คปต.ส่วนหน้าแถลงผล ย้ำชัด !!!! ทุกภารกิจชายแดนใต้ ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน วันที่ 21 สิงหาคม 2560 ที่ผ่านสำนักงานคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คปต.ส่วนหน้า) กองพลทหารราบที่ 15 จ.ปัตตานี โดยพลเอกสุทัศน์ จารุมณี หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ร่วมชี้แจงผลการทำงานของคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในห้วงที่ผ่านมา ให้กับสื่อมวลชน เพื่อได้รับทราบถึงการทำงานและช่วยในการสื่อสารข้อมูลที่ได้รับไปสู่ประชาชนในพื้นที่ได้เข้าใจและถือเป็นนโยบายสำคัญที่ทางรัฐบาลต้องการให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับความมั่นคง มั่งคั่ง และยังยืน ด้าน พลเอกสุทัศน์ จารุมณี ได้เปิดเผยกับสื่อมวลชนว่าในปัจจุบันพบว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องการกำลังเพิ่มเพื่อเข้ามาเสริมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื่องจากเกิดการขาดแคลนมานานแล้วช่วงที่มีสถานการณ์ความไม่สงบ เพราะหน่วยงานทหาร ได้ขอกำลังตำรวจซึ่งเป็นหน่วยปฏิบัติการณ์พิเศษมาร่วมภารกิจ บางพื้นที่ต้องใช้ตำรวจโรงพักเพิ่มและให้ลงมาปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยปฏิบัติการณ์พิเศษทำให้ตำรวจบนโรงพักขาดกำลังพลทันที เนื่องจากตำรวจโรงพักต้องทำหน้าที่สืบสวนสอบสวนทางคดี รวมไปถึงการดูแลอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน เมื่อตำรวจบนโรงพักไม่เพียงพอหรือขาดกำลังพลก็จะส่งผลกระทบคุณภาพทางคดีก็จะน้อยลง และในส่วนการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ทุกหน่วยนั้นต้องใช้หลักกฏหมาย และหลักมนุษย์ธรรม โดยไร้ซึ่งอาวุธ ซึ่งในระยะยาวจะเป็นการแก้ปัญหาโดยการนำตำรวจที่บรรจุใหม่มาลงโรงพัก และเกณฑ์นายดาบจากภาคอื่น ๆ ลงมาเป็นนายตำรวจประจำโรงพักในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้ก็เพื่อต้องการให้เกิดคุณภาพในการทำงานของตำรวจอีกด้วย ส่วนในเรื่องของที่ดินทำมาหากินของประชาชนนั้น ล่าสุดที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ได้มีมติผ่านการพิจารณาแล้ว ดังนี้ 1 พื้นที่ ต.ตันหยงเปา อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ขณะนี้ถือว่าเป็นที่ทำมาหากินของประชาชนในพื้นที่ โดยจะมีการเพิ่มป่าชายเลน 3 ไร่ให้เป็นแหล่งทำมาหากิน 2.ใช้ป่าชายแดนเป็นคลองระบายน้ำเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอการซ่อมแซมรถกวาดตะปูที่เสียหายซึ่งถือเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีไว้ทุกอำเภอ ซึ่งได้มีการของบซ่อมไปยังกระทรวงมหาดไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในส่วนของโครงการที่กำลังดำเนินการผลักดันได้แก่ โครงข่ายการคมนาคมใน 5 จังหวัดภาคใต้ชายแดนนั้น ถือเป็นการผลักดันอย่างเข้มข้นโดยการหารือกับกระทรวงคมนาคมโดยตรง โดยเฉพาะเส้นทางรถไฟเชื่อมไปยังชายแดนซึ่งเป็นเรื่องเร่งด่วนเพราะรถไฟเป็นวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ เช่น อ.สุไหงโกลก จ.นราธิวาส ถือเป็นเมืองการค้าชายแดนที่สำคัญ และในปี 62 ก็จะเร่งดำเนินการให้มีการปรับปรุงสนามบินนราธิวาสให้เป็นสนามบินนานาชาติ และจะมีการสร้างสนามบินเบตง จ.ยะลา เพื่อให้เครื่องบินทุกขนาดลงได้ ส่วนทางเรือก็มีการเรียกร้องให้มีท่าเทียบเรือประมงที่มีมาตราฐานเพื่อที่จะนำสินค้าส่งไปขายยังต่างประเทศได้ เรื่องนี้ทาง คปต.ได้ผลักดันให้ได้ตามเงื่อนไขที่ชัดเจน โดยเฉพาะเรือใหญ่จะต้องเข้ามายังท่าเทียบเรือได้ และไม่กระทบกับวิถีชีวิตเรือประมงพื้นบ้าน ท้ายที่สุดเพื่อให้ทุกโครงการสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี อันเป็นเหตุนำพาความเจริญก้าวหน้ามาสู่สามจังหวัดชายแดนใต้ และนำพาประเทศก้าวไปสู่ความ มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ตามยุทธศาสตร์ชาติที่รัฐบาลได้วางไว้นั้น หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้เน้นย้ำให้ทุกภาคส่วนร่วมมือกัน ทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วมขับเคลื่อนทุกๆโครงการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ว่างไว้ในที่สุด