นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์เปิดเผยว่า สถิติการส่งออกของประเทศในช่วงเดือนมกราคม 2564 พบว่า การส่งออกกลับมาเป็นบวกอยู่ที่ร้อยละ 0.35 ในรอบ 9 เดือนของปี 63 คิดเป็นมูลค่ากว่า 19,706.57 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งดีกว่าที่คาดการณ์ไว้และหลายประเทศทั่วโลกการส่งออกฟื้นตัวและกลับมาเป็นบวกขึ้นด้วยเช่นกันและเป็นไปตามทิศทางเศรษฐกิจการค้าโลกที่กำลังฟื้นตัวค่อยๆเป็นค่อยไป หลังจากประเทศต่างๆทยอยผ่อนคลายมาตรการจำกัดการเดินทางและการขนส่ง ส่งผลทำให้ภาคการผลิตเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ และการผ่อนคลายทางการเงินและการคลังในหลายประเทศเพื่อเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องทำให้ความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้น สินค้าส่งออกของไทยหลายรายการขยายตัวได้ดีสอดคล้องกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะในตลาดสหรัฐและอีกหลายประเทศด้วยกัน
ขณะที่ตัวเลขการนำเข้าสินค้าในเดือนมกราคม 64 อยู่ที่ 19,908.96 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนติดลบร้อยละ 5.24 โดยไทยยังได้ติดดุลการค้าในเดือนมกราคม 64 อยู่ที่ 202.39 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยสินค้านำเข้าที่ยังขยายตัวได้ดียังคงเป็นสินค้าในกลุ่มอาหาร สดและเกษตรของไทยหลายตัวยังมีความต้องการของตลาดโลกสูงขึ้น รวมถึงสินค้าที่เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อและลดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เช่น ถุงมือยางที่ยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องทำให้ความต้องการยางพาราในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้นส่งผลดีกับราคายางพาราของไทยในช่วงนี้ดีขึ้นด้วย รวมถึงกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยเริ่มส่งออกได้มากขึ้น และแม้ว่าทั้งโลกรวมถึงไทยเจอปัญหาโควิด-19 กลับมาระบาดใหม่
ทั้งนี้คาดว่าการส่งออกไทยในช่วงครึ่งปีแรก 64 มีแนวโน้นเริ่มกลับมาดีขึ้นน่าจะขยายตัวได้ร้อยละ 3-5 และครึ่งปีหลังขยายตัวได้รัอยละ 3-4 หลังจากทั่วโลกมี วัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 ซึ่งจะส่งผลให้การค้าของโลกกลับมาดีขึ้นและน่าจะทำให้การส่งออกของไทยกลับมาเป็นบวกร้อยละ 4 หรือคิดเป็นมูลค่า 240,727 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเฉลี่ยต่อเดือนส่งออกเกิน 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯเป็นต้น