อ.ส.ค.เตรียมเปิดฟาร์มโคนมประสิทธิภาพสูงพ.ค.64นี้ผลักดันเป็นฟาร์มต้นแบบอัจฉริยะและแหล่งเรียนรู้การเลี้ยงโคนมของประเทศ วางเป้าจะมีประชาชนเข้าเยี่ยมชมกิจการฟาร์มเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 10% จากปัจจุบันบันที่ 60,000 คนต่อปี เมื่อวันที่ 29 ม.ค. นายสุชาติ จริยาเลิศศักดิ์ รองผู้อำนวยการ ทำการแทนผู้อำนวยการองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการจัดตั้งฟาร์มโคนมประสิทธิภาพสูง (Thai-Denmark Smart Dairy Farm)ว่า ตามที่คณะรัฐมนตรี( ครม.) ได้อนุมัติงบประมาณ อ.ส.ค.ยืมเงินจำนวน51.7ล้านบาท จากกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคการเกษตร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ สำหรับลงทุนในการจัดตั้งฟาร์มโคนมประสิทธิภาพสูง (Thai-Denmark Smart Dairy Farm) ในอำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี เมื่อปี 2562 ที่ผ่านมานั้น ขณะนี้โครงการดังกล่าวมีความก้าวหน้าเป็นลำดับ โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ประมาณเดือนพฤษภาคม 2564 นี้ ซึ่งหลังจากก่อสร้างแล้วเสร็จ อ.ส.ค.จะซื้อแม่โคประมาณ จำนวน 100 ตัวเข้าสู่ฟาร์มเพื่อผลักดันเป็นฟาร์มสาธิต และถือเป็นฟาร์มสาธิตนำร่องแห่งแรกของประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงโคนมของประเทศ เป็นฟาร์มสำหรับใช้ในการศึกษาและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการฟาร์มด้วยเทคโนโลยี เช่น การสแกนเบอร์โค เพื่อเก็บข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ ระบบรีดนมแบบไปป์ไลน์ที่บันทึกปริมาณน้ำนมดิบรายตัวรายวัน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (การจัดของเสียในฟาร์ม) และคำนึงถึงการกินอยู่ของแม่โคตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ ทั้งนี้ โครงการจัดตั้งฟาร์มโคนมประสิทธิภาพสูงเป็นการจัดตั้งฟาร์มสาธิตเชิงธุรกิจในพื้นที่ของอ.ส.ค.ที่มีจำนวนแม่โครีดนมไม่น้อยกว่า 100 ตัว มีการใช้เทคโนโลยีช่วยในการจัดการฟาร์ม เช่น การเลี้ยงแบบขังในคอกและใช้อาหารผสมสำเร็จที่มีมาตรฐานตรงตามความต้องการของโคการจัดการคอกพักโคและระบบระบายความร้อนที่ทำให้แม่โคอยู่สบายตามหลักสวัสดิภาพสัตว์การบริหารจัดการและเก็บข้อมูลโครายตัวในระบบคอมพิวเตอร์ รวมทั้งระบบการรีดนมที่มีการบันทึกปริมาณน้ำนมดิบรายตัวรายวันมีระบบทำความสะอาดโดยมีเป้าหมายให้มีการฝึกอบรมและศึกษาดูงานในฟาร์มโคนมประสิทธิภาพสูงสำหรับนักวิชาการเจ้าหน้าที่ส่งเสริมและเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ปีละไม่น้อยกว่า 680 คน และเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้าเยี่ยมชมกิจการฟาร์มไม่น้อยกว่า 10%จากปัจจุบันบันที่ 60,000 คนต่อปี