดขวาง เมื่อสักครู่มีพฤติกรรมต่อรองหากไม่ทำตามกับฝ่ายที่แต่งตั้งคสช. ​จะคว่ำ วาระสาม โดย 84 เสียง คนจะไม่ลงมติ นั่นคือ การกรรโชก ทั้งนี้นายสมชาย ประท้วงประเด็นดังกล่าว และขอให้ถอนคำว่ากรรโชก ทำให้นายธีรัจชัย กล่าวขึ้นว่า ในการพักการประชุมมีการส่งสัญญาณมายังวิป และตนไม่ได้เอ่ยชื่อบุคคลใด หากไม่มีเรื่องดังกล่าวจริงขอให้ยืนยัน ทำให้นายสมชาย โต้ตอบว่า “ไม่ได้ยืนยัน เพราะท่านมโนไปเอง” ก่อนที่นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา วินิจฉัยให้ถอน จากนั้นที่ประชุมได้ลงมติ ผลปรากฎว่าเสียงข้างมาก 379 เสียงเห็นด้วยกับกมธ.​ต่อ 193 เสียง และงดออกเสียง 19 เสียง.