ผู้เลี้ยงสุกรไทยมีหวังรอดวิกฤต พร้อมชื่นชมนกยก และกระทรวงพาณิชย์ ช่วยรับมือโรค ASF ในสุกร และปลดล็อคส่งออกได้ รักษากลไกตลาด แม้ต้นทุนสูงขึ้นมากจากการป้องกันโรค แต่เกษตรกรยังพออยู่รอดได้ เมื่อไม่นานมานี้ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ โดยนายสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมฯ ได้จัดงานขอบคุณและเป็นกำลังใจต่อผู้ปฏิบัติงานป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร(ASF) ในสุกร ทั้งในส่วนภาครัฐ และเอกชนที่เกี่ยวข้องที่ได้ผนึกกำลังป้องกันโรค ASF ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา จนทำให้ประเทศไทยยังคงสถานะปลอดการระบาด ทั้งนี้สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติได้มอบโล่ประกาศเกียรติคุณให้แก่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี,นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์,นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์,อธิบดีกรมปศุสัตว์พร้อมผู้บริหารและผู้ปฏิบัติหน้าที่ ผู้บริหารกลุ่มบริษัทเกษตรครบวงจรที่สนับสนุนเงินทุนสำหรับทุกกิจกรรมในการเฝ้าระวังป้องกันโรค ASF ในสุกร นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันการศึกษา นักวิชาการอิสระ นายสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมฯ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เปิดเผยว่าจากอดีตจนถึงปัจจุบัน การเลี้ยงสุกรเป็นอาชีพเกษตรปศุสัตว์แขนงหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการประกอบอาชีพของเกษตรกรไทย สร้างอุปสงค์ให้กับห่วงโซ่ต่อเนื่องที่ในกลุ่มของผลผลิตทางการเกษตรที่เป็นพืชอาหารสัตว์ของ รวมถึงได้สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวเนื่อง รวมแล้วกว่าสองแสนล้านบาทต่อปี ทั้งนี้ในปี 2563 การเลี้ยงสุกรของไทยมีผลผลิตประมาณ 22 ล้านตัว มีระบบฟาร์มมาตรฐาน หรือ GAP “การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี”(Good Agricultural Practices)สำหรับฟาร์มเชิงพาณิชย์ และมาตรฐานฟาร์มรายย่อย หรือ GFM “ฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม” (GOOD FARMING MANAGEMENT) โดยมีจำนวนผู้ประกอบการฟาร์มสุกรครบวงจรและเกษตรกรรายย่อยทั้งประเทศร่วม 200,000 ฟาร์มที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชุมชนและของประเทศชาติโดยรวม “ตลอด 2 ปีที่ผ่านมาภาครัฐและเอกชนได้ร่วมกันเฝ้าระวังป้องกันโรค ASF ทำให้ปัจจุบันประเทศไทยยังคงปลอดการระบาดของโรค ASF ในสุกรนอกเหนือจากการสร้างความปลอดภัยทางอาหารให้กับผู้บริโภคในประเทศแล้ว ยังสร้างโอกาสทางการค้าระหว่างประเทศ ทำให้สินค้าจากสุกร ทั้งสุกรพันธุ์ สุกรขุนมีชีวิต เนื้อสุกรชำแหละ มียอดการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ในปีที่ผ่านมาจนถึงปีปัจจุบันที่ทุกฝ่ายยังคงต้องเดินหน้าปฏิบัติภารกิจอันหนักนี้กันต่อไป” โดยหลายปีที่ผ่านมาเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูขาดทุนมาหลายปี และยังมีโรคระบาดที่ต่องเพิ่มต้นทุนในการป้องกัน การที่ภาครัฐมีความเข้าใจกลไกตลาด ร่วมกันป้องกันโรค ทำให้ราคาหมูประเทศไทยยังต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาก อีกทั้งประเทศไทยมีทางเลือกวัตถุดิบทางอาหารให้กับผู้บริโภคในประเทศมากมาย ดังนั้นการนำพาเกษตรกรผู้เลี่ยงหมูฝ่าวิกฤต จึงนับว่าเป็น ความร่วมมือของผู้เหี่ยวข้องทุกภาคส่วนในการรอดพ้นวิกฤต ที่มีความผันผวนอย่างมากตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ต่อเนื่องจนถึงปีนี้