อีกหนึ่งหน่วยงานที่น่าจับต่อมองถึงแนวทางในการบริหารของ “สำนักงานสถิติแห่งชาติ” ภายใต้สังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม (ดีอี) ที่เวลานี้ได้ผู้บริหารคนใหม่มาขับเคลื่อนให้สามารถตอบสนองนโยบายบริหารประเทศในรูปแบบของ “ไทยแลนด์ 4.0” ซึ่งเป็นวิสัยทัศน์เชิงนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย หรือ โมเดลพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาล ที่เข้ามาบริหารประเทศบนวิสัยทัศน์ที่ ว่า “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” มีภารกิจสำคัญในการขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศด้านต่าง ๆ เพื่อปรับแก้ จัดระบบ ปรับทิศทาง และสร้างหนทางพัฒนาประเทศให้เจริญ สามารถรับมือกับโอกาสและภัยคุกคามแบบใหม่ ๆที่เปลียนแปลงอย่างเร็ว รุนแรงในศตวรรษที่ 21 ได้ ทั้งนี้ “ภุชพงค์ โนดไธสง” ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ คนใหม่ ได้เปิดใจถึงแนวทางในการบริการสำนักงานสถิติแห่งชาติ เพื่อตอบสนองต่อนโยบาย “ไทยแลนด์4.0” ว่า สำนักงานสถิติแห่งชาติ มีหน้าที่ในการเป็นสำนักงานสถิติกลางของรัฐบาล ซึ่งการที่จะเป็นหน่วยงานกลางด้านสถิติจำเป็นที่จะต้องมีการบูรณาการข้อมูลของทุกหน่วยให้สามารถเชื่อมโยงกันได้อย่างง่าย สามารถนำข้อมูลต่างๆมาวิเคราะห์ได้ โดยหลักการที่จะต้องนำมาพิจารณาจะต้องมีการวิเคราะห์ที่ลึกขึ้น มีการเจาะจงมากยิ่งขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ จะต้องสามารถนำไปกำหนดนโยบายของภาครัฐในสาขาต่าง ๆ ได้ และสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินผล หรือตัวชี้วัดในการพัฒนาประเทศในทุกมิติ สำหรับในการรับตำแหน่งในครั้งนี้ ตนเองจะผลักดันในหลายด้าน อาทิ 1.การวิเคราะห์ข้อมูลให้มีศักยภาพ หรือ มีรูปแบบบริการที่หลากหลายยิ่งขึ้น โดยการนำเทคโนโลยีดิจิตอลมาช่วยในการให้บริการให้กับทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของภาครัฐ ,ภาคเอกชน หรือภาคประชาชน และ2.การบริหารจัดการหน่วยงานจะต้องจัดการในแบบที่มีคุณภาพ โดยการนำเอาระบบธรรมาธิบาลในการบริหารงานมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นงบประมาณ ,บุคลากร และเนื้องาน โดยในเรื่องของงบประมาณจะต้องดำเนินการอย่างโปร่งใส ซึ่งโครงการใหญ่ ๆ ที่สำคัญ จะต้องมีหน่วยงานกลางเข้ามาตรวจสอบตั้งแต่ต้น จนถึงปลาทาง ที่เรียกว่าข้อตกลงคุณธรรม มาใช้ในการดูแลให้เกิดความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น ส่วนเรื่องบริหารคน จะต้องทำการพัฒนาคนที่จะสามารถนำทดแทนในตำแหน่งในทุกระดับ รวมถึงวิชาการสถิติ ซึ่งหน่วยงานภาคมหาลัยต่างๆ ได้ผลิตบุคลากรในส่วนนี้อยู่แล้ว แต่ว่าจะทำอย่างไรที่จะให้มีความเป็นเฉพาะด้านของวิชาการสถิติมากยิ่งขึ้น และมีการวางทดแทนบุคลากรอย่างมีขึ้นตอน สำหรับส่วนในเรื่องของเนื้องานจะต้องมุ่งเน้นในการวิเคราะห์แบบเชิงลึกมากยิ่งขึ้น ให้เกิดการนำเอาการบริหารภาพรวมทั้งองค์กรที่เรียกว่า การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ “Public Sector Management Quality Award : PMQA” มาใช้ในการบริหารทั้งองค์กร ให้มีการสื่อสารทีมีความชัดเจนในการทำงานมากยิ่งขึ้น ขณะที่ในเรื่องการสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในการที่จะได้ข้อมูลอย่างถูกต้องนั้น นายภุชพงค์ กล่าวว่า ในการที่จะเข้าถึงประชาชน ซึ่งมองดูเหมือนยุ่งยาก โดยสิ่งแรกที่ต้องทำ คือ ต้องสื่อสารให้มากยิ่งขึ้น เช่น การประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจ เรามีสถิติจังหวัดทั่วทุกจังหวัด การทำความเข้าใจสื่อสารหรือประชาสัมพันธ์จะต้องทำทุกระดับ ตั้งแต่ส่วนกลางไปจนถึงระดับพื้นที่ ในระดับพื้นที่ เราก็จะต้องสร้างเครือข่าย เช่น การทำงานสถิติในจำนวนบุคลากรที่จำกัดไม่สามารถที่จะเข้าถึงพื้นที่ได้ทั้งหมด จำเป็นต้องสร้างเครือข่ายทั้งภาคการศึกษา ภาคองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยภาคองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะต้องสร้างความเข้าใจตรงนี้ เพื่อมาเป็นเครือข่ายในการทำงานร่วมกัน ซึ่งจำเป็นที่จะต้องเร่งรัดในจุดนี้มากยิ่งขึ้น ขณะนี้นโยบายของรัฐบาลที่จะต้องใช้เทคโนโลยีเพื่อก้าวเข้าสู่ยุคไทยแลนด์4.0นั้น นายภุชพงค์ กล่าวว่า ทางสำนักงานสถิติได้นำเอาเทคโนโลยี หรือนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้บ้าง ตามนโยบายไทยเลนด์ 4.0 โดยได้นำเทคโนโลยีมาช่วยในการลดขั้นตอนในการสำรวจ ซึ่งปัจจุบันจะเห็นว่าจะมีแท็ปเล็ตไปใช้ในการสำรวจ โดยสามารถที่จะกรอก และส่งข้อมูลไปที่ระบบกลางได้เลย เช่น ปัจจุบันนี้มีการสำรวจผู้มีรายได้น้อยตามนโยบายของรัฐบาลที่เกิดในช่วยเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม2560 ในเบื้องต้นมติครม.กำหนดให้นักเรียน นักศึกษา เป็นผู้สำรวจข้อมูล สำนักงานสถิติก็จะนำดิจิตอลมาสร้างเป็นระบบ ดังนั้นเมื่อนักเรียน นักศึกษา ไปสำรวจผู้มีรายได้น้อย แต่ไม่มีเครื่องมือ หรือแท็ปเล็ตเข้าไปในพื้นที่ ใช้เพียงกระดาษในการจดบันทึกข้อมูล เมื่อบันทึกเสร็จก็จะนำมาพิมพ์ข้อมูลลงในระบบ จากนั้นก็จะสามารถประมวล หรือทราบผลได้ทันทีวันต่อวัน และในอนาคตการทำสัมนโนอุตสาหกรรม หรือสัมโนประชากร ก็จะใช้แท็ปเล็ตในการเป็นเครื่องมือ ซึ่งจะเป็นคนของสำนักงานสถิติ กับบุคลากรที่สำนักงานสถิติได้อบรมให้ความรู้นำไปใช้ ส่วนโครงการนี้มีระยะเวลาจำกัด จำเป็นต้องใช้แบบควบคู่ขนาดกันไป เพื่อให้เกิดความคุ้นเคย และไปสู่การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ให้เต็มรูปแบบมากยิ่งขึ้นในอนาคต นายภุชพงค์ กล่าวต่อว่า ส่วนการคาดหวังกับการที่จะเห็นสำนักงานสถิติเป็นที่ยอมรับ หรือให้ความเชื่อมั่นต่อภาครัฐ และประชาชนนั้น ข้อสำคัญของความาสำเร็จในงานสถิต คือ1. ต้นทางจะต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง โดยข้อมูลต่าง ๆ ได้เก็บเป็นรูปแบบทะเบียนที่เป็นไฟล์ ซึ่งจะต้องมีการบูรณาการ ถ้าข้อมูลภาครัฐทุกภาคส่วน รวมถึงภาคเอกชน และภาคประชาชน สามารถนำมาบูรณาการกันก็จะทำให้เกิดการวิเคราะห์ และตัดสินใจไปสู่การกำหนดนโยบาย การติดตามประมูลผล การช่วยเหลือพี่น้องประชาชน การกำหนดทิศทางสวัสดิการต่างๆ ไปสู่ประชาชนมากยิ่งขึ้น และที่สำคัญที่สุดคือ การบูรณาการข้อมูล สำนักงานสถิติต้องสร้างความเข็มแข็งให้กับสำนักงานสถิติเอง คือ ต้องสร้างความเป็นมืออาชีพที่จะทำอย่างไรให้การวิเคราะห์ข้อมูลนำไปให้ภาครัฐบาล หรือหน่วยงานต่าง ๆ เอาผลการวิคราะห์นั้นไปใช้ในการตัดสินใจในการทำจะกำหนดนโยบาย ในการที่จะกำหนดทิศทางองค์กรต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง และตรงเป้าหมายมากยิ่งขึ้น และ2สำนักงานสถิติแห่งชาติได้รับนโยบายว่าจะต้องดูแลระบบMIS หรือ ระบบบริหารในการตัดสินใจ ซึ่งต้องมาพิจารณาว่าข้อมูลในการตัดสินใจที่มีหลายหลายมาก โดยในช่วงต้น1 - 2 ปีนี้ จะต้องเจาะจงในข้อมูลที่สำคัญ เช่น ในอนาคตจะมีปัญหาผู้สูงอายุ ก็อาจจะมาเร่งทำในส่วนนี้ก่อน หรือ เรื่องการบริหารจัดการน้ำ แม้แต่นโยบายช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย อาจจะเอาข้อมูลในส่วนนี้มาเริ่มดำเนินการเพื่อนำไปสู่ระบบMIS ก่อนในเบื้องต้น จากนั้นค่อยขยายไปสู่ส่วนอื่น เช่น เรื่องแรงงาน ภาคเกษตร การท่องเทียวต่อไปในอนาคต การเปิดใจถึงแนวทางในการบริหารของ “ภุชพงค์ โนดไธสง” ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ ครั้งนี้ นับเป็นความท้าทายที่ทำให้ต้องจับจ้องว่า จะสามารถเจาะลึกถึงข้อมูลที่แท้จริง และนำไปเป็นประโยชน์ในการออกนโยบายเพื่อช่วยเหลือประชาชนได้อย่างถูกต้อง และตรงกลุ่มเป้าหมายหรือไม่ อีกไม่นานจะมีคำตอบ!!! สัมภาษณ์พิเศษ ณัฐพล ศรีภิรมย์