รมว.บัวแก้วเผยผลหารือ"ทิลเลอร์สัน" ระบุ สหรัฐฯ ไม่ได้กดดันไทยเรื่องเกาหลีเหนือ ส่วนการเยือนของนายกฯ พยายามให้เกิดขึ้นปีนี้ นอกจากนี้ยังใช้โอกาสนี้ชี้แจงโรดแทปกลับสู่ประชาธิปไตยให้รัฐมนตรีต่างปีะเทศสหรัฐฯ เข้าใจด้วย เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 60 ที่กระทรวงการต่างประเทศ ถนนศรีอยุธยา นายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยถึงการเดินทางเยือนประเทศไทยของนายเร็กซ์ ทิลเลอร์สัน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ในวันนี้ว่า การเยือนของนายทิลเลอร์สันในวันนี้ถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก หลังจากว่างเว้นจากการเยือนระดับสูงในระดับรัฐมนตรีมาประมาณ 3ปี แต่ยังมีการเยือนในระดับรัฐมนตรีช่วย และผู้ช่วยรัฐมนตรีกันอยู่สม่ำเสมอ ซึ่งในการหารือในวันนี้ได้มีการติดตามประเด็นที่ได้หารือกันต่อเนื่องมาจากที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ทั้งในประเด็นความสัมพันธ์ทวิ ภาคีี ประเด็นภูิภาคและประเด็นอื่นๆ ที่อยู่ในความสนใจ อาทิ ประเด็นคาบสมุทรเกาหลี และประเด็นทะเลจีนใต้ ต่อข้อถามที่ว่า รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ได้มีการขอให้ไทยแสดงท่าทีอะไรเป็นพิเศษต่อกรณีเกาหลีเหนือหรือไม่ รัฐมนตรีต่างประเทศของไทยกล่าวว่า สหรัฐฯ ไม่ได้เรียกร้องอะไรเลย ซึ่งไทยเองก็เป็นทั้งพันธมิตรกับสหรัฐฯ และเป็นมิตรประเทศกับเกาหลีเหนือ แต่อย่างไรแล้วไทยในฐานะสมาชิกสหประชาชาติ(ยูเอ็น) ก็ปฏิบัติตามข้อมติของสมัชชาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอชซี) อยู่แล้ว โดยได้ปฏิบัติตามมาก่อนที่จะมีมติล่าสุดนี้อีก เห็นได้จากมูลค่าการค้าระหว่างไทย กับเกาหลีเหนือ ช่วง 6เดือนที่ผ่านมา ลดลงร้อยละ96 จาก16.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เหลือประมาณ 9แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนกรณีการเยือนสหรัฐฯของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี .นายดอนกล่าวว่า ได้รับแจ้งนายทิลเลอร์สันว่า ขณะนี้กำลังประสานกันอยู่ระหว่างกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ กับทำเนียบขาว ซึ่งทางไทยก็คาดหวังว่า จะเกิดขึ้นได้ในปีนี้ นอกจากนี้ นายดอนยังตอบประเด็นที่ถูกถามเกี่ยวกับปัญหาสิทธิมนุษยชน และการเมืองไทยว่า ทางนายทิลเลอร์สันไม่ได้มีการลงรายละเอียดเรื่อวนี้เป็นพิเศษ แต่ทางไทยได้ใช้โอกาสนี้ ชี้แจงและให้ข้อมูลถึงโรดแทฝมปการปฏิรูป ซึ่งดำเนินไปสู่การเลือกตั้งที่ไทยกำลังทำอยู่ สำหรับประเด็นการขาดดุลการค้าของสหรัฐฯ ต่อไทยนั้น นายดอนกล่าวว่าได้พูดคุยกันเล็กน้อย แต่ทั้งนี้ไทยไม่ใช่ประเทศที่ได้ดุลสหรัฐฯ มากนักเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างเห็นพ้องว่า หากสิ่งแวดล้อมดีก็จะขยายการลงทุนต่อกันมากขึ้นทั้งไทยกับสหรัฐฯ